หน้าเว็บ

คาถาธรรมบท

หมวดคู่ - THE PAIRS

1. มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา
มโนเสฎฺฐา มโนมยา
มนสา เจ ปทุฎฺฌฐน
ภาสติ วา กโรติ วา
ตโต นํ ทุกฺขมเนฺวติ
จกฺกํว วหโต ปทํ ฯ2

ใจเป็นผู้นำสรรพสิ่ง
ใจเป็นใหญ่(กว่าสรรพสิ่ง)
สรรพสิ่งสำเร็จได้ด้วยใจ
ถ้าพูดหรือทำสิ่งใดด้วยใจชั่ว
ความทุกข์ย่อมติดตามตัวเขา
เหมือนล้อหมุนเต้าตามเท้าโค


Mind foreruns all mental conditions,
Mind is chief, mind-made are they;
If one speak or acts with a wicked mind,
Then suffering follows him
Even as the wheel the hoof of the ox.

2. มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา
มโนเสฎฺฐา มโนมยา
มนสา เจ ปสนฺเนน
ภาสติ วา กโรติ วา
ตโต นํ สุขมเนฺวติ
ฉายาว อนปายินี ฯ2

ใจเป็นผู้นำสรรพสิ่ง
ใจเป็นใหญ่(กว่าสรรพสิ่ง)
ถ้าพูดหรือทำสิ่งใดด้วยใจบริสุทธิ์
ความสุขย่อมติดตามเขา
เหมือนเงาติดตามตน


Mind forerunr all mental conditions,
Mind is chief,mind-made are they;
If one speaks or acts with a pure mind,
Then happiness follows him
Even as the shadow that never leaves.

3. อกฺโกฉิ มํ อวธิ มํ
อชินิ มํ อหาสิ เม
เข จ ตํ อุปนยฺหนฺติ
เวรํ เตสํ น สมฺมติ ฯ3

ใครมัวคิดอาฆาตว่า
"มันด่าเรา มันทำร้ายเรา
มันเอาชนะเรา มันขโมยของเรา"
เวรของเขาไม่มีทางระงับ

'He abused me, he beat me,
He defeated me, he robbed me;
In those who harbour such thoughts
Hatred never ceases.

4. อกฺโกฉิ มํ อวธิ มํ
อชินิ มํ อหาสิ มํ
เข จ ตํ นูปนยฺหนฺติ
เวรํ เตสูปสมฺมติ ฯ4



ใครไม่คิดอาฆาตว่า
"มันด่าเรา มันทำร้ายเรา
มันเอาชนะเรา มันขโมยของเรา"
เวรของเขาย่อมระงับ


'Heabused me, he beat me,
He defeated me, he robbed me'
In those who harbour not such thoughts
Hatred finds its end.

5. น หิ เวเรน เวรานิ
สมฺมนฺตีธ กุทาจนํ
อเวเรน จ สมฺมนฺติ
เอส ธมฺโม สนนฺตโน ฯ5

แต่ไหนแต่ไรมา ในโลกนี้
เวรไม่มีระงับด้วยการจองเวร
มีแต่ระงับด้วยการไม่จองเวร
นี้เป็นกฎเกณฑ์ตายตัว

At any time in this world,
Hatred never ceases by haterd,
But through non-hatred it ceases,
This is an eternal law.

6. ปเร จ น วิชานนฺติ
มยเมตฺถ ยมามเส
เย จ ตตฺถ วิชานนฺติ
ตโต สมฺมนฺติ เมธคา ฯ6

คนทั่วไปมักนึกไม่ถึงว่า ตนกำลังพินาศ
เพราะวิวาททุ่มเถึยงกัน
ส่วนผ้ร้ความจริงเช่นนั้น
ย่อมไม่ทะเลาะกันอีกต่อไป

The common people know not
That in this Quarrel they will perish,
But those who realize this truth
Have their Quarrels calmed thereby.

7. สุภานุปสฺสึ วิหรนฺตํ
อินฺทฺริเยสุ อสํวุตํ
โภชนมฺหิ อมตฺตญฺญุํ
กุสีตํ หีนวีริยํ
ตํ เว ปสหตี มาโร
วาโต รุกฺขํว ทุพฺพลํ ฯ7

มารย่อมสามารถทำลายบุคคล
ผ้ตกดป็นทาสของความสวยงาม
ไม่ควบคุมการแสดงออก
ไม่ร้ประมาณในโภชนาหาร
เกียจคร้านและอ่อนแอ
เหมือนลมแรงพัดโค่นต้นไม้ที่ไม่แข็งแรง

As the wind overthrows a weak tree,
So does Mara overpower him
Who lives attached to sense pleasures
Who lives with his senses uncontrolled,
Who knows not moderation in his food,
And who is indolent and inactive.


8. อสุภานุปสฺสึ วิหรนฺตํ
อินฺทฺริเยสุ สุสํวุตํ
โภชนมฺหิ จ มตฺตญฺญุํ
สทฺธํ อารทฺธวีริยํ
ตํ เว นปฺปสหตี มาโร
วาโต เสสํว ปพฺพตํ ฯ8

มารย่อมไม่สามารถทำลายบุคคล
ผู้ไม่ตกเป็นทาสของความสวยงาม
รูจักควบคุมการแสดงออก
รู้ประมาณในโภชนาหาร
มีศรัทธา และมีความขยันหมั่นเพียร
เหมือนลมไม่สามารถพัดโค่นภูเขา


As the wind does not overthrow a rocky mount,
So Mara indeed does not overpower him
Who lives unattached to sense pleasures,
Who lives with his senses well-controlled,
Who knows moderation in his food,
And who is full of faith and high vitality.


9. อนิกฺกสาโว กาสาวํ
โย วตฺถํ ปริทเหสฺสติ
อเปโต ทมสจฺเจน
น โส กาสาวมรหติ ฯ9

คนที่กิเลสครอบงำใจ
ไร้การบังคับตนเองและไร้สัตย์
ถึงจะครองผ้ากาสาวพัสตร์
ก็หาคู่ควรไม่

whosoever, not freed from defilements,
Without self-control and truthfulness,
Should put on the yellow robe-
He is not worthy of it.
10. โย จ วนฺตกสาวสฺส
สีเลสุ สุสมาหิโต
อุเปโต ทมสจฺเจน
ส เว กาสาวมรหติ ฯ10

ผู้หมดกิเลสแล้ว มั่นคงในศีล
รู้จักบังคับตนเอง และมีสัตย์
ควรครองผ้ากาสาวพัสตร์แท้จริง


But he who discared defilements,
Firmly established in moral precepts,
Possessed of self-control and truth,
Is indeed worthy of the yellow robe.


11. อสาเร สารมติโน
สาเร จ อสารททสฺสิโน
เต สารํ นาธิคจํฉนฺติ
มิจฺฉาสงฺกปฺปโคจรา ฯ11

ผู้ใดเห็นสิ่งที่ไม่เป็นสาระ ว่าเป็นสาระ
เห็นสิ่งที่เป็นสาระ ว่าไร้สาระ
ผู้นั้นมีความคิดผิดเสียแล้ว
ย่อมไม่ประสบสิ่งที่เป็นสาระ

In the unessential they imagine the essential,
In the essential they see the unessential;
They who feed on wrong thoughts as such
Never achieve the essential.


12. สารญฺจ สารโต ญตฺวา
อาสารญฺจ อสารโต
เต สารํ อธิคจฺฉนฺติ
สมฺมาสงฺกปฺปโคจรา ฯ12

ผู้ที่เข้าใจสิ่งที่เป็นสาระ ว่าเป็นสาระ
และสิ่งที่ไร้สาระว่าไร้สาระ
มีความคิดเห็นชอบ
ย่อมประสบสิ่งที่เป็นสาระ

Knowing the essential as the essential,
And the unessential as the unessential,
They who feed on right thoughts as such
Achieve the essential.


13. ยถา อคารํ ทุจฺฉนฺนํ
วุฎฺฐิ สมติวิชฺฌติ
เอวํ อภาวิคํ จิตฺตํ
ราโค สมติวิชฺฌติ ฯ13

เรือนที่มุงไม่เรียบร้อย
ฝนย่อมไหลย้อยเข้าได้
ใจที่ไม่อบรมฝึกหัด
ราคะกำหนัดย่อมครอบงำ

Even as rain into an ill-thatched house,
Even so lust penetrates an undeveloped mind.


14. ยถา อคารํ สุจฺฉนฺนํ
วุฎฺฐิ น สมติวิชฺฌติ
เอวํ สุภาวิตํ จิตฺตํ
ราโค น สมติวิชฺฌติ ฯ14

เรือนที่มุงเรียบร้อย
ฝนย่อมไหลย้อยเข้าไม่ได้
ใจที่อบรมเป็นอย่างดี
ราคะไม่มีวันเข้าครอบงำ

Even as rain gets not into a well -thatched house,
Even so lust penetrates not a well-developed mind.


15. อิธ โสจติ เปจฺจ โสจติ
ปาปการี อุภยตฺถ โสจติ
โส โสจติ โส วิหญฺญติ
ทิสิวา กมฺมกิลิฎฺฐมตฺตโน ฯ15

คนทำชั่วย่อมเศร้าโศกในโลกนี้
คนทำชั่วย่อมเศร้าโศกในโลกหน้า
คนทำชั่วย่อมเศร้าโศกในโลกทั้งสอง
คนทำชั่วย่อมเศร้าโศกเดือดร้อนยิ่งนัก
เมื่อมองเห็นแต่กรรมชั่วของตน

Here he grieves, hereaafter he grieves,
In both worlds the evil-doer grieves;
He mourns, he is afflicted,
Beholding his own impure deeds.


16. อิธ โมทติ เปจฺจ โมทติ
กตปุญฺโญ อุภยตฺถ โมทติ
โส โมทติ ดส ปโมทติ
ทิสฺวา กมฺมวิสุทฺธิมตฺตโน ฯ16

คนทำดีย่อมร่าเริงในโลกนี้
คนทำดีย่อมร่าเริงในโลกหน้า
คนทำดีย่อมร่าเริงในโลกทั้งสอง
คนทำดีย่อมร่าเริง เบิกบานใจยิ่งนัก
เมื่อมองเห็นแต่กรรมบริสุทธิ์ของตน

Here he rejoices, hereafter he rejoices,
In both worlds the well-doer rejoices;
He rejoices, exceedingly rejoices,
Seeing his own pure deeds.


17. อิธ ตปฺปติ เปจิจ ตปฺปติ
ปาปการี อุภยตฺถ ตปฺปติ
ปาปํ เม กตนิติ ตปฺปติ
ภิยฺโย ตปฺปติ ทุคฺคตึ คโต ฯ17

คนทำชั่วย่อมเดือดร้อนในโลกนี้
คนทำชั่วย่อมเดือดร้อนในโลกหน้า
คนทำชั่ว ย่อมเดือดร้อนในโลกทั้งสอง
เมื่อคิดได้ว่า ตนทำแต่กรรมชั่ว
ตายไปเกิดในทุคติ ยี่งเดือดร้อนหนักขึ้น


Here he laments, hereafter he laments,
In both worlds the evil-doer laments;
Thinking; 'Evil have I done', thus he laments,
Furthermore he laments,
When gone to a state of woe.


18. อิธ นนฺทติ เปจฺจ นนฺทติ
กตปุญฺโญ อุภยตฺถ นนฺทติ
ปุญฺญํ เม กตนฺติ นนิทติ
ภิยฺโย นนฺทติ สุคตึ คโต ฯ18

คนทำดีย่อมสุขใจในโลกนี้
คนทำดีย่อมสุขใจในโลกหน้า
คนทำดีย่อมสุขใจในโลกทั้งสอง
เมื่อคิดว่าตนได้ทำแต่บุยกุศล ย่อมสุขใจ
ตายไปเกิดในสุคติ ยิ่งสุขใจยิ่งขึ้น

Here he is happy, hereafter he is happy,
In both worlds the well-doer is happy;
Thinking; 'Good have I done', thus he is happy,
When gone to the state of bliss.


19. พหุมฺปิ เจ สํหิตํ ภาสมาโน
น ตกฺกโร โหติ นโร ปมตฺโต
โคโปว คาโว คณยํ ปเรสํ
น ภาควา สามญฺญสฺส โหติ ฯ19


คนที่ท่องจำตำราได้มาก
แต่มัวประมาทเสีย ไม่ทำตามคำสอน
ย่อมไม่ได้รับผลที่พึงได้จากการบวช
เหมือนเด็กเลี้ยงโค นับโคให้คนอื่นเขา

Though much he recites the Sacred Texts,
But acts not accordingly, the heedless man
is like the cowherd who counts others'kine;
He has no share in religious life.


20. อปฺปมฺปิ เจ สํหิตํ ภาสมาโน
ธมฺมสฺส โหติ อนุธมฺมจารี
ราคญฺจ โทสญฺจ ปหาย โมหํ
สมฺมปฺปชาโน สุวิมุตฺตจิตฺโต
อนุปาทิยาโน อิธ วา หุรํ วา
ส ภาควา สามญฺญสฺส โหติ ฯ20

ถึงจะท่องจำตำราได้น้อย
แต่ประพฤติชอบธรรม
ละราคะ โทสะ และโมหะได้
รู้แจ้งเห็นจริง มีจิตหลุดพ้น
ไม่ยึดมั่น ถือมั่น ทั้งปัจจุบันและอนาคต
เขาย่อมได้รับผลที่พึงได้จากการบวช


Though little he recites the Sacred Texts,
But puts the precepts into practice,
Forsaking lust, hatred and delusion,
With rigth knowledge, with mind well freed,
Cling to nothing here or hereafter,
He has a share in religious life. 

หมวดไม่ประมาท - HEEDFULNESS
1. อปฺปมาโท อมตํปทํ
ปมาโท มจฺจุโน ปทํ
อปฺปมตฺตา น มียนฺติ
เย ปมตฺตา ยถา มตา ฯ21

ความไม่ประมาท เป็นทางอมตะ
ความประมาท เป็นทางแห่งความตาย
ผู้ไม่ประมาท ไม่มีวันตาย
ผู้ประมาท ถึงมีชีวิตอยู่ก็เหมือนคนตายแล้ว

Heedfulness is the way to the Deathless;
Heedlessness is the way to death.
The heedful do not die;
The heedless are like unto the dead.
2. เอตํ วิเสสโต ญตฺวา
อปฺปมาทมฺหิ ปณฺฑิตา
อปฺปมาเท ปโมทนฺติ
อริยานํ โคจเร รตา ฯ22

บัณฑิตรู้ข้อแตกต่าง
ระหว่างความประมาทกับความไม่ประมาท
จึงยินดีในความไม่ประมาท
อันเป็นแนวทางของพระอริยะ

Realzing this distinction,
The wise rejoice in heedfulness,
Which is the way of the Noble.

3. เต ฌายิโน สาตติกา
นิจฺจํ ทฬฺหปรกฺกมา
ผุสนฺติ ธีรา นิพฺพานํ
โยคกฺเขมํ อนุตฺตรํ ฯ23

ท่านผู้ฉลาดเหล่านั้น หมั่นเจริญกรรมฐาน
มีความเพียรมั่นอยู่เป็นนิจศีล
บรรลุพระนิพพานอันเป็นสภาวะที่สูงส่ง
อิสระจากกิเลสเครื่องผูกมัด

These wise, constantly meditative,
Ever earnestly persevering,
Attain the bond-free, supreme Nibbana.
4. อุฎฺฐานวโต สติมโต
สุจิกมฺมสฺส นิสสมฺมการิโน
สญฺญตสฺส จ ธมฺมชีวิโน
อปฺปมตฺตสฺส ยโสภิวฑฺฒติ ฯ24

ยศย่อมเจริญแก่ผู้ขยัน
มีสติ มีการงานสะอาด
ทำงานด้วยความรอบคอบระมัดระวัง
เป็นอยู่โดยชอบธรรม ไม่ประมาท

Of him who is energetic, mindeful,
Pure in deed, considerate, self -restrained,
Who lives the Dhamma and who is heedful,
Reputation steadily increases.

5. อุฎฺฐาเนนปฺปมาเทน
สญฺญเมน ทเมน จ
ทีปํ กยิราถ เมธาวี
ยํ โอโฆ นาภิกีรติ ฯ25

ด้วยความขยัน ด้วยความไม่ประมาท
ด้วยความสำรวมระวัง และด้วยการข่มใจตนเอง
ผู้มีปัญญาควรสร้างเกาะ(ที่พึ่ง)แก่ตนเอง
ที่ห้วงน้ำ(กิเลส) ไม่สามารถท่วมได้

By diligence, vigilance,
Restraint and self-mastery,
Let the wise make for himself an island
That no flood can overwhelm.

6. ปมาทมนุยุญฺชนติ
พาลา ทุมฺเมธิโน ชนา
อปฺปมาทญฺจ เมธาวี
ธนํ เสฎฺฐํว รกฺขติ ฯ26

คนพาล ทรามปัญญา
มักมัวประมาทเสีย
ส่วนคนฉลาด ย่อมรักษาความไม่ประมาท
เหมือนรักษาทรัพย์อันประเสริฐ

The ignorant, foolish folk
Induge in heedlessness,
But the wise preserve heedfulness
As their greatest treasure.

7. มา ปมาทมนุยุญฺเชถ
มา กามรติสนฺถวํ
อปฺปมตฺโต หิ ฌายนฺโต
ปปฺโปติ วิปุลํ สุขํ ฯ27

พวกเธออย่ามัวประมาท
อย่ามัวเอาแต่สนุกยินดีในกามคุณอยู่เลย
ผู้ไม่ประมาท เพ่งพินิจตามความเป็นจริงเท่านั้น
จึงจะบรรลุถึงความสุขอันไพบูลย์ได้
Devote not yourselves to negligence;
Have no intimacy with sensuous delights.
The vigilant, meditative person
Attains sublime bliss.

8. ปมาทํ อปฺปมาเทน
ยถา นุทติ ปณฺฑิโต
ปญฺญาปาสาทมารุยฺห
อโสโก โสกินี ปชํ
ปพฺพตฎฺโฐว ภุมฺมฎฺเฐ
ธีโร พาเล อเวกฺขติ ฯ28

เมื่อใดบัณฑิตกำจัดความประมาทด้วยความไม่ประมาท
เมื่อนั้นเขานับว่าได้ขึ้นสู่"ปราสาทคือปัญญา"
ไร้ความเศร้าโศก สามารถมองเห็นประชาชน ผู้โง่เขลา
ผู้ยังต้องเศร้าโศกอยู่ เหมือนคนยืนบนยอดภูเขา
มองลงมาเห็นฝูงชนที่ยืนอยู่บนพื้นดิน ฉะนั้น

When banishing carelessness by carefulness,
The sorrowless, wise one ascends the terrace of wisdom
And surveys the ignorant, sorrowing folk
As one standing on a mountain the groundlings.

9. อปฺปมตฺโต ปมตฺเตสุ
สุตฺเตสุ พหุชาคโร
อพลสฺสํว สีฆสฺโส
หิตฺวา ยาติ สุเมธโส ฯ29
ผู้มีปัญญามักไม่ประมาท เมื่อคนอื่นพากันประมาท
และตื่น เมื่อคนอื่นหลับอยู่
เขาจึงละทิ้งคนเหล่านั้นไปไกล
เหมือนม้าฝีเท้าเร็ว วิ่งเลยม้าแกลบ ฉะนั้น
Heedful among the heedless,
Wide-awake among those asleep,
The wise man advances
As a swift horse leaving a weak nag behind.

10. อปฺปมาเทน มฆวา
เทวานํ เสฎฺฐตํ คโต
อปฺปมาทํ ปสํสนฺติ
ปมาโท ครหิดต สทา ฯ30

ท้าวมฆวานได้เป็นใหญ่กว่าทวยเทพ
เพราะผลของความไม่ประมาท
บัณฑิตจึงสรรเสริญความไม่ประมาท
และติเตียนความประมาททุกเมื่อ

By vigilance it was that
Indra attained the lordship of the gods.
Earnestness is ever praised,
Carelessness is ever despised.

11. อปฺปมาทรโต ภิกฺขุ
ปมาเท ภยทสิสิ วา
สญฺโญชนํ อณุํ ถูลํ
ฑหํ อคฺคีว คจฺฉติ ฯ31

ภิกษุผู้ยินดีในความไม่ประมาท
เห็นภัยในความประมาท
ย่อมเผากิเลสเครื่องผูกมัดได้
เหมือนไฟเผาเชื้อทุกชนิด

The bhikkhu who delights in earnesstness
And discerns dangers in negligence,
Advances, consuming all fetters,
Like fire burning fuel, both small and great.

12. อปฺปมาทรโต ภิกฺขุ
ปมาเท ภยทสฺสิ วา
อภพฺโพ ปริหานาย
นิพฺพานสฺเสว สนฺติเก ฯ32

ภิกษุผู้ไม่ประมาท
เห็นภัยในความประมาท
ไม่ม่ทางเสื่อม
ย่อมอยู่ใกล้นิพพานเป็นแน่แท้

The bhikkhu who delights in earnestness,
And discerns dangers in negligence,
Is not lisble to fall away;
He is certainly in the presence of Nibbana.

หมวดจิต - The MIND
1. ผนฺทนํ จปลํ จิตฺตํ
ทุรกฺขํ ทุนฺนิวารยํ
อุชุํ กโรติ เมธาวี
อุชุกาโรว เตชนํ ฯ33

จิตดิ้นรน กลับกลอก
ป้องกันยาก ห้ามยาก
คนมีปัญญาสามารถดีดให้ตรงได้
เหมือนช่างศรดัดลูกศร

The flickering , fickle mind,
Difficult to guard, difficult to control,
The wise man straightens,
As a fletcher straightens an arrow.

2. วาริโชว ถเล ขิตฺโต
โอกโมกต อุพฺภโต
ปริผนํทติทํ จิตฺตํ
มารเธยฺยํ ปหาตเว ฯ34

มัสยาถูกเขาจับโยนไปบนบก ย่อมดิ้นรน
เพื่อจะกลับไปยังแหล่งน้ำที่เคยอาศัย
จิตใจเราก็เช่นเดียวกัน ดิ้นรนไปหากามคุณ
เพราะฉะนั้น จึงควรละเว้นกามคุณเสีย

Like a fish drawn its watery abode
And thrown upon land,
Even so does the mind flutter,
Hence should the realm of passions be shunned.

3. ทุนฺนิคฺคหสฺส ลหุโน
ยตฺถกามนิปาติโน
จิติตสิส ทมโถ สาธุ
จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ ฯ35

จิตควบคุมยาก เปลี่ยนแปลงเร็ว
ใฝ่ในอารมณ์ตามที่ใคร่
ฝึกจิตเช่นนั้นได้เป็นการดี
เพราะจิตที่ฝึกดีแล้ว นำความสุขมาให้
Good is it to control the mind
Which is hard to check and swift
And flits wherever it desires.
A subdued mind is conducive to happiness.

4. สุทุทฺทสั สุนิปุณํ
ยตฺถกามนิปาตินํ
จิตฺตํ รกิเขถ เมธาวี
จิตฺตํ คุตฺตํ สุขาวหํ ฯ36
จิตเห็นได้ยาก ละเอียดยิ่งนัก
มักใฝ่ในอารมณ์ตามที่ใคร่
ผู้มีปัญญาจึงควรควบคุมจิตไว้ให้ดี
เพราะจิตที่ควบคุมได้แล้ว นำสุขมาให้

Hard to perceive and extremely subtle is this mind,
It roams wherever it desires.
Let the wise man guard it;
A guarded mind is conducive to happiness.

5. ทูรงฺคมํ เอกจรํ
อสรีรํ คุหาสยํ
เย จิตฺตํ สญฺญเมสฺสนฺติ
โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา ฯ37
จิตท่องเที่ยวไปไกล เที่ยวไปดวงเดียว
ไม่มีรูปร่าง อาศัยอยู่ในร่างกายนี้
ใครควบคุมจิตนี้ได้
ย่อมพ้นจากบ่วงมาร

Faring afar, solitary, incorporeal
Lying in the body, is the mind.
Those who subdue it are freed
From the bond od Mara.

6. อนวฎฺฐิตจิตฺตสิส
สทฺธมฺมํ อวิชานโต
ปริปุลวปสาทสฺส
ปญฺญา น ปริปูรติ ฯ38

ปัญญาย่อมไม่บริบูรณ์
แก่ผู้มีจิตไม่มั่นคง
ไม่รู้พระสัทธรรม
มีความเลื่อมใสไม่จริงจัง

He whose mind is inconstant,
He who knows not the true doctrine,
He whose confidence wavers -
The wisdom of such a one is never fulfilled.

7. อนวสฺสุตจิตฺตสฺส
อนนุวาหตเจตโส
ปุญฺญปาปปหีนสฺส
นตฺถิ ชาครโต ภยํ ฯ40

ผู้มีสติตื่นตัวอยู่เนืองนิตย์
มีจิตเป็นอิสระจากราคะและโทสะ
ละบุญและบาปได้
ย่อมไม่กลัวอะไร
He who is vigilant,
He whose mind is not overcome by lust and hatred,
He who has discarded both good and evil -
For such a one there is no fear.

8. กุมภูปมํ กายมิมํ วิทิตฺวา
นครูปมํ จิตฺตมิทํ ถเกตฺวา
โยเชถ มารํ ปญฺญาวุเธน
ชิตญฺจ รกฺเข อนิเวสโน สิยา ฯ41

เมื่อรู้ว่าร่างกายนี้แตกดับง่ายเหมือนหม้อน้ำ
พึงป้องกันจิตให้มั่นเหมือนป้องกันเมืองหลวง
แล้วพึงรบกับพญามารด้วยอาวุธคือปัญญา
เมื่อรบชนะแล้วพึงรักษาชัยชนะนั้นไว้
ระวังอย่าตกอยุ่ในอำนาจมารอีก
Realizing that body is fragile as a pot,
Establishing one's mind as firm as a fortified city,
Let one attack let one guard one's conqust
And afford no rest to Mara.

9. อจิรํ วตยํ กาโย
ปฐวึ อธิเสสฺสติ
ฉุฑฺโฑ อเปตวิญฺญาโณ
นิรตฺถํว กลิงฺครํ ฯ41
อีกไม่นาน ร่างกายนี้
จักปราศจากวิญญาณ
ถูกทอดทิ้ง ทับถมแผ่นดิน
เหมือนท่อนไม้อันหาประโยชน์มิได้
Soon, alas! will this body lie
Upon the ground, unheeded,
Devoid of consciousness,
Even as useless log.

10. ทิโส ทิสํ ยนฺตํ กยิรา
เวรี วา ปน เวรินํ
มิจฺฉาปณิหิตํ จิตฺตํ
ปาปิดย น ตโต กเร ฯ42
จิตที่ฝึกฝนผิดทาง

ย่อมทำความเสียหายได้
ยิ่งกว่าศัตรูทำต่อศัตรู
หรือคนจองเวรทำต่อคนจองเวร

Whatever harm a foe may do to a foe,
Or a hater to a hater,
An ill-directed mind
Can harm one even more.

11. น ตํ มาตา ปิตา กยิรา
อญฺเญ วาปิจ ญาตกา
สมฺมาปณิหิตํ จิตฺตํ
เสยฺยโส นํ ตโต กเร ฯ43

มารดาก็ทำให้ไม่ได้
บิดาก็ให้ไม่ได้
ญาติพี่น้องก็ทำให้ไม่ได้
แต่จิตที่ฝึกฝนไว้ชอบย่อมทำสิ่งนั้นให้ได้
และทำให้ได้อย่างประเสริฐด้วย
What neither mother ,nor father,
Nor any other relative can do,
A well-directed mind does
And thereby elevates one.

หมวดดอกไม้ - THE FLOWERS
1. โก อิมํ ปฐวึ วิเชสฺสติ
ยมโลกญฺจ อิมํ สเทวกํ
โก ธมฺมปทํ สุเทสิตํ
กุสโล ปุปฺผมิว ปเจสฺสติ ฯ44

ใครจักครองแผ่นดินนี้
พร้อมทั้งยมโลก และเทวโลก
ใครจักเลือกเฟ้นพระธรรมบท
ที่ทรงแสดงไว้ดีแล้ว
เหมือนนายมาลาการผู้ฉลาด
เลือกเก็บดอกไม้

Who will conquer this earth(life)
With Yama's realm and with celestial world?
Who will investigate the well-taught Dhamma-Verses
As a skilful garland-maker plucks flowers?


2. เสโข ปฐวึ วิเชสฺสติ
ยมโลกญฺจ อิมํ สเทวกํ
เสโข ธมฺมปทํ สุเทสิตํ
กุสโล ปุปฺผมิว ปเจสฺสติ ฯ45

พระเสขะจักครองแผ่นดินนี้
พร้อมทั้งยมดลกและเทวโลก
พระเสขะจักเลือกเฟ้นพระธรรมบท
ที่ทรงแสดงไว้ดีแล้ว
เหมือนนายมาลาการผู้ฉลาด
เลือกเก็บดอกไม้

A learner(sekha) will conquer this earth
With Yama's realm and with celestial world.
He will investigate the well-taught Dhamma-Verses
As a skilful garland-maker plucks flower.

3. เผณูปมํ กายมิทํ วิทิตฺวา
มรีจิกมฺมํ อภิสมฺพุธาโน
เฉตฺวาน มารสฺส ปปุปฺผกานิ
อทสฺสนํ มจฺจุราชสฺส คจฺเฉ ฯ46

เมี่อรู้ว่าร่างกายนี้แตกสลายง่าย และว่างเปล่า
เช่นเดียวกับฟองน้ำ และพยับแดด
ก็ควรทำลายบุษปศรของกามเทพ
ไปให้พ้นทัศนวิสัยของมัจจุราชเสีย

Perciving this body to be similar unto foam
And comprehending its mirage-nature,
One should destroy the flower-tipped arrows of Love
And pass beyond the sight of the King of Death.


4ปุปฺผานิ เหว ปจนนฺตํ
พิยาสตฺตมนสํ นรํ
สุตฺตํ คามํ มโหโฆว
มจฺจุ อาทาย คจฺฉติ ฯ47

มฤตยูฉุดคร่าคนผู้มัวเก็บดอกไม้(กามคุณ)
มีใจเกี่ยวข้องอยู่ในกามคุณไป
เหมือนห้วงน้ำใหญ่หลากมา
พัดพาเอาชาวบ้านผู้หลับไหลไป

He who gathers flowers of sensual pleasure,
Whose mind is distracted-
Death carries him off
As the great flood a sleeping village.

5. ปุปฺผานิ เหว ปจินนฺตํ
พฺยาสตฺตมนสํ นรํ
อติตฺตํเยว กาเมสุ
อนฺตโก กุรุเต วสํ ฯ48

ผู้ที่มัวเก็บดอกไม้(กามคุณ)เพลินอยู่
มีจิตใจข้องอยู่แต่ในกามคุณไม่รู้จักอิ่ม
มักตกอยู่ในอำนาจมฤตยู

He who gathers flowers of sensual pleasures,
Whose mind is distracted
And who is insatiate in desire-
Him death brings under its sway.

6. ยถาปิ ภมโร ปุปฺผํ
วณฺณคนฺธํ อเหฐยํ
ปเลติ รสมาทาย
เอวํ คาเม มุนี จเร ฯ49

มุนีพึงจาริกไปในเขตคาม
ไม่ทำลายศรัทธาและโภตะของชาวบ้าน
ดุจภมรดูดรสหวานของบุปผชาติแล้วจากไป
ไม่ให้สีและกลิ่นชอกช้ำ

As a bee takes honey from the flowers,
Leaving it colour and fragrance unharmed,
So should the sage wander in the village.

7. น ปเรสํ วิโลมานิ
น ปเรสํ กตากตํ
อตฺตนาว อเวกฺเขยฺย
กตานิ อกตานิ จ ฯ50

ไม่ควรแส่หาความผิดผู้อื่น
หรือธุระที่เขาทำแล้วหรือยังไม่ทำ
ควรตรวจดูเฉพาะกิจ
ที่ตนทำหรือยังไม่ทำเท่านั้น

Pay not attention to the faults of others,
Things done or left undone by others,
Consider only what by oneself
Is done or left undone.

8. ยถาปิ รุจิรํ ปุปฺผํ
วณฺณวนิตํ อคนฺธกํ
เอวํ สุภาสิตา วาจา
อผลา โหติ อกุพฺพโต ฯ51

วาจาสุภาสิต
ของผู้ทำไม่ได้ตามพูด
ย่อมไม่มีประโยขน์อะไร
ดุจดอกไม้สีสวย แต่ไร้กลิ่น

As a flower that is lovely
And colourful,but scentless,
Even so fruitless is the well-spoken word
Of one who follows it not.

9. ยถาปิ รุจิรํ ปุปฺผํ
วณฺณวนฺตํ สคนฺธกํ
เอวํ สุภาสิตา วาจา
สผลา โหติ สุกุพฺพโต ฯ52

วาจาสุภาษิต
ของผู้ทำได้ตามพูด
ย่อมอำนวยผลดี
ดุจดอกไม้สีสวยและมีกลิ่นหอม

As a flower that is lovely,
Colourful and fragrant,
Even so fruitful is the well-spoken word
Of one who practises it.

10. ยถาปิ ปุปฺผราสิมฺหา
กยิรา มาลาคุเณ พหู
เอวํ ชาเตน มจฺเจน
กตฺตพฺพํ กุสลํ พหุํ ฯ53


เมื่อเกิดมาแล้วจะต้องตาย
ก็ควรสร้างบุญกุศลไว้ให้มาก
เหมือนนายมาลาการร้อยพวงมาลัย
เป็นจำนวนมากจากกองดอกไม้

As from a heap of flowers
Many kinds of garlands can be made,
So many good deeds should be done
By one born a mortal.

11. น ปุปฺผคนโธ ปฏิวาตเมติ
น จนฺทนํ ตครมลฺลิกา วา
สตญฺจ คนฺโธ ปฏิวาตเมติ
สพฺพา ทิสา สปฺปุริโส ปวายติ ฯ54

กลิ่นปุปผชาติ ก้หอมทวนลมไม่ได้
กลิ่นจันทน์ กฤษณา หรือดอกมะลิ
ก็หอมทวนลมไม่ได้
แต่กลิ่นสัตบุรุษ หอมทวนลมไม่ได้
สัตบุรุษ ย่อมหอมฟุ้งขจรไปทั่วทุกทิศ

The perfume of flower blows not againts the wind,
Nor does the fragrance of sandal-wood, Tagara andjasmine,
But the fragrance of the virtuous blows against the wind
The virtuous man pervades all directions.

12. จนฺทนํ ตครํ วาปิ
อุปฺปลํ อถ วสฺสิกี
เอเตสํ คนฺธชาตานํ
สีลคนฺดธ อนุตฺตโร ฯ 55


กลิ่นศีล หอมยิ่งกว่า
ของหอมเหล่านี้ คือ
จันทน์ กฤษณา
ดอกอุบล และ กะลำพัก

Sandal -wood, Tagara,
lotus and wild jasmine-
Of all these kinds of fragrance,
The fragrance of virtue is by far the best.

13. อปฺปมตฺโต อยํ คนฺโธ
ยายํ ตครจนฺทนี
โย จ สีลวตํ คนฺโธ
วาติ เทเวสุ อุตฺตโม ฯ56

กฤษณา หรือจันทน์ มีกลิ่นหอมน้อยนัก
แต่กลิ่นหอมของท่านผู้ทรงศีลประเสริฐนัก
หอมฟุ้งกระทั่งถึงทวยเทพยดา

Little is the fragrance of Tagara
And that of sandal-wood,
But the fragrance of virtue is excellent
And blows even among the devas.

14. เตสํ สมฺปนฺนสีลานํ
อปฺปมาทวิหารินี
สมฺมทญฺญา วิมุตฺตานํ
มาโร มคฺคํ น วินฺทติ ฯ57


มารย่อมค้นไม่พบวิถีทาง
ของผู้ทรงศีลผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท
ผู้หลุดพ้นจากอาสวกิเลส เพราะรู้ชอบ

Of those who possess these virtues,
Who live without negligence,
Who are freed by perfect knowledge-
Mara finds not their way.

15. ยถา สงฺการธานสฺมึ
อุชุฌิตสฺมึ มหาปเถ
ปทุมํ ตตฺถ ชาเยถ
สุจิคนฺธํ มโนรมํ ฯ58

ดอกบัว มีกลิ่นหอม รื่นรมย์ใจ
เกิดบนสิ่งปฏิกูล
ที่เขาทิ้งไว้ไกล้ทางใหญ่ ฉ้นใด

Just as on a heap of rubbish
Thrown u[on the highway
Grows the lotus sweetly fragrant
And delighting the heart.


16. เอวํ สงฺการภูเตสุ
อนฺธภูเต ปุถุชฺชเน
อติดรจติ ปญฺญาย
สมฺมาสมิพุทฺธสาวโก ฯ59

ท่ามกลางหมู่ปุถุชน ผู้โง่เขลา
ผู้เป็นเสมือนสิ่งปฏิกูล
พระสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ย่อมรุ่งเรืองด้วยปัญญา ฉันนั้น

Even so among those blinded mortals
Who are like rubbish,
The disciple or the Fully Enligtened one
Shines with exceeding glory by his wisdom. 

หมวดคนพาล - THE FOOL
1. ทีฆา ชาครโต รตฺติ
ทีฆํ สนฺตสฺส โยชนํ
ทีโฆ พาลาน สํสาโร
สทฺธมฺมํ อวิชานตํ ฯ60

ราตรีนาน สำหรับคนนอนไม่หลับ
ระยะทางโยชน์หนึ่งไกล สำหรับผู้ล้าแล้ว
สังสารวัฎยาวนาน สำหรับคนพาล
ผู้ไม่รู้แจ้งพระสัทธรรม

Long is the night to the wakeful,
Long is the Yojana to the weary,
Long is Samsara to the foolish
Who know not the true doctrine.

2. จรญฺเจ นาะคจฺเฉยฺย
เสยฺยํ สทิสมตฺตโน
เอกจริยํ ทฬฺหํ กยิรา
นตฺถิ พาเล สหายตา ฯ61


หากแสวงหาไม่พบเพื่อนที่ดีกว่าตน
หรือเพื่อนที่เสมอกับตน
ก็พึงเที่ยวไปคนเดียว
เพราะมิตรภาพ ไม่มีในหมู่คนพาล


If, as he fares, he finds no companion
Who is better or equal,
Let him firmly pursue his solitary course;
There is no fellowship with the foot.

3. ปุตฺตา นตฺถิ ธน มตฺถิ
อิติ พาโล วิหญฺญติ
อตฺตา หิ อตฺตโน นตฺถิ
กุโต ปุตฺตา กุโต ธนํ ฯ62

คนโง่มัวคิดวุ่นวายว่า
เรามีบุตร เรามีทรัพย์
เมื่อตัวเขาเองก็ไม่ใช่ของเขา
บุตรและทรัพย์จะเป็นของเขาได้อย่างไร

'I have some, I have wealth';
So thinks the food and is troubled.
He himeself is not his own.
How then are sons,how wealth?

4. โย พาดล มญฺญติ พาลยฺยํ
ปณฺฑิโต วาปิ เตน โส
พาโล จ ปณฺฑิตามานี
ส เว พาโลติ วุจฺจติ ฯ63


คนโง่ รุ้ตัวว่าโง่
ยังมีทางเป็นบัณฑิตได้บ้าง
แต่โง่แล้ว อวดฉลาด
นั่นแหละเรียกว่าคนโง่แท้

A fool aware of his stupidity
Is in so far wise,
But the fool thinking himself wise
Is called a fool indeed.


5. ยาวชีวมฺปิ เจ พาโล
ปณฺฑิตํ ปฏิรุปาสติ
น โส ธมฺมํ วิชานาติ
ทพฺพิ สูปรสํ ยถา ฯ64

ถึงจะอยุ่ใกล้บัณฑิต
เป็นเวลานานชั่วชีวิต
คนโง่ก็หารู้พระธรรมไม่
เหมือนจวักไม่รู้รสแกง

Though through all his life
A fool associates with a wise man,
He yet understands not the Dhamma,
As the spoon the flavour of soup.


6. มุหุตฺตมฺปิ เจ วิญฺญู
ปณฺฑิตํ ปยิรุปาสติ
ขิปฺปํ ธมฺมํ วิชานาติ
ชิวหา สูปรสํ ยถา ฯ65

ปัญญาชน คบบัณฑิต
แม้เพียงครู่เดียว
ก็พลันรู้แจ้งพระธรรม
เหมือนลิ้นรู้รสแกง

Though,for a moment only,
An intelligent man associates with a wise man,
Quickly he understands the Dhamma,
As the tougue the flavour of soup.

7จรนฺติ พาลา ทุมฺเมธา
อมิตฺเตเนว อติตนา
กโรนฺตา ปาปกํ กมฺมํ
ยํ โหติ กฎุกปฺผลํ ฯ66

เหล่าคนพาล ปัญญาทราม
ทำตัวเองให้เป็นศัตรูของตัวเอง
เที่ยวก่อแต่บาปกรรรมที่มีผลเผ็ดร้อน

Fools of little wit
Behave to themselves as enemies,
Doing evil deeds
The fruits wherof are bitter.

8. น ตํ กมฺมํ กตํ สาธุ
ยํ กตฺวา อนุตปฺปติ
ยสฺส อสฺสุมุโข โรทํ
วิปากํ ปฏิเสวติ ฯ67

กรรมใดทำแล้วทำให้เดือดร้อนภายหลัง
อีกทั้งทำให้ร้องไห้น้ำตานอง
รับสนองผลของการกระทำ
กรรมนั้นไม่ดี

That deed is not well done,
After doing which one feels remorse
And the fruit whereof is received
With tears and lamentations.

9. ตญฺจ กมฺมํ กตํ สาธุ
ยํ กตฺวา นานุตปฺปติ
ยส์ส ปตีดต สุมโน
วิปากํ ปฏิเสวติ ฯ68

กรรมใดทำแล้ว ไม่เดือดร้อนภายหลัง
ทั้งผู้กระทำก้เบิกบานสำราญใจ
ได้เสวยผลของการกระทำ
กรรมนั้นดี

Well done is thst deed
which, done, brings no regret;
The fruit whereof is received
The fruit whereof is received
With delight and satisfaction.

10. มธุวา มญฺญตี พาดล
ยาว ปาปํ น ปจฺจติ
ยทา จ ปจฺจตี ปาปํ
อถ พาโล ทุกฺขํ นิคจฺฉติ ฯ69

ตลอดระยะเวลาที่บาปยังไม่ให้ผล
คนพาลสำคัญบาปหวานปานน้ำผึ้ง
เมื่อใดบาปให้ผล
เมื่อนั้นเขาย่อมได้รับทุกข์

An evil deed seems sweet to the fool
so long as it does not bear fruit;
but when it ripens,
The fool comes to grief.

11. มาเส มาเส กุสคฺเคน
พาโล ภุญฺเชถ โภชนํ
น โส สงฺขาตธมฺมานํ
กลํ อคฺฆติ โสฬสึ ฯ70

คนพาล ถึงจะบำเพ็ญตบะ
โดยเอาปลายหญ้าคาจิ้มอาหารกิน ทุกเดืน
การปฏิบัติของเขาไม่เท่าหนึ่งในสิบหกส่วน
ของการปฏิบัติของท่านผู้บรรลุธรรม

Month after month the fool may eat his food
With the tip of Kusa srass;
Nonetheless he is not worth the sixteenth part
Of those who have well understoood the Truth.

12. น หิ ปาปํ กตํ กมฺมํ
สชฺชุ ขีรํว มุจฺจติ
ฑหนฺติ พาลมเนฺวติ
ภสฺมาจฺฉนฺโนว ปาวโก ฯ71

กรรมชั่วที่ทำแล้ว ยังไม่ให้ผลทันทีทันใด
เหมือนนมรีดใหม่ ๆ ไม่กลายเป็นนมเปรี้ยวในทันที
แต่มันจะค่อย ๆ เผาผลาญผู้กระทำในภายหลัง
หมือนไฟไหม้แกลบ

An evil deed committed
Does not immediately bear fruit,
Just as milk curdles not at once;
Smouldering life covered by ashes,
It follows the fool.


13. ยาวเทว อนติถาย
ญตฺตํ พาลสฺส ชายติ
หนฺติ พาลสฺส สุกฺกํสํ
มุทฺธมสฺส วิปาตยํ ฯ72

คนพาลได้ความรู้มา
เพื่อการทำลายถ่ายเดียว
ความรู้นั้น ทำลายคุณความดีเขาสิ้น
ทำให้มันสมองของเขาตกต่ำไป

The fool gains knowledge
Only for his ruin;
It destroys his good actions
And cleaves his head.

14. อสนฺตํ ภาวมิจฺเฉยฺย
ปุเรกฺขารญฺจ ภิกฺขุสุ
อาวาเสสุ จ อิสฺสริยํ
ปูชา ปรกุเลสุ จ ฯ73

ภิกษุพาล ปรารถนาชื่อเสียงเกียรติยศที่ไม่เหมาะ
อยากเป็นใหญ่กว่าพระภิกษุทั้งหมด
อยากเป็นเจ้าอาวาส
อยากได้รับบูชาสักการะจากชาวบ้านทั้งหลาย

A foolish monk desires undue reputation,
Precedence among monks,
Authority in the monasterics,
Honour among other families.

15. มเมว กต มญฺญนฺตุ
คิหี ปพฺพชิตา อุโภ
มเมว อติวสา อสฺสุ
กิจฺจาจฺเจส กิสฺมิจิ
อิติ พาลสฺส สงฺกปฺโป
อิจฺฉา มาโน จ วฑฺฒติ ฯ74

"ขอให้คฤหัสถ์ และบรรพชิต
จงสำคัญว่า เราเท่านั้นทำกิจนี้
ขอให้เขาเหล่านั้นอยู่ในบังคับบัญชาของเรา
ไม่ว่ากิจการใหญ่หรือเล้ก"
ภิกษุพาล มักจะคิดใฝ่ฝันเช่นนี้
ความทะเยอทะยาน และวามหยิ่งก้พลอยเพิ่มขึ้น

'Let both laymen and monks think,
By me only was this done;
In every work,great or small,
Let them refer to me .'
Such is the ambitin of the fool;
His desire and pride increase.
16. อญฺญา หิ ลาภูปนิสา
อญฺญา นิพฺพานคามินี
เอวเมตํ อภิญฺญาย
ภิกฺขุ พุทฺธสฺส สาวโก
สกฺการํ นาภนนฺเทยฺย
วิเวกมนุพฺรูหเย ฯ75

ทางหนึ่งแสวงหาลาภ
ทางหนึ่งไปนิพพาน
รู้อย่างนี้แล้ว ภิกษุพุทธสาวก
ไม่ควรไยดีลาภสักการะ
ควรอยู่อย่างสงบ

One is the way to worldly gain;
To Nibbana another leads.
Clearly realizing this,
The bhikkh,disciple of the Buddha,
Should not delight in worldly favour,
But devote himself to solitude. 

หมวดบัณฑิต - The Wise

๑. ฉินฺท โสตํ ปรกฺกมฺม
กาเม ปนูท พฺราหฺมณ
สงฺขารานํ ขยํ ญตฺวา
อกตญฺญูสิ พฺราหฺมณ ฯ ๓๘๓ ฯ
พราหมณ์เอย ท่านจงพยายามหยุดกระแส (ตัณหา)
และบรรเทากามทั้งหลายเสีย พราหมณ์เอย
เมื่อท่านรู้ความสิ้นไปแห่งสิ่งปรุงแต่งทั้งหลาย
ท่านก็จะรู้สิ่งที่ไม่ปรุงแต่ง (นิพพาน)
Strive and stop the stream of craving,
Discrad, O brahmana, sense-desires.
Knowing conditioned things, brahmana,
You will know the Unconditioned.
๒. ยทา ทฺวเยสุ ธมฺเมสุ
ปารคู โหติ พฺราหฺมโณ
อภสฺส สพฺเพ สํโยคา
อฏฺฐํ คจฺฉนฺติ ชานโต ฯ ๓๘๔ ฯ

เมื่อใดพราหมณ์ข้ามถึงฝั่งโน้น (นิพพาน)
ด้วยการปฏิบัติธรรมทั้งสอง (สมถะและวิปัสนา)
เมื่อนั้นเครื่องผูกพันทั้งปวง
ของเขาผู้รู้จริงย่อมสิ้นไป

When depending on the twofold means,
A brahmana has reached the Other Shore,
Then of that one who knows,
All fetters remain no more.

๓. ยสฺส ปารํ อปารํ วา
ปาราปารํ น วิชฺชติ
วีตทฺทรฺ วิสํยุตฺตํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ณ ๓๘๕ ฯ

ผู้ใดไม่มีฝั่งนี้ หรือฝั่งโน้น
หรือไม่มีทั้งสองฝั่ง
ไม่มีความกระวนกระวายใจ เป็นอิสระ
ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์

For whom there exists
Neither the Hither nor the Father Shore,
Nor both the Hither and the Farther Shore,
He who is undistressed and unbound-
Him do I call a brahmana.
๔. ฌายึ วิรชมาสีนํ
กตกิจฺจํ อนาสวํ
อุตฺตมตฺถํ อนุปฺปตฺตํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๓๘๖ ฯ

ผู้ใดบำเพ็ญฌาน ปราศจากกิเลส
อยู่คนเดียว หมดกิจที่จะพึงทำ
หมดอาสวะ ลุถึงจุดหมายปลายทางแล้ว
ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์

Meditative, dwelling alone,
Free from passion taint,
Having done what should be done,
Devoid of all corruptions,
And having reached the Highest Goal-
Him do I call a brahmana

๕. ทิวา ตปติ อาทิจฺโจ
รตฺติมาภาติ จนฺทิมา
สนฺนทฺโธ ขตฺติโย ตปติ
ฌายี ตปติ พฺราหฺมโณ
อถ สพฺพมโหรตฺตึ
พุทฺโธ ตปติ เตชสา ฯ ๓๘๗ ฯ
พระอาทิตย์ สว่างกลางวัน
พระจันทร์ สว่างกลางคืน
นักรบสง่างามเมื่อสวมเกราะเตรียมรบ
พราหมณ์ สง่างามเมื่อเข้าฌาน
แต่พระพุทธเจ้าสง่างามทั้งกลางวันกลางคืน
By day the sun shines.
By night the moon is bright.
Armoured shines the warrior.
In meditation the brahmana glows.
But all day and all night,
The Buddha shines in splendour.
๖. พาหิตปาโป หิ พฺราหฺมโณ
สมจริยา สมโณติ วุจฺจติ
ปพฺพาชยมตฺตโน มลํ
ตสฺมา ปพฺพชิโตติ วุจฺจติ ฯ ๓๘๘ ฯ
ผู้ที่ชื่อว่าพราหมณ์ เพราะละบาปได้
ชื่อว่าสมณะ เพราะมีจรรยาสงบ
ชื่อว่าบรรพชิต เพราะละมลทินได้
Without evil he is called a brahmana.
He who lives in peace is called a samana.
With all impurities gone,
A pabbajita is he called.

๗. น พฺราหฺมณสฺส ปหเรยฺย
นาสฺส มุญฺเจถ พฺราหฺมโณ
ธิ พฺราหฺมณสฺส หนฺตารํ
ตโต ธิ ยสฺส มุญฺจติ ฯ ๓๘๙ ฯ
ไม่ควรรังแกพราหมณ์ (นักบวช)
และพราหมณ์ก็ไม่ควรแสดงความโกรธตอบ
คนที่รังแกพราหมณ์ เป็นคนน่าตำหนิ
แต่พราหมณ์ผู้โกรธตอบ น่าตำหนิกว่า
One should not strike a brahmana,
Nor such a brahmana vent his wrath on him.
Woe to him who strikes a brahamana.
More woe to him who gives way to his wrath.
๘. น พฺราหฺมณสฺเสตทกิญฺจิ เสยฺโย
ยทา นิเสโธ มนโส ปิเยหิ
ยโต ยโต หึสมโน นิวตฺตติ
ตโต ตโต สมฺมติเมว ทุกฺขํ ฯ ๓๙๐ ฯ
ไม่มีอะไรจะดีสำหรับพราหมณ์
เท่ากับหักห้ามใจจากปิยารมณ์
เมื่อใดเขาไม่เบียดเบียนคนอื่น
เมื่อนั้น ความทุกข์ก็สงบ
Naught is better for a brahmana.
Than restraint of mind from what is dear.
Whenever his ill will has been put aside,
Then and then only his sorrow subsides.
๙. ยสฺส กาเยน วาจาย
มนสา นตฺถิ ทุกฺกฏํ
สํวุตํ ตีหิ ฐาเนหิ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๓๙๑ ฯ
ผู้ใดไม่มีความชั่วทางกาย วาจา ใจ
สำรวมระวังทั้งสามทวาร
ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์
He in whom there is no evil done,
Through body speech or mind,
He who is restrained in the three ways-
Him do I call a brahmana.
๑๐. ยมฺหา ธมฺมํ วิชาเนยฺย
สมฺมาสมฺพุทฺธเทสิตํ
สกฺกจฺจํ ตํ นมสฺเสยฺย
อคฺคิหุตฺตํว พฺราหฺมโณ ฯ ๓๙๒ ฯ
เมื่อรู้ธรรมที่พุทธเจ้าทรงแสดง
จากบุคคลใด
ควรเคารพนอบน้อมบุคคลนั้น
เหมือนพราหมณ์บูชาไฟ
From whom one knows the Truth Sublime
Which the Awakened One proclaimed,
Devotedly should one revere him,
As a brahmana tends the sacrificial fire.

๑๑. น ชฏาหิ น โคตฺเตน
น ชจฺจา โหติ พฺราหฺมโณ
ยมฺหิ สจฺจญฺจ ธมฺโม จ
โส สุจี โส จ พฺราหฺมโณ ฯ ๓๙๓ ฯ
มิใช่เพราะมุ่นชฏา มิใช่เพราะโคตร
มิใช่เพราะกำเนิด (ที่ดี) ที่ทำคนให้เป็นพราหมณ์
ใครก็ตามมีสัจจะและทรงธรรม
ย่อมจะบริสุทธิ์ล้ำและเป็นพราหมณ์
Not by matted hair, nor by clan, nor by birth,
Does one become a brahmana.
In whom there are truth and righteouseness,
Pure is he, a brahmana is he.
๑๒. กึ เต ชฏาหิ ทุมฺเมธ
กึ เต อชินสาฏิยา
อพฺภนฺตรํ เต คหณํ
พาหิรํ ปริมชฺชสิ ฯ ๓๙๔ ฯ
เจ้าโง่เอ๋ย ผมยาว หนังสัตว์
จะมีประโยชน์อะไรสำหรับเจ้า
ภายนอกเจ้าสะอาดสดใส
แต่ภายในเจ้ารกรุงรัง
What use of your matted hair, O foolish one?
And what of your entelope-garment?
Full of impurities is your mind,
You embellish only the outside.
๑๓. ปํสุกูลธรํ ชนฺตุํ
กิสํ ธมนิสนฺถตํ
เอกํ วนสฺมึ ฌายนฺตํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๓๙๕ ฯ
ผู้ทรงผ้าบังสุกุล
ผอมจนเห็นแต่เส้นเอ็น
บำเพ็ญฌานในป่าเปลี่ยวคนเดียว
เราเรียกว่า พราหมณ์
Clad in rag-robes and lean,
With body overspread by veins,
Meditationg in the forest alone-
Him do I call a brahmana.
๑๔. น จาหํ พฺราหฺมณํ พฺรูมิ
โยนิชํ มตฺติสมฺภวํ
โภวาที นาม โส โหติ
ส เว โหติ สกิญฺจโน
อกิญฺจนฺ อนาทานํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๓๙๖ ฯ
เพียงเกิดในตระกูลพราหมณ์
หรือมีมารดาเป็นพราหมณ์
เราไม่เรียกเขาว่า พราหมณ์
หากเขายังมีกิเลสอยู่
เขาก็เป็นพราหมณ์แต่ชื่อ
ผู้ใดหมดกิเลสไม่ยึดมั่นถือมั่น
ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์
I do not call him a brahmana
Merely because he is born of a womb
Or sprung from a brahmani.
If he is full of impediments,
He is merely a brahmana by name.
He who is free from impediments and clinging-
Him do I call a brahmana.
๑๕. สพฺพสญฺโญชนํ เฉตฺวา
โย เว น ปริตสฺสติ
สงฺคาติคํ วิสํยุตฺตํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๓๙๗ ฯ
ผู้ใดตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้หมดสิ้น
ไม่หวาดกลัว หมดพันธะ
เป็นอิสระจากเครื่องจองจำคือกิเลส
ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์
He who has cut off all bonds,
He who trembles not,
He who is free and unbound-
Him do I call a brahmana.

๑๖. เฉตฺวา นทฺธึ วรตฺตญฺจ
สนฺทานํ สหนุกฺกมํ
อุกฺขิตฺตปลิฆํ พุทฺธํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๓๙๘ ฯ
ผู้ที่ตัดชะเนาะ (ความโกรธ) เชือกหนัง (ตัณหา)
เชือกป่าน (ความเห็นผิด) พร้อมทั้งอนุสัยกิเลส
ถอดลิ่มสลัก (อวิชชา) รู้แจ้งอริยสัจแล้ว
เราเรียกว่า พราหมณ์
He who has cut off the strap (of hatred),
The thong (of craving),
The rope (of heresies),
Together with all tendencies:
He who has thrown up the cross-bar
(ignorance)
And has realized the Truth-
Him do I call a brahmana.

๑๗. อกฺโกสํ วธพนฺธญฺจ
อทุฏฺโฐ โย ติติกฺขติ
ขนฺติพลํ พลานีกํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๓๙๙ ฯ
ผู้ใดไม่โกรธ ทนต่อการด่า
และการลงโทษจองจำ
มีขันติเป็นกำลังทัพ
ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์
He who is not wrathful
Bears reviling, blows and bonds,
Whose power, the potent army, is patience-
Him do I call a brahmana.

๑๘. อกฺโกธนํ วตวนฺตํ
สีลวนฺตํ อนุสฺสทํ
ทนฺตํ อนฺติมสารีรํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๐๐ ฯ
ผู้ใดไม่มักโกรธ ทรงศีลพรต
หมดกิเลสฝึกฝนตน
มีชีวิตอยู่ในโลกนี้เป็นครั้งสุดท้าย
ผู้นั้น เราเรียกว่า พราหมณ์
He who is free from anger,
He who is dutiful and righteous,
He who is without craving, and controlled;
And he who bears his final body-
Him do I call a brahmana.

๑๙. วาริ โปกฺขรปตฺเตว
อารคฺเคริว สาสโป
โย น ลิปฺปติ กาเมสุ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๐๑ ฯ
ผู้ใดไม่ติดในกาม
เหมือนหยาดน้ำไม่ติดใบบัว
และเมล็ดผักกาดไม่ติดปลายเข็ม
ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์
Like water on a lotusleaf,
Like a mustard seed on a needle's point,
He who clings not to sensual pleasures-
Him do I call a brahmana.

๒๐. โย ทุกฺขสฺส ปชานาติ
อิเธว ขยมตฺตโน
ปนฺนภารํ วิสํยุตฺตํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๐๒ ฯ
ผู้รู้วิธีดับทุกข์ของตนได้ในโลกนี้
หมดภาระแบกหามกิเลส
เป็นอิสระจากกิเลส
เราเรียกว่า พราหมณ์
He who has realized in this world
The destruction of his own ill,
Who has put aside the burden and is freed-
Him do I call a brahmana.

๒๑. คมฺภีรปญฺญํ เมธาวึ
มคฺคามคฺคสฺส โกวิทํ
อุตฺตมตฺถํ อนุปฺปตฺตํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๐๓ ฯ
ผู้มีปัญญาลึกซึ้ง หลักแหลม
ฉลาดเลือกทางผิดทางชอบ
บรรลุถึงจุดหมายปลาทางอันอุดม
เราเรียกว่า พราหมณ์
He whose wisdom is deep,
Who is wise and skilled
In the right and wrong means,
Who has reached the Highest Goal-
Him do I call a brahmana.
๒๒. อสํสฏฺฐํ คหฏฺเฐหิ
อนาคาเรหิ จูภยํ
อโนกสารึ อปฺปิจฺฉํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๐๔ ฯ
ผู้ไม่คลุกคลีกับบุคคลทั้งสองฝ่าย
คือคฤหัสถ์และบรรพชิต
จรไปคนเดียว ไม่ติดถิ่น มักน้อย
เราเรียกว่า พราหมณ์
He who is not intimate
With both householder and homeless,
Who with no fixed abode
Wanders, wanting but little-
Him do I call a brahmana.
๒๓. นิธาย ทณฺฑํ ภูเตสุ
ตเสสุ ถาวเรสุ จ
โย น หนฺติ น ฆาเตติ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๐๕ ฯ
ผู้งดเบียดเบียนสัตว์อื่น
ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่
ไม่ฆ่าเอง ไม่สั่งให้คนอื่นฆ่า
เราเรียกว่า พราหมณ์
He who has given up harming creatures,
Whether feeble or strong,
Who neither kills nor causes to kill-
Him do I call a brahmana.
๒๔. อวิรุทฺธํ วิรุทฺเธสุ
อตฺตทณฺเฑสุ นิพฺพุตํ
สาทาเนสุ อนาทานํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๐๖ ฯ
ผู้ไม่ดุร้าย กลางกลุ่มชนผู้ดุร้าย
สงบ กลางกลุ่มชนผู้ทารุณ
ไม่ยึดมั่นกลางกลุ่มผู้ยึดมั่น
เราเรียกว่า พราหมณ์
Friendly among the hostile,
Peaceful among the violent,
Ungrasping among the grasping-
Him do I call a brahmana.
๒๕. ยสฺส ราโค จ โทโส จ
มาโน มกฺโข จ ปาติโต
สาสโปริว อารคฺคา
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหมณํ ฯ ๔๐๗ ฯ
ความกำหนัด ความขัดเคือง ความหยิ่ง
ความดูถูกบุญคุณคนอื่น หมดไปจากผู้ใด
เหมือนเมล็ดผักกาด ตกไปจากปลายเข็ม
ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์
In whom lust, hatred, pride
And detraction are fallen off,
As a mustard seed from the needle's point-
Him do I call a brahmana.
๒๖. อกกฺกสํ วิญฺญาปนึ
คิรํ สจฺจํ อุทีรเย
ยาย นาภิสเช กญฺจิ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๐๘ ฯ
ผู้พูดถ้อยคำนิ่มนวล
แจ่มกระจ่าง สัตย์จริง
ไม่กระทบกระทั่งใคร
เราเรียกว่า พราหมณ์
He who utters words
Gentle, instructive and true,
He who gives offence to none
Him do I call a brahmana.

๒๗. โยธ ทีฆํ วา รสฺสํ วา
อณุํ ถูลํ สุภาสุภํ
โลเก อทินฺนํ นาทิยติ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๐๙ ฯ
ผู้ใดไม่ขโมยของคนอื่น
ไม่ว่าสั้นหรือยาว
เล็กหรือใหญ่ ดีหรือไม่ดี
ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์
He who in this world
Takes not what is not given,
Be it long or short,
Small or great, fair or foul-
Him do I call a brahmana.
๒๘. อาสา ยสฺส น วิชฺชนฺติ
อสฺมึ โลเก ปรมฺหิ จ
นิราสยํ วิสํยุตฺตํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๑๐ ฯ
ผู้ใดไม่มีความอยาก
ในโลกนี้และโลกหน้า
หมดกิเลส เป็นอิสระ
ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์
He who has no longing
Either for this world or nexto world,
Who is detached and emancipated-
Him do I call a brahmana.
๒๙. ยสฺสาลยา น วิชฺชนฺติ
อญฺญาย อกถํกถี
อมโตคธํ อนุปฺปตฺตํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๑๑ ฯ
ผู้ใดหมดตัณหา
หมดสงสัย เพราะรู้แจ้งจริง
ลุถึงอมตนิพพานแล้ว
ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์
He who has no more longing,
Who through knowledge is free from doubts,
Who has plunged deep into the Deathless-
Him do I call a brahmana.
๓๐. โยธ ปุญฺญญฺจ ปาปญฺจ
อุโภ สงฺคํ อุปจฺจคา
อโสกํ วิรชํ สุทฺธํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๑๒ ฯ
ผู้ละบุญละบาปได้
พ้นกิเลสผูกพัน
ไม่โศก ไม่มีกิเลส บริสุทธิ์
เราเรียกว่า พราหมณ์
He who has passed beyond
Good and bad and attachment,
Who is sorrowless, stainless and pure-
Him do I call a brahmana.

๓๑. จนฺท ว วิมลํ สุทฺธํ
วิปฺปสนฺนํ อนาวิลํ
นนฺทิภวปริกฺขีณํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๑๓ ฯ
ผู้บริสุทธิ์ เหมือนจันทร์แจ่ม สงบ
ผ่องใส หมดความพอใจในภพ
เราเรียกว่า พราหมณ์
He who is pure as the spotless moon,
He who is serene and clear,
He who has ended delight in existence-
Him do I call a brahmana.
๓๒. โย อิมํ ปลิปถํ ทุคฺคํ
สํสารํ โมหมจฺจคา
ติณฺโณ ปารคโต ฌายี
อเนโช อกถํกถี
อนุปาทาย นิพฺพุโต
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๑๔ ฯ
ผู้ข้ามสงสารวัฏ และโมหะ
อันเป็นทางหล่มที่ข้ามได้แสนยากนี้
ลุถึงฝั่งโน้น เป็นนักกรรมฐาน
หมดตัณหา หมดความสงสัย
หมดความยึดมั่น บรรลุนิพพาน
เราเรียกว่า พราหมณ์
He who has passed beyond
This quagmire, this difficult path,
The ocean (of life) and delusion,
Who has crossed and gone beyond,
Who is meditative, desireless and doubtless,
Who, clinging to nought, has attained Nibbana-
Him do I call a brahmana.
๓๓. โยธ กาเม ปหตฺวาน
อนาคาโร ปริพฺพเช
กามภวปริกฺขีณํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ๔๑๕ ฯ
ผู้ละกามารมณ์
ออกบวชไม่มีเรือน
หมดความใคร่ในภพ
เราเรียกว่า พราหมณ์
He who, giving up sensual pleasures,
Would renounce and become a homeless one,
Who has removed the lust of becoming-
Him do I call a brahmana.
๓๔. โยธ ตณฺหํ ปหตฺวาน
อนาคาโร ปริพฺพเช
ตณฺหาภวปริกฺขีณํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๑๖ ฯ
ผู้ละตัณหา
ออกบวชไม่มีเรือน
หมดความอยากในภพ
เราเรียกว่า พราหมณ์
He who, giving up craving,
Would renounce and become a homeless one,
Who has destroyed the craving for existence-
Him do I call a brahmana.
๓๕. หิตฺวา มานุสกํ โยคํ
ทิพฺพํ โยคํ อุปจฺจคา
สพฺพโยควิสํยุตฺตํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๑๗ ฯ
ผู้ละเครื่องผูกพัน
ทั้งของมนุษย์และเทวดา
หมดเครื่องผูกพันทุกชนิด
คนเช่นนี้เราเรียกว่า พราหมณ์
He who, discarding human ties,
And transcending celestial ties,
Is completely freed from all ties-
Him do I call a brahmana.
๓๖. หิตฺวา รติญฺจ อรติญฺจ
สีติภูตํ นิรูปธึ
สพฺพโลกาภิภุํ วีรํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๑๘ ฯ
ผู้ละความยินดีและความไม่ยินดี
เย็นสนิท หมดอุปธิ (กิเลส)
อาจหาญ ชนะโลกทั้งมวล
เราเรียกว่า พราหมณ์
He who has given up delight and aversion,
Who is cooled and without attachments,
Strenous and victorious over the world-
Him do I call a brahmana.
๓๗. จุตึ โย เวทิ สตฺตานํ
อุปปตฺติญฺจ สพฺพโส
อสตฺตํ สุคตํ พุทฺธํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๑๙ ฯ
ผู้รู้จุติ และปฏิสนธิ
ของสัตว์ทั้งหลายโดยละเอียด
ผู้ไม่ขัดข้อง ไปดี ตรัสรู้ธรรม
เราเรียกว่า พราหมณ์
He who perfectly understands
The rise and fall of all beings,
Who is detached, well-hone and enlightened-
Him do I call a brahmana.
๓๘. ยสฺส คตึ น ชานนฺติ
เทวา คนฺธพฺพมานุสา
ขีณาสวํ อรหนฺตํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๒๐ ฯ
เทวดา คนธรรพ์ และมนุษย์ทั้งหลาย
ไม่ทราบทางไปของผู้ใด
ผู้เป็นพระอรหันต์ ขีณาสพ
ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์
He whose way is unknown
To hods, gandharvas and men,
Who has destroyed all defilements
And who has become enlightened-
Him do I call a brahmana.
๓๙. ยสฺส ปุเร จ ปจฺฉา จ
มชุเฌ จ นตฺถิ กิญฺจนํ
อกิญฺจนํ อนาทานํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๒๑ ฯ
ผู้ไม่มีความยึดถือทั้งเบื้องต้น (อดีต)
ท่ามกลาง (ปัจจุบัน) ่ที่สุด (อนาคต)
ปราศจากความยึดมั่นถือมั่น
เราเรียกว่า พราหมณ์
He who clings not to the past,
The present and the future, too,
Who has no clinging and grasping-
Him do I call a brahmana.
๔๐. อุสภํ ปวรํ วีรํ
มเหสึ วิชิตาวินํ
อเนชํ นหาตกํ พุทฺธํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๑๒ ฯ
มหาฤาษีผู้องอาจ ประเสริฐ แกล้วกล้า
ชำนะ ปราศจากตัณหา
บริสุทธิ์ ตรัสรู้ธรรม
เราเรียกว่า พราหมณ์
The fearless, the noble, the hero,
The great sage, the conqueror,
The desireless, the pure, the enlightened-
Him do I call a brahmana.
๔๑. ปุพฺเพนิวาสํ โย เวทิ
สคฺคาปายญฺจ ปสฺสติ
อโถ ชาติกฺขยํ ปตฺโต
อภิญฺญาโวสิโต มุนิ
สพฺพโวสิตโวสานํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๒๓ ฯ
มุนี ผู้รู้อดีตชาติของตน
เห็นสวรรค์และอบาย
ไม่ต้องเกิดอีกต่อไป
รู้แจ้งเห็นจริง
บำเพ็ญหน้าที่บริบูรณ์แล้ว
เราเรียกว่า พราหมณ์
The sage who knows his previous births,
Who sees heaven and hell,
Who has reached the end of births,
Who has attained to insight-wisdom,
Who has completed his holy life-
Him do I call a brahmana. .


หมวดพระอรหันต์ - THE WORTHY

1. คตทฺธิโน วิโสกสฺส
วิปฺปมุตฺตสฺส สพฺพธิ
สพฺพคนฺถปฺปหีนสฺส
ปริฬาโห น วิชฺชติ ฯ90
ผู้เดินทางถึงจุดหมายปลายทางแล้ว
วิมุติหลุดพ้นโดยประการทั้งปวง
หมดโศก หมดเครื่องพัวพันแล้ว
ความร้อนใจก็หมดไป
For him who has completed his journey,
For him who is whooly free from all,
For him who has destroyed all bonds,
The fever of passion exists not.
2. อุยฺยุญฺชนติ สติมนฺโต
น นิเกเต รมนฺติ เต
หํสาว ปลฺลวํ หิตฺวา
โอกโมกํ ชหนฺติ เต ฯ91
ผู้มีสติย่อมขยันขันแข็ง
ไม่ยึดติดแหล่งที่อาศัย
ละทิ้งไปตามลำดับ
เหมือนกับพญาหงส์ทิ้งสระน้ำ
The mindeful ones exert themselves,
To no abode are they attached;
Like swans that quit their pools,
Home after home they leave behind.

3.. เยสํ สนฺนิจฺจดย นตฺถิ
เย ปริญฺญาตดภชนา
สุญฺญโต อนิมิตฺโต จ
วิโมกฺโข เยส โคจโร
อากาเสว สกุนฺตานํ
คติ เตสํ ทุรนฺวยา ฯ92

ท่านที่หมดการสะสม(ปัจจัยหรือกรรมดีกรรรมชั่ว)
พิจารณาโภชนะก่อนบริโภค เข้าถึงความหลุดพ้น
อันว่างจากกิเลสและไร้นิมิตหมายคือกิเลส
บุคคลเช่นนี้ ยากที่สามัญชนขะตามทัน
เหมือนนกบินบนท้องฟ้า ตามทันยาก

Those for whom there is no accumulation,
Who reflect well over their food,
Who have perceived void and unconditioned
freedom-
Their path is hard to trase,
Like that of birds in the air.

4. ยสฺสาสวา ปริกฺขีณา
อาหาเร จ อนิสฺสิดต
สุญฺญโต อนิมิตฺโต จ
วิโมกฺโข ยสฺส โคจโร
อากาเสว สกุนฺตานํ
ปทํ ตสฺส ทุรนฺวยํ ฯ93

ผู้หมดกิเลส ไม่เห็นแก่กิน เข้าถึงความหลุดพ้น
อันว่างจากกิเลสและไร้นิมิตหมายคือกิเลส
บุคคลเช่นนี้มิได้ทิ้งร่องรอยอะไรไว้เลย
เหมือนนกบินบนท้องฟ้า หารอยอันใดมิได้.

He whose corruptions are destroyed,
He who is not attached to food
He who has perceived void and unconditioned freedom-
His track cannot be traced,
Like that of birds in the air.

5. ยสฺสินฺทริยานิ สมถงฺคตานิ
อสฺสา ยถา สารถินา สุทนฺตา
ปหีนมานสฺส อนาสวสฺส
เทวาปิ ตสฺส ปิหยนฺติ ตาทิโน ฯ94

ท่านผู้ใดควบคุมอินทรีย์คือ
ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ได้
เหมือนม้าที่สารถีควบคุมได้อย่างดี
ท่านผู้นี้หมดความไว้ตัว หมดกิเลส มั่นคง
ย่อมเป็นที่โปรดปราน แม้กระทั่งของเทวดาทั้งหลาย

He whose senes are subdued,
Like steeds well-trained by a charioteer;
He who is free from pride and corruption-
Such a steadfast one even the gods hold dear.

6. ปฐวีสโม โน วิรุชฺฌติ
อินฺทขีลูปดม ตาทิ สุพฺพโต
รหโทว อเปตกทฺทดม
สํสารา น ภวนฺติ ตาทิโน ฯ95

พระอรหันตฺเปรียบได้กับแผ่นดิน ไม่เคยโกรธขึ้งใคร
มีจิตคงที่ เหมือนหลักเมือง
มีจรรยาสะอาด เหมือนสระน้ำที่ใสไร้เปลือกตม
ผู้มีคุณสมบัติเห็นปานนี้ ย่อมไม่เวียนว่ายตายเกิดอีก

Like the earth the Worthy One resents not;
Like the chief post is he a firm mind;
Like an unsullied pool is he of pure conduct;
To such a one life's wanderings are no more.

7. สนฺตํ ตสฺส มนํ โหติ
สนฺตา วาจา จ กมฺม จ
สมฺมทญฺญา วิมุตฺตสฺส
อุปสนฺตสฺส ตาทิโน ฯ96

พระอรหันตฺผู้เป็นอิสระเพราะรู้แจ้ง
ผู้สงบระงับ และมีจิตมั่นคง
ใจของท่าน ย่อมสงบ
วาจาก็สงบ
การกระทำทางกายก็สงบ

Calm is his mind;
Calm is his speech;
Calm is his bodily action;
Perfectly peaceful and equipoised.
8. อสทฺโธ อกตญฺญู จ
สนฺธิจฺเฉโท จ โย นโร
หตาวกาโส วนฺตาโส
ส เว อุตฺตมโปริโส ฯ97

ผู้ไม่เชื่อใครง่ายตนกว่าจะพิสูจน์ด้วยตนเอง ๑
ผู้รู้แจ้งพระนิพพาน ๑
ผู้หมดการเวียนว่ายตายเกิด ๑
ผู้หมดโอกาสที่จะทำดีหรือชั่ว ๑
ผู้หมดกิเลสที่ทำให้หวัง ๑
ห้าประเภทนี้แล เรียกว่า "ยอดคน"

He who is not credulous,
He who has realized Nibbana,
He who has severed all ties,
He who has put an end to opportunity,
He who has removed all desires
He,indeed,is the greatest of men.

9. คาเม วา ยทิวารญฺเญ
นินฺเน วา ยิทวา ถเล
ยตฺถารหนฺโต วิหรนฺติ
ตํ ภูมิ รามเณยฺยกํ ฯ99

ไม่ว่าจะเป็นบ้าน หรือป่า
ไม่ว่าจะเป็นที่ลุ่ม หรือที่ดอน
พระอรหันต์ทั้งหลายอยู่ในที่ใด
ที่นั้น เป็นที่น่ารื่นรมย์

Whether in village or in forest,
Whether in vale or on hill'
Wherever the Worthy Ones dwell-
Delightful,indeed, is that spot.

10. รมณียานิ อรญฺญานิ
ยตฺถ น รมตี ชดน
วีตราคา รเมสฺสนฺติ
น เต กามคเวสิโน ฯ99

ป่าที่คนทั่วไปไม่ชื่นชม
เป็นรมณียสถาน
สำหรับท่านผู้มหมดราคะ
เพราะพระท่านมิได้ใฝ่กามคุณ

Delightful are the forests
Where worldings find no joy,
There the passionless rejoice
For they seek no sensual pleasures.

หมวดพัน - THE THOUSANDS

1. สหสฺสํ อปิ เจ วาจา 
อนตฺถปทสญฺหิตา 
เอกํ อตฺถปทํ เสยฺโย 
ยํ สุตฺวา อุปสมฺมติ ฯ100


คำพูดที่เหลวไหลไร้ประโยชน์ตั้งพันคำ 
ก็สู้คำพูดที่มีประโยชน์คำเดียวไม่ได้ 
เพราะฟังแล้วทำให้จิตใจสงบ


Better than a thounsand useless words 
Is one beneficial single word, 
Hearing which one is pacified.


2. สหสฺสํ อปิ เจ คาถา 
อนตฺถปทสญฺหิตา 
เอกํ คาถาปทํ เสยฺโย 
ยํ สุตฺวา อุปสมฺมติ ฯ101


บทกวีตั้งพันโศลก 
แต่ไร้ประโยชน์ 
ไม่เท่าบทกวีบรรทัดเดียว 
ที่ทำให้ผู้ฟังได้รับความสงบ

Better than a thounsand verses, 
Comprising useless words, 
Is one beneficial single line, 
Hearing which one is pacified.

3. โย จ คาถาสตํ ภาเส 
อนตฺถปทสญฺหิตา 
เอกํ ธมฺมปทํ เสยฺโย 
ยํ สุตฺวา อุปสมฺมติ ฯ 102 


บทกวีบรรยายธรรมบทเดียว 
ที่ทำให้ผู้ฟังได้รับความสงบ 
ประเสริฐกว่าบทกวีที่ท่องจำได้ตั้งร้อยโศลก 
แต่ไม่มีประโยชน์แม้แต่บทเดียว


Should one recite a hundred verses, 
Comprising useless words, 
Better is one single word of the Dhamma, 
Hearing which one is pacified.

4. โย สหสฺสํ สหสฺเสน 
สงฺคาเม มานุเส ชิเน 
เอกญฺจ เชยฺยมตฺตานํ 
ส เว สงฺคามชุตฺตโม ฯ103


ถึงจะรบชนะข้าศึกเป็นพัน ๆ ราย 
ก็ไม่นับเป็นยอดขุนพล 
แต่ผู้ที่เอาชนะจิตใจตน 
จึงเรียก "ยอดขุนพล" แท้จริง


Though one should conquer in battle 
A thounsand times a thounsand men, 
Yet should one conquer just oneself 
One is indeed the greatest victor.


5. อตฺตา หเว ชิตํ เสยฺโย 
ยาจายํ อิตรา ปชา 
อตฺตทนฺตสฺส โปสสฺส 
นิจฺจํ สญฺญตจาริโน 
เนว เทโว น คนฺธพฺโพ 
น มาโร สห พฺรหฺมุนา 
ชิตํ อปชิตํ กยิรา 
ตถารูปสฺส ชนฺตุโน ฯ104-5


เอาชนะตนได้นั้นแล ประเสริฐ 
ผู้ที่ฝึกตนได้ ระวังระไวตลอดเวลา 
ถึงเทวดา คนธรรพ์ และพระพรหม 
ก็เอาชนะไม่ได้


Better indeed is it to conquer oneself, 
Neither a god nor a Gandharva 
Neither Mara nor Brahma 
Could turn into defeat the victory of one 
Who is self-madtered and self-controlled.


6. มาเส มาเส สหสฺเสน 
โย ยเชถ สตํ สมํ 
เอกญฺจ ภาวิตตฺตานํ 
มุหุตฺตมฺปิ ปูชเย 
ยญฺเจว วสฺสตํ หุตํ ฯ106


การบูชาท่านผู้ฝึกตน แม้เพียงหนึ่งครั้ง 
บังเกิดผลมหาศาล 
ยิ่งกว่าสละทรัพย์บูชายัญเดือนละพัน 
เป็นเวลาติดต่อกันถึงร้อยปี


Though, month after month with a thousand, 
One should sacrifice for a hundred years, 
Yet,if, only for a moment, 
One should honour the self-restrained, 
That honour, indeed, is better 
Than a century of sacrifice.


7. โย จ วสฺสสตํ ชนฺตุ 
อคฺคึ ปริจเร วเน 
เอกญฺจ ภาวิตตฺตานํ 
มุหุตฺจมฺปิ ปูชเย 
สา เยว ปูชนา เสยฺโย 
ยญฺเจ วสฺสสตํ หุตํ ฯ107


การบูชาท่านผู้ฝึกตนแม้เพียงครู่เดียว 
บังเกิดผลมหาศาล 
ยิ่งกว่าการบูชาไฟในป่า 
เป็นเวลาตั้งร้อยปี


Though one , for a century, 
Should tend the fire in the forest, 
Yet, if ,only for a moment, 
He should honour the self-restrained, 
Thai honour,indeed,is better 
Than a century of sacrifice.


8. ยงฺกิญฺจิ ยิฎฺฐํ ว หุตํ ว โลเก 
สํวจฺฉรํ ยเชถ ปุญฺญเปกฺโข 
สพฺพมฺปิ ตํ น จตุภาคเมติ 
อภิวาทนา อุชุคเตสุ เสยฺโย ฯ108


ไม่ว่ายัญชนิดไหน ที่ผู้ใคร่บุญพึงบูชาตลอดปี 
การบูชายัญนั้นมีค่าไม่เท่าหนึ่งในส่ของการยกมือไหว้ 
ท่านผู้ปฏิบัติตรงตามอริยมาาคแม้เพียงครั้งเดียว 
การไหว้บุคคลเช่นนั้นประเสริฐกว่าเป็นไหน ๆ


Whatever oblationnns and sacrifices 
One might offer for a year, 
Seeking merit thereby, 
All that is not worth a single quarter 
Of homage towards the upright 
Which is far more excellent.


9. อภิวาทนสีลิสฺส 
นิจฺจํ วุฑฺฒาปจายิโน 
จตฺตาโร ธมฺมา วฑฺฒนฺติ 
อายุ วณฺโณ สุขํ พลํ ฯ109


ผู้กราบไหว้ อ่อนน้อมถ่อมตัว 
ต่อผู้ใหญ่เป็นนิจศีล 
ย่อมเจริญด้วยคุณธรรมสี่ประการคือ 
อายุ ชื่อเสียง สุข และกำลัง


For one who is in the habit of 
Ever honouring and respecting the elders, 
Four qualities increase; 
Loong life,Fame, happiness and strength.


10. โย จ วสฺสสตํ ชีเว 
ทุสฺสีโล อสมาหิโต 
เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย 
สีลวนฺตสฺส ฌายิโน ฯ110


ผู้มีศีล มีสมาธิ 
ประเสริฐกว่าชีวิตตั้งร้อยปี 
ของคนทุศีล ไร้สมาธิ


Though one should live a hundred years, 
Without conduct and concentration, 
Yet,better is a single day's life 
Of one who is moral and meditative.


11. โย จ วสฺสสตํ ชีเว 
ทุปฺปญฺโญ อสมาหิโต 
เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย 
ปญฺญวนฺตสฺส ฌายิโน ฯ111


ผู้มีปัญญา มีสมาธิ 
มีชีวิตอยู่วันเดียว 
ประเสริฐกว่าชีวิตตั้งร้อยปี 
ของผู้ทรามปัญญา ไร้สมาธิ


Though one shold live an hundred years, 
Without wisdom and concentration, 
Yet, better is a single day's life 
Of one who is wise and meditative.


12. โย จ วสฺสสตํ ชีเว 
กุสีโต หีนวีริโย 
เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย 
วีริยํ อารภโต ทฬฺหํ ฯ112


ผู้มีความเพียรมั่นคง 
มีชีวิตอยู่วันเดียว 
ประเสิรฐกว่าชีวิตตั้งร้อยปี 
ของผู้เกียจคร้าน ไร้ความเพียร


Though one should live a hundred years, 
Sluggish and inactive 
Yet,better is a single day's life 
Of one who intensely exerts himself.


13. โย วสฺสสตํ ชีเว 
อปสฺสํ อุทยพฺพยํ 
เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย 
ปสฺสโต อุทยพฺพยํ ฯ113


ผู้พิจารณาเห็นความเกิด-ดับแห่งสังขาร 
มีชีวิตอยู่วันเดียว 
ประเสริฐกว่าชีวิตตั้งร้อยปี 
ของผู้ไม่พิจารณาเห็น


Better is a single day;s life of one 
Who discerns the rise and fall of things 
Than a hundred years'life of one 
Who is not comprehending.


14. โย จ วสฺสสตํ ชีเว 
อปสฺสํ อมตํ ปทํ 
เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย 
ปสฺสโต อมตํ ปทํ ฯ114


ผู้พบทางอมตะ 
มีชีวิตอยู่วันเดียว 
ประเสริฐกว่าชีวิตตั้งร้อยปี 
ของผู้ไม่พบ


Better is a single day's life of one 
Who sees the Deathless 
Than a hundred years's life of one 
Who sees not that state.


15. โย จ วสฺสสตํ ชีเว 
อปสฺสํ ธมฺมมุตฺตมํ 
เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย 
ปสฺสโต ธมฺมมุตฺตมํ ฯ115

ผู้เห็นพระธรรมอันประเสริฐ 
มีชีวิตอยู่วันเดียว 
ประเสริฐกว่าชีวิตตั้งร้อยปี 
ของผู้ไม่เห็น


Better is a single day's life of one 
Who understands the truth sublime 
Than a hundred years's life of one 
Who knows not that truth, so high.


หมวดบาป - EVIL
๑. อภิตฺถเรถ กลฺยาเณ 
ปาปา จิตฺตํ นิวารเย 
ทนฺธํ หิ กรโต ปุญฺญํ 
ปาปสฺมึ รมตี มโน ฯ ๑๑๖ ฯ 
พึงรีบเร่งกระทำความดี 
และป้องกันจิตจากความชั่ว 
เพราะเมื่อกระทำความดีช้าไป 
ใจจะกลับยินดีในความชั่ว


Make haste in doing gook, 
And check your mind from evil, 
Whoso is slow in making merit- 
His mind delights in evil.


๒. ปาปญฺเจ ปุริโส กยิรา 
น นํ กยิรา ปุนปฺปุนํ 
น ตมฺหิ ฉนฺทํ กยิราถ 
ทุกฺโข ปาปสฺส อุจฺจโย ฯ ๑๑๗ ฯ


ถ้าหากจำต้องทำชั่วไซร้ 
ก็ไม่ควรทำบ่อยนัก 
และไม่ควรพอใจในการทำชั่วนั้น 
เพราะการสะสมบาป นำทุกข์มาให้


Should a man commit evil, 
Let him not do it again and again, 
Nor turn his heart to delight therein; 
Painful is the heaping-up of evil.


๓. ปุญฺญญฺเจ ปุริโส กยิรา 
กยิราเถนํ ปุนปฺปุนํ 
ตมฺหิ ฉนฺทํ กยิราถ 
สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย ฯ ๑๑๘ ฯ


ถ้าหากจะทำความดี 
ก็ควรทำดีบ่อยๆ 
ควรพอใจในการทำความดีนั้น 
เพราะการสะสมความดีนำสุขมาให้


Should a man perform merit, 
Let him do it again and again, 
And trun his mind to delight therein; 
Blissful is the piling-up of merit.


๔. ปาโปปิ ปสฺสตี ภทฺรํ 
ยาว ปาปํ น ปจฺจติ 
ยทา จ ปจฺจตี ปาปํ 
อถ ปาโป ปาปานิ ปสฺสติ ฯ ๑๑๙ ฯ


เมื่อบาปยังไม่ส่งผล 
คนชั่วก็เห็นว่าเป็นของดี 
ต่อเมื่อมันเผล็ดผลเมื่อใด 
เมื่อนั้นแหละเขาจึงรู้พิษสงของบาป


For the evil-doer all is well, 
While the evil ripens not; 
But when his evil yields its fruit, 
He sees the evil results.


๕. ภทฺโรปิ ปสฺสตี ปาปํ 
ยาว ภทฺรํ น ปจฺจติ 
ยทา จ ปจฺจตี ภทฺรํ 
อถ ภทฺโร ภทฺรานิ ปสฺสติ ฯ ๑๒๐ * ฯ


เมื่อความดียังไม่ส่งผล 
คนดีก็มองเห็นความดีเป็นความชั่ว 
ต่อเมื่อใดความดีเผล็ดผล 
เมื่อนั้นแหละเขาจึงจะเห็นผลของความดี


For the good man, perhaps, all is ill, 
While as yet his good is not ripe; 
But when it bears its fruit, 
He sees the good results.


๖. มาวมญฺเญถ ปาปสฺส 
น มตฺตํ อาคมิสฺสติ 
อุทพินฺทุนิปาเตน 
อุทกุมฺโภปิ ปูรติ 
อาปูรติ พาโล ปาปสฺส 
โถกํ โถกมฺปิ อาจินํ ฯ ๑๒๑ ฯ

อย่าดูถูกความชั่วเล็กน้อยว่าจักไม่สนองผล 
น้ำตกจากเวหาทีละหยาดๆ ยังเต็มตุ่มได้ 
คนพาลทำความชั่วทีละเล็กละน้อย 
ย่อมเต็มด้วยความชั่วได้เช่นกัน

Despise not evil, 
Saying, 'It will not come to me'; 
Drop by drop is the waterpot filled, 
Lidewise the fool, gathering little by little, 
Fills himself with evil.


๗. มาวมญฺเญถ ปุญฺญสฺส 
น มตฺตํ อาคมิสฺสติ 
อุทพินฺทุนิปาเตน 
อุทกุมฺโภปิ ปูรติ 
อาปูรติ ธีโร ปุญฺญสฺส 
โถกํ โถกมฺปิ อาจินํ ฯ ๑๒๒ ฯ


อย่าดูถูกบุญเล็กน้อยว่าจักไม่สนองผล 
น้ำตกจากเวหาทีละหยาดๆ ยังเต็มตุ่มได้ 
นักปราชญ์สะสมบุญทีละเล็กละน้อย 
ย่อมเต็มด้วยบุญได้เช่นกัน


Despise not merit, 
Saying, 'It will not come to me'; 
Drop by drop is the waterpot filled, 
Likewise the man, gathering little by little 
Fills himself with merit.


๘. วาณิโชว ภยํ มคฺคํ 
อปฺปสตฺโถ มหทฺธโน 
วิสํ ชีวิตุกาโมว 
ปาปานิ ปริวชฺชเย ฯ ๑๒๓ ฯ


พ่อค้ามีทรัพย์มาก มีพวกน้อย 
ละเว้นทางที่มีภัย 
คนรักชีวิตละเว้นยาพิษ ฉันใด 
บุคคลพึงละบาป ฉันนั้น


As a rich merchant, with small escort, 
Avoids a dangerous path, 
As one who loves life avoids poison, 
Even so should one shun evil.


๙. ปาณิมฺหิ เจ วโณ นาสฺส 
หเรยฺย ปาณินา วิสํ 
นาพฺพณํ วิสมเนฺวติ 
นตฺถิ ปาปํ อกุพฺพโต ฯ ๑๒๔ ฯ


เมื่อมือไม่มีแผล 
บุคคลย่อมจับต้องยาพิษได้ 
ยาพิษนั้นไม่สามารถทำอันตรายได้ 
บาปก็ไม่มีแก่ผู้ไม่ทำบาป

If no wound there be in the hand, 
One may handle poison; 
Poison does not affect one who has no wound; 
There is no ill for him who does no wrong.

๑๐. โย อปฺปทุฏฺฐสฺส นรสฺส ทุสฺสติ 
สุทฺธสฺส โปสสฺส อนงฺคณสฺส 
ตเมว พาลํ ปจฺเจติ ปาปํ 
สุขุโม รโช ปฏิวาตํว ขิตฺโต ฯ ๑๒๕ ฯ

บาปก็ย่อมตามสนองผู้โง่เขลา 
ซึ่งทำร้ายบุคคลที่ไม่ทำร้ายตอบ 
ผู้หมดจด ปราศจากกิเลส 
ดุจธุลีที่ซัดทวนลม (วกกลับมาหาผู้ซัด)

Whosoever offends a harmless person, 
One pure and guiltles, 
Upon that very fool the evil recoils 
Even as fine dust thrown against the wind.


๑๑. คพฺภเมเก อุปปชฺชนฺติ 
นิรยํ ปาปกมฺมิโน 
สคฺคํ สุคติโน ยนฺติ 
ปรินิพฺพนฺติ อนาสวา ฯ ๑๒๖ ฯ


สัตว์บางพวกกลับมาเกิดอีก 
พวกที่ทำบาป ไปนรก 
พวกที่ทำดี ไปสวรรค์ 
พวกที่หมดอาสวกิเลส ปรินิพพาน


Some are born in teh womb again; 
The evil-doers are born in hell; 
The good go to heaven; 
The Undefiled Ones attain Nibbana.


๑๒. น อนฺตลิกฺเข น สมุทฺทมชฺเฌ 
น ปพฺพตานํ วิวรํ ปวิสฺส 
น วิชฺชตี โส ชคติปฺปเทโส 
ยตฺรฏฺฐิโต มุจฺเจยฺย ปาปกมฺมา ฯ ๑๒๗ ฯ


ไม่ว่าบนท้องฟ้า 
ไม่ว่าท่ามกลางสมุทร 
ไม่ว่าในหุบเขา 
ไม่มีแม้แต่แห่งเดียว 
ที่ผู้ทำกรรมชั่วอาศัยอยู่ 
จะหนีพ้นกรรมไปได้


Neither in the sky nor in mid-ocean, 
Nor in the clefts of the rocks, 
Nowhere in the world is a place to be found 
Where abiding one may escape from 
(the consequences of) an evil deed.

๑๓. น อนฺตลิกฺเข น สมุทฺทมชุเฌ 
น ปพฺพตานํ วิวรํ ปวิสฺส 
น วิชฺชตี โส ชคติปฺปเทโส 
ยตุรฏฺฐิตํ นปฺปสเหยฺย มจฺจุ ฯ ๑๒๘ ฯ


ไม่ว่าบนท้องฟ้า 
ไม่ว่าท่ามกลางสมุทร 
ไม่ว่าในหุบเขา 
ไม่มีแม้สักแห่งเดียว 
ที่คนเราอาศัยอยู่แล้ว 
จะหนีพ้นความตายได้

Neither in the sky no in mid-ocean, 
Nor in the clefts of the rocks, 
Nowhere in the world is found that place 
Where abiding one will not be overcome by death.






หมวดลงทัณฑ์ - PUNISHMENT

๑. สพฺเพ ตสนฺติ ทณฺฑสฺส 
สพฺเพ ภายนฺติ มจฺจุโน 
อตฺตานํ อุปมํ กตฺวา 
น หเนยฺย น ฆาตเย ฯ ๑๒๙ ฯ

สัตว์ทั้งหมดกลัวโทษทัณฑ์ 
สัตว์ทั้งหมดกลัวความตาย 
เปรียบตนเองกับผู้อื่นอย่างนี้แล้ว 
ไม่ควรฆ่าเอง ไม่ควรสั่งให้คนอื่นฆ่า

All tremble at punishment; 
All fear death; 
Comparing others with oneself, 
One should neither kill nor cause to kill.
๒. สพฺเพ ตสนฺติ ทณฺฑสฺส 
สพฺเพสํ ชีวิตํ ปิยํ 
อตฺตานํ อุปมํ กตฺวา 
น หเนยฺย น ฆาตเย ฯ ๑๓๐ ฯ

สัตว์ทั้งหมดกลัวโทษทัณฑ์ 
สัตว์ทั้งหมดรักชีวิตของตน 
เปรียบตนเองกับคนอื่นอย่างนี้แล้ว 
ไม่ควรฆ่าเอง ไม่ควรสั่งให้คนอื่นฆ่า

All tremble a punishment; 
To all life is dear; 
Comparing others with oneself, 
One should neither kill nor cause to kill.

๓. สุขกามานิ ภูตานิ 
โย ทณฺเฑน วิหึสติ 
อตฺตโน สุขเมสาโน 
เปจฺจ โส น ลภเต สุขํ ฯ ๑๓๑ ฯ

สัตว์ทั้งหลายล้วนต้องการความสุข 
ผู้ที่ต้องการความสุขแก่ตน 
แต่เบียดเบียนสัตว์อื่น 
ตายไปแล้วย่อมไม่ได้รับความสุข

Whoso, himself seeking happiness, 
Harms pleasure-loving beings- 
He gets no happiness 
In the world to come.

๔. สุขกามานิ ภูตานิ 
โย ทณฺเฑน น หึสติ 
อตฺตโน สุขเมสาโน 
เปจฺจ โส ลภเต สุขํ ฯ ๑๓๒ ฯ

สัตว์ทั้งหลายล้วนต้องการความสุข 
ผู้ที่ต้องความสุขแก่ตน 
ไม่เบียดเบียนสัตว์อื่น 
ตายไปแล้วย่อมได้รับความสุข

Whoso, himself seeking happiness, 
Harms not pleasure-loving being- 
He gets happiness 
In the world to come.

มาโวจ ผรุสํ กญฺจิ 
วุตฺตา ปฏิวเทยฺยุ ตํ 
ทุกฺขา หิ สารมฺภกถา 
ปฏิทณฺฑา ผุเสยฺยุ ตํ ฯ ๑๓๓ ฯ

อย่ากล่าวคำหยาบแก่ใครๆ 
เมื่อถูกท่านด่าว่า เขาจะโต้ตอบท่าน 
การพูดจากร้าวร้าวกันเป็นเหตุก่อทุกข์ 
อาจลุกลามถึงขั้นลงมือประทุษร้ายกัน

Speak not harshly to anyone. 
Those thus addressed will retort. 
Painful, indeed, is vindictive speech. 
Blows in exchange may bruise you.
๖. สเจ เนเรสิ อตฺตานํ 
กํโส อุปหโต ยถา 
เอส ปตฺโตสิ นิพฺพานํ 
สารมฺโภ เต น วิชฺชติ ฯ ๑๓๔ ฯ
ถ้าเธอทำตนให้เงียบเสียงได้ 
เหมือนฆ้องแตก 
ก็นับว่าเธอเข้าถึงนิพพานแล้ว 
เธอก็จะไม่ต้องทะเลาะเบาะแว้งกับใครอีก

If you silence yourself 
As a broken gong, 
You have already attained Nibbana. 
No contention will be found in you.
๗. ยถา ทณฺเฑน โคปาโล 
คาโว ปาเชติ โคจรํ 
เอวํ ชรา จ มจฺจุ จ 
อายุํ ปาเชนฺติ ปาณินํ ฯ ๑๓๕ ฯ

ความแก่และความตาย 
ไล่ต้อนอายุสัตว์ทั้งหลายไป 
เหมือนเด็กเลี้ยงโค ถือท่อนไม้ 
คอยไล่ต้อนฝูงโคไปสู่ที่หากิน

As with a staff the cowherd drives 
His cattle out to pasture-ground, 
So do old age and death comple 
The life of beings (all around).
8. อถ ปาปานิ กมฺมานิ 
กรํ พาโล น พุชฺฌติ 
เสหิ กมฺเมหิ ทุมฺเมโธ 
อคฺคิทฑฺโฒว ตปฺปติ ฯ136

คนพาล เวลาทำชั่ว 
หาสำนึกถึงผลของมันไม่ 
คนทรามปัญญามีกเดือดร้อน 
เพราะกรรมชั่วของตัว 
เหมือนถูกไฟไหม้

When a fool does wicked deeds, 
He does not know their future fruit. 
The witless one is tormented by his own deeds 
As if being burnt by fire.

9. โย ทณฺเฑร อทณฺเฑสุ 
อปฺปทุฎฺเฐสุ ทุสฺสติ 
ทสนฺนมญฺญตรํ ฐานํ 
ขิปฺปเมว นิคจฺฉติ ฯ137

ผู้ทำร้ายลงทัณฑ์แก่บุคคล 
ผู้ไม่เบียดเบียน ไม่ทำร้ายใคร 
ย่อมได้รับผลสนองสิบอย่าง 
อย่างใดอย่างหนึ่งทันตาเห็น

He who inflicts pnishment on those 
Who are harmless and who offend no one 
Speedily comes to one of these ten states;
10. เวทนํ ผรุสํ ชานึ 
สรีรสฺส จ เภทนํ 
ครุกํ วาปิ อาพาธํ 
จิตฺตกฺเขปํว ปาปุเณ ฯ138

ได้รับเวทนาอย่างรุนแรง 
ได้รับความเสท่อมเสีย 
ถูกทำร้ายร่างกาย 
เจ็บป่วยอย่างหนัก 
กลายเป็นคนวิกลจริต

To grievous bodily pain, 
To disaster, 
To bodily injury, 
To serious illness, 
To loss of mind, 
Will he come.

11. ราชโต วา อุปสคฺคํ 
อพฺภกฺขานํ ว ทารุณํ 
ปริกฺขยํ ว ญาตีนํ 
โภคานํ ว ปภงฺคุณํ ฯ139

ต้องราชภัย 
ถูกกล่าวหาอย่างรุนแรง 
ไร้ญาติพี่น้อง 
ทรัพย์สมบัติก็พินาศฉิบหาย

To oppression by the king, 
to grave accusation, 
To loss of relatives, 
To destruction of wealth, 
(will he come).

12. อถวาสฺส อคารานิ 
อคฺคิ ฑหติ ปาวโก 
กายสฺส เภทา ทุปฺปญฺโญ 
นิรยํ โส อุปปชฺชติ ฯ140

หรือไม่บ้านเรือนของเขาย่อมถูกไฟไหม้ 
ตายไป เขาผู้ทรามก็ตกนรก

Or his house will be burnt up with fire, 
And that unwise one will pass to hell 
In the world to come.

13. น นคฺคจริยา น ชฎา น ปงฺกา 
นานาสกา ตณฺฑิลสายิกา วา 
รโชชลฺลํ อุกฺกุฎิกปฺปธานํ 
โสเธนฺติ มจฺจํ อวิติณฺณกงฺขํ ฯ141

ไม่ใช่ประพฤติตนเป็นชีเปลือย ไม่ใช่มุ่นชฏา 
ไม่ใช่เอาโคลนทาร่างกาย ไม่ใช่การอดอาหาร 
ไม่ใช่นอนบนดิน ไม่ใช่คลุกฝุ่นธุลี ไม่ใช่นั่งกระโหย่ง 
ที่ทำให้คนผู้ยังไม่ข้ามพ้นความสงสัย บริสุทธิ์

Not nakedness, nor matted hair, 
Nor dirt,nor fasting, 
Nor llying on the ground, 
Nor besmearing oneself with ashes, 
Nor squatting on the heels, 
Can purity a mortal 
Who has not overcome doubts.

14. อลงฺกโต เจปิ สมํ จเรยฺย 
สนฺโต ทนฺโต นิยโต พฺรหฺมจานี 
สพฺเพสุ ภูเตสุ นิธาย ทณฺฑํ 
โส พฺรามหฺมโณ โส สมโณ ส ภิกขุ ฯ142

ถึงจะแต่งกายแบบใด ๆ ก็ตาม 
ถ้าใจสงบระงับ ควบคุมตัวได้ 
มั่นคง บริสุทธิ์ ไม่เบียดเบีนคนอื่น 
เรียกว่า พราหมณ์ สมณะ หรือ ภิกษุ

In whatever he be decked, 
If yet he cultivates traquilty of mind, 
Is calm, controlled, certain and chaste, 
And has ceased to injure all other beings, 
He is indeed, a brahmana, a samana, a bhikkhu.

15. หิรีนิเสโธ ปุริโส 
โกจิ โลกสฺมึ วิชฺชติ 
โย นิทฺทํ อปโพเธติ 
อสฺโส ภทฺโร กสามิว ฯ153

ผู้หักห้ามใจไม่ทำชั่วเพราะละอายบาป 
หาได้น้อยนักในโลกนี้ 
คนเช่นนี้ย่อมปลุกตัวเองจากหลับอยู่เสมอ 
เหมือนม้าดี ระวังตัวเองให้พ้นแส้
Rarely is found in this world anyone 
Who is restrained by shame and wide-awake, 
As a thoroughbred horse avoids the whip.

16. อสฺโส ยถา ภทฺโร กสานิวิฎฺโฐ 
อาตาปิโน สํเวคิโน ภวาถ 
สทฺธาย สีเลน จ วีริเยน จ 
สมาธินา ธมฺมวินิจฺฉเยน จ 
สมฺปนฺนวิชฺชาจรณา ปฎิสฺสตา 
ปหิสฺสถ ทุกฺขมิทํ อนุป์ปกํ ฯ144

ธรรมดาม้าดี เมื่อถูกลงแส้ครั้งหนึ่ง ย่อมสำนึก 
(ความผิดครั้งแรก)และพยายาม(วิ่งให้เร็ว) 
พวกเธอก็จงทำตนเช่นนั้น อาศัยศรัทธาศีล, 
ความเพียรมสมาธิการวินิจฉัยธรรมความสมบูรณ์ด้วย 
ความรู้และความประพฤติม และอาศัยสติ 
พวกเธอจักละทุกข์ได้ไม่น้อยเลย

Even as a thoroughbred horse once touched by the whip 
Becomes agitated and exerts himself greatly, 
So be strenuous and filled with religious emotion, 
By confidance, virtue, effort and concentration, 
By the investigation of the Doctrine, 
By being endowed with knowledge and conduct 
And by keeping your mind alert, 
Will you leave this great suffering behind.

17. อุทกํ หิ นยนฺติ เนตฺติกา 
อุสุการา นมยนฺติ เตชนํ 
ทารุํ นมยนฺติ ตจฺฉกา 
อตฺตานํ ทมยนฺติ สุพฺพตา ฯ145

ชาวนา ไขน้ำเข้านา 
ช่าวศร ดัดลูกศร 
ช่างไม้ ถากไม้ 
คนดี ฝึกตนเอง

Irrigaors lead water; 
Fletchers fashion shafts; 
Carpenters bend wood; 
The good tame themselves.

�ห� k/� � б � ��่ ดีหรือไม่ดี
ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์

He who in this world
Takes not what is not given,
Be it long or short,
Small or great, fair or foul-
Him do I call a brahmana.
๒๘. อาสา ยสฺส น วิชฺชนฺติ
อสฺมึ โลเก ปรมฺหิ จ
นิราสยํ วิสํยุตฺตํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๑๐ ฯ
ผู้ใดไม่มีความอยาก
ในโลกนี้และโลกหน้า
หมดกิเลส เป็นอิสระ
ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์
He who has no longing
Either for this world or nexto world,
Who is detached and emancipated-
Him do I call a brahmana.
๒๙. ยสฺสาลยา น วิชฺชนฺติ
อญฺญาย อกถํกถี
อมโตคธํ อนุปฺปตฺตํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๑๑ ฯ
ผู้ใดหมดตัณหา
หมดสงสัย เพราะรู้แจ้งจริง
ลุถึงอมตนิพพานแล้ว
ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์
He who has no more longing,
Who through knowledge is free from doubts,
Who has plunged deep into the Deathless-
Him do I call a brahmana.
๓๐. โยธ ปุญฺญญฺจ ปาปญฺจ
อุโภ สงฺคํ อุปจฺจคา
อโสกํ วิรชํ สุทฺธํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๑๒ ฯ
ผู้ละบุญละบาปได้
พ้นกิเลสผูกพัน
ไม่โศก ไม่มีกิเลส บริสุทธิ์
เราเรียกว่า พราหมณ์
He who has passed beyond
Good and bad and attachment,
Who is sorrowless, stainless and pure-
Him do I call a brahmana.

๓๑. จนฺท ว วิมลํ สุทฺธํ
วิปฺปสนฺนํ อนาวิลํ
นนฺทิภวปริกฺขีณํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๑๓ ฯ
ผู้บริสุทธิ์ เหมือนจันทร์แจ่ม สงบ
ผ่องใส หมดความพอใจในภพ
เราเรียกว่า พราหมณ์
He who is pure as the spotless moon,
He who is serene and clear,
He who has ended delight in existence-
Him do I call a brahmana.
๓๒. โย อิมํ ปลิปถํ ทุคฺคํ
สํสารํ โมหมจฺจคา
ติณฺโณ ปารคโต ฌายี
อเนโช อกถํกถี
อนุปาทาย นิพฺพุโต
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๑๔ ฯ
ผู้ข้ามสงสารวัฏ และโมหะ
อันเป็นทางหล่มที่ข้ามได้แสนยากนี้
ลุถึงฝั่งโน้น เป็นนักกรรมฐาน
หมดตัณหา หมดความสงสัย
หมดความยึดมั่น บรรลุนิพพาน
เราเรียกว่า พราหมณ์
He who has passed beyond
This quagmire, this difficult path,
The ocean (of life) and delusion,
Who has crossed and gone beyond,
Who is meditative, desireless and doubtless,
Who, clinging to nought, has attained Nibbana-
Him do I call a brahmana.
๓๓. โยธ กาเม ปหตฺวาน
อนาคาโร ปริพฺพเช
กามภวปริกฺขีณํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ๔๑๕ ฯ
ผู้ละกามารมณ์
ออกบวชไม่มีเรือน
หมดความใคร่ในภพ
เราเรียกว่า พราหมณ์
He who, giving up sensual pleasures,
Would renounce and become a homeless one,
Who has removed the lust of becoming-
Him do I call a brahmana.
๓๔. โยธ ตณฺหํ ปหตฺวาน
อนาคาโร ปริพฺพเช
ตณฺหาภวปริกฺขีณํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๑๖ ฯ
ผู้ละตัณหา
ออกบวชไม่มีเรือน
หมดความอยากในภพ
เราเรียกว่า พราหมณ์
He who, giving up craving,
Would renounce and become a homeless one,
Who has destroyed the craving for existence-
Him do I call a brahmana.
๓๕. หิตฺวา มานุสกํ โยคํ
ทิพฺพํ โยคํ อุปจฺจคา
สพฺพโยควิสํยุตฺตํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๑๗ ฯ
ผู้ละเครื่องผูกพัน
ทั้งของมนุษย์และเทวดา
หมดเครื่องผูกพันทุกชนิด
คนเช่นนี้เราเรียกว่า พราหมณ์
He who, discarding human ties,
And transcending celestial ties,
Is completely freed from all ties-
Him do I call a brahmana.
๓๖. หิตฺวา รติญฺจ อรติญฺจ
สีติภูตํ นิรูปธึ
สพฺพโลกาภิภุํ วีรํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๑๘ ฯ
ผู้ละความยินดีและความไม่ยินดี
เย็นสนิท หมดอุปธิ (กิเลส)
อาจหาญ ชนะโลกทั้งมวล
เราเรียกว่า พราหมณ์
He who has given up delight and aversion,
Who is cooled and without attachments,
Strenous and victorious over the world-
Him do I call a brahmana.
๓๗. จุตึ โย เวทิ สตฺตานํ
อุปปตฺติญฺจ สพฺพโส
อสตฺตํ สุคตํ พุทฺธํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๑๙ ฯ
ผู้รู้จุติ และปฏิสนธิ
ของสัตว์ทั้งหลายโดยละเอียด
ผู้ไม่ขัดข้อง ไปดี ตรัสรู้ธรรม
เราเรียกว่า พราหมณ์
He who perfectly understands
The rise and fall of all beings,
Who is detached, well-hone and enlightened-
Him do I call a brahmana.
๓๘. ยสฺส คตึ น ชานนฺติ
เทวา คนฺธพฺพมานุสา
ขีณาสวํ อรหนฺตํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๒๐ ฯ
เทวดา คนธรรพ์ และมนุษย์ทั้งหลาย
ไม่ทราบทางไปของผู้ใด
ผู้เป็นพระอรหันต์ ขีณาสพ
ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์
He whose way is unknown
To hods, gandharvas and men,
Who has destroyed all defilements
And who has become enlightened-
Him do I call a brahmana.
๓๙. ยสฺส ปุเร จ ปจฺฉา จ
มชุเฌ จ นตฺถิ กิญฺจนํ
อกิญฺจนํ อนาทานํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๒๑ ฯ
ผู้ไม่มีความยึดถือทั้งเบื้องต้น (อดีต)
ท่ามกลาง (ปัจจุบัน) ่ที่สุด (อนาคต)
ปราศจากความยึดมั่นถือมั่น
เราเรียกว่า พราหมณ์
He who clings not to the past,
The present and the future, too,
Who has no clinging and grasping-
Him do I call a brahmana.
๔๐. อุสภํ ปวรํ วีรํ
มเหสึ วิชิตาวินํ
อเนชํ นหาตกํ พุทฺธํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๑๒ ฯ
มหาฤาษีผู้องอาจ ประเสริฐ แกล้วกล้า
ชำนะ ปราศจากตัณหา
บริสุทธิ์ ตรัสรู้ธรรม
เราเรียกว่า พราหมณ์
The fearless, the noble, the hero,
The great sage, the conqueror,
The desireless, the pure, the enlightened-
Him do I call a brahmana.
๔๑. ปุพฺเพนิวาสํ โย เวทิ
สคฺคาปายญฺจ ปสฺสติ
อโถ ชาติกฺขยํ ปตฺโต
อภิญฺญาโวสิโต มุนิ
สพฺพโวสิตโวสานํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๒๓ ฯ
มุนี ผู้รู้อดีตชาติของตน
เห็นสวรรค์และอบาย
ไม่ต้องเกิดอีกต่อไป
รู้แจ้งเห็นจริง
บำเพ็ญหน้าที่บริบูรณ์แล้ว
เราเรียกว่า พราหมณ์

The sage who knows his previous births,
Who sees heaven and hell,
Who has reached the end of births,
Who has attained to insight-wisdom,
Who has completed his holy life-
Him do I call a brahmana. .

หมวดชรา - OLD AGE

๑. โกนุ หาโส กิมานนฺโท 
นิจฺจํ ปชฺชลิเต สติ 
อนฺธกาเรน โอนทฺธา 
ปทีปํ น คเวสถ ฯ ๑๔๖ ฯ

จะมัวร่าเริง สนุกสนานกันทำไม 
ในเมื่อโลกกำลังลุกเป็นไฟอยู่เนืองนิตย์ 
พวกเธอถูกความมืดมิดปิดบังตา 
ไยไม่แสวงหาแสงสว่างกันเล่า

What this laughter, what this joy 
When the world is ever on fire? 
Shrouded all about by darkness, 
Will you not then look for light?


๒. ปสฺส จิตฺตกตํ พิมฺพํ 
อรุกายํ สมุสฺสิตํ 
อาตุรํ พหุสงฺกปฺปํ 
ยสฺส นตฺถิ ธุวํ ฐิติ ฯ ๑๔๗ ฯ

จงดูร่างกายที่ว่าสวยงามนี้เถิด 
เต็มไปด้วยแผล สร้างขึ้นด้วยกระดูก 
มากด้วยโรค มากด้วยความคร่นคิดปรารถนา 
หาความยั่งยืนถาวรมิได้

Behold this beautiful body, 
A mass of sores, a bone-gathering, 
Diseased and full of hankerings, 
With no lasting, no persisting.

๓. ปริชิณฺษมิทํ รูปํ 
โรคนิฑฺฒํ ปภงฺคุณํ 
ภิชฺชติ ปูติสนฺเทโห 
มรณนฺตํ หิ ชีวิตํ ฯ ๑๔๘ ฯ


ร่างกายนี้แก่หง่อมแล้ว เป็นที่อาศัยของโรค 
แตกทำลายง่าย ร่างกายอันเน่าเหม็นนี้ 
จักแตกสลายพังภินท์ 
เพราะขีวิตสิ้นสุดลงที่ความตาย


Thoroughly worn out is this body, 
A net of diseases and very frail. 
This heap of corruption breaks to pieces. 
For life indeed ends in death.


๔. ยานีมานิ อปตฺถานิ 
อลาพูเนว สารเท 
กาโปตกานิ อฏฺฐีนิ 
ตานิ ทิสฺวาน กา รติ ฯ ๑๔๙ ฯ


กระดูกเหล่านี้ มีสีขาวเหมือนสีนกพิราบ 
ไม่เป็นที่ต้องการของใครๆ 
ดุจน้ำเต้าในฤดูสารท 
ดูแล้วไม่น่าปรารถนายินดี

As gourds are cast away in autumn, 
So are these dove-hued bones. 
What pleasure is there found 
For one who looks at them?


๕. อฏฺฐีนํ นครํ กตํ 
มํสโลหิตเลปนํ 
ยตฺถ ชรา จ มจฺจุ จ 
มาโน มกฺโข จ โอหิโต ฯ ๑๕๐ ฯ

ร่างกายนี้เป็น "อัฐินคร" (เมืองกระดูก) 
ฉาบด้วยเนื้อและโลหิต 
เป็นที่สถิตแห่ง ชรา มรณะ 
ความเย่อหยิ่ง และความดูถูกบุญคุณกัน

Of bones is this city made, 
Plastered with flesh and blood. 
Herein dwell decay and death, 
Pride and detraction.

๖. ชีรนฺติ เว ราชรถา สุจิตฺตา 
อโถ สรีรมฺปิ ชรํ อุเปติ 
สตญฺจ ธมฺโม น ชรํ อุเปติ 
สนฺโต หเว สพฺภิ ปเวทยนฺติ ฯ ๑๕๑ ฯ

ราชรถ อันวิจิตรงดงาม ยังเก่าได้ 
แม้ร่างกายของเรา ก็ไม่พ้นชราภาพ 
แต่ธรรมของสัตบุรุษหาแก่ไม่ 
สัตบุรุษทั้งหลาย ย่อมกล่าวสอนกันเช่นนี้แล

Splendid royal chariots wear away, 
The body too comes to old age. 
But the good's teaching knows not decay. 
Indeed, the good tech the good in this way.

๗. อปฺปสฺสุตายํ ปุริโส 
พลิวทฺโทว ชีรติ 
มํสานิ ตสฺส วฑฺฒนฺติ 
ปญฺญา ตสฺส น วฑฺฒติ ฯ ๑๕๒ ฯ

คนโง่แก่เปล่า 
เหมือนโคถึก 
มากแต่เนื้อหนังมังสา 
แต่ปัญญาหาเพิ่มขึ้นไม่


Just as the ox grows old, 
So ages he of little learning, 
His flesh increases, 
His wisdom is waning.


๘. อเนกชาติสํสารํ 
สนฺธาวิสฺสํ อนิพฺพิสํ 
คหการํ คเวสนฺโต 
ทุกฺขา ชาติ ปุนปฺปุนํ ฯ ๑๕๓ ฯ

เมื่อไม่พบนายช่างผู้สร้างเรือน 
เราได้เวียนว่ายตายเกิด 
ในสงสารนับชาติไม่ถ้วน 
การเกิดแล้วเกิดอีกเป็นทุกข์


Through many a birth 
I wandered in Samsara, 
Seeking but not finding the Housebuilder, 
Painful is birth ever again and again.

๙. คหการก ทิฏฺโฐสิ 
ปุน เคหํ น กาหสิ 
สพฺพา เต ผาสุกา ภคฺคา 
คหกูฏํ วิสงฺขตํ 
วิสงฺขารคตํ จิตฺตํ 
ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา ฯ ๑๕๔ ฯ

นายช่างเอย บัดนี้เราพบท่านแล้ว 
ท่านจะสร้างเรือนไม่ได้อีก 
จันทัน อกไก่ เราทำลายหมดแล้ว 
จิตของเราบรรลุนิพพาน 
หมดความทะยานอยากแล้ว

O Housebuilder, you have been seen, 
You shall not build the house again. 
Your rafters have been broken, 
Your ridge-pole demolished too. 
My mind has now attained the Unconditioned, 
And reached the end of all craving.

๑๐. อจริตฺวา พฺรหฺมจริยํ 
อลทฺธา โยพฺพเน ธนํ 
ชิณฺณโกญฺจาว ฌายนฺติ 
ขีณมจฺเฉว ปลฺลเล ฯ ๑๕๕ ฯ

เมื่อยังอยู่ในวัยหนุ่มสาว 
ไม่ทำตัวให้ดีและไม่หาทรัพย์ไว้ 
พอถึงวัยแก่เฒ่า พวกเขาย่อมนั่งซบเซา 
เหมือนนกกะเรียนแก่ 
จับเจ่าอยู่ริมสระที่ไร้ปลา

Having led neither a good life, 
Nor acquired riches while young, 
They pine away as aged herons 
Around a fishless pond.


๑๑. อจริตฺวา พฺรหฺมจริยํ 
อลทฺธา โยพฺพเน ธนํ 
เสนฺติ จาปาติขีณาว 
ปุราณานิ อนุตฺถุนํ ฯ ๑๕๖ ฯ

เมื่ออยู่ในวัยหนุ่มสาว 
ไม่ทำตัวให้ดี และไม่หาทรัพย์ไว้ 
พอถึงวัยแก่เฒ่า พวกเขาย่อมนอนทุกข์ 
ทอดถอนใจรำพึงถึงความหลัง 
เหมือนธนูหัก (ใช้ยิงอะไรก็ไม่ได้)


Having led neither a good life, 
Nor acquired riches while young, 
They lie about like broken bows, 
Sighing about the past.


หมวดชรา - OLD AGE

๑. โกนุ หาโส กิมานนฺโท 
นิจฺจํ ปชฺชลิเต สติ 
อนฺธกาเรน โอนทฺธา 
ปทีปํ น คเวสถ ฯ ๑๔๖ ฯ
จะมัวร่าเริง สนุกสนานกันทำไม 
ในเมื่อโลกกำลังลุกเป็นไฟอยู่เนืองนิตย์ 
พวกเธอถูกความมืดมิดปิดบังตา 
ไยไม่แสวงหาแสงสว่างกันเล่า
What this laughter, what this joy 
When the world is ever on fire? 
Shrouded all about by darkness, 
Will you not then look for light?

๒. ปสฺส จิตฺตกตํ พิมฺพํ 
อรุกายํ สมุสฺสิตํ 
อาตุรํ พหุสงฺกปฺปํ 
ยสฺส นตฺถิ ธุวํ ฐิติ ฯ ๑๔๗ ฯ
จงดูร่างกายที่ว่าสวยงามนี้เถิด 
เต็มไปด้วยแผล สร้างขึ้นด้วยกระดูก 
มากด้วยโรค มากด้วยความคร่นคิดปรารถนา 
หาความยั่งยืนถาวรมิได้
Behold this beautiful body, 
A mass of sores, a bone-gathering, 
Diseased and full of hankerings, 
With no lasting, no persisting.
๓. ปริชิณฺษมิทํ รูปํ 
โรคนิฑฺฒํ ปภงฺคุณํ 
ภิชฺชติ ปูติสนฺเทโห 
มรณนฺตํ หิ ชีวิตํ ฯ ๑๔๘ ฯ

ร่างกายนี้แก่หง่อมแล้ว เป็นที่อาศัยของโรค 
แตกทำลายง่าย ร่างกายอันเน่าเหม็นนี้ 
จักแตกสลายพังภินท์ 
เพราะขีวิตสิ้นสุดลงที่ความตาย

Thoroughly worn out is this body, 
A net of diseases and very frail. 
This heap of corruption breaks to pieces. 
For life indeed ends in death.

๔. ยานีมานิ อปตฺถานิ 
อลาพูเนว สารเท 
กาโปตกานิ อฏฺฐีนิ 
ตานิ ทิสฺวาน กา รติ ฯ ๑๔๙ ฯ

กระดูกเหล่านี้ มีสีขาวเหมือนสีนกพิราบ 
ไม่เป็นที่ต้องการของใครๆ 
ดุจน้ำเต้าในฤดูสารท 
ดูแล้วไม่น่าปรารถนายินดี
As gourds are cast away in autumn, 
So are these dove-hued bones. 
What pleasure is there found 
For one who looks at them?

๕. อฏฺฐีนํ นครํ กตํ 
มํสโลหิตเลปนํ 
ยตฺถ ชรา จ มจฺจุ จ 
มาโน มกฺโข จ โอหิโต ฯ ๑๕๐ ฯ
ร่างกายนี้เป็น "อัฐินคร" (เมืองกระดูก) 
ฉาบด้วยเนื้อและโลหิต 
เป็นที่สถิตแห่ง ชรา มรณะ 
ความเย่อหยิ่ง และความดูถูกบุญคุณกัน
Of bones is this city made, 
Plastered with flesh and blood. 
Herein dwell decay and death, 
Pride and detraction.
๖. ชีรนฺติ เว ราชรถา สุจิตฺตา 
อโถ สรีรมฺปิ ชรํ อุเปติ 
สตญฺจ ธมฺโม น ชรํ อุเปติ 
สนฺโต หเว สพฺภิ ปเวทยนฺติ ฯ ๑๕๑ ฯ
ราชรถ อันวิจิตรงดงาม ยังเก่าได้ 
แม้ร่างกายของเรา ก็ไม่พ้นชราภาพ 
แต่ธรรมของสัตบุรุษหาแก่ไม่ 
สัตบุรุษทั้งหลาย ย่อมกล่าวสอนกันเช่นนี้แล
Splendid royal chariots wear away, 
The body too comes to old age. 
But the good's teaching knows not decay. 
Indeed, the good tech the good in this way.
๗. อปฺปสฺสุตายํ ปุริโส 
พลิวทฺโทว ชีรติ 
มํสานิ ตสฺส วฑฺฒนฺติ 
ปญฺญา ตสฺส น วฑฺฒติ ฯ ๑๕๒ ฯ
คนโง่แก่เปล่า 
เหมือนโคถึก 
มากแต่เนื้อหนังมังสา 
แต่ปัญญาหาเพิ่มขึ้นไม่

Just as the ox grows old, 
So ages he of little learning, 
His flesh increases, 
His wisdom is waning.

๘. อเนกชาติสํสารํ 
สนฺธาวิสฺสํ อนิพฺพิสํ 
คหการํ คเวสนฺโต 
ทุกฺขา ชาติ ปุนปฺปุนํ ฯ ๑๕๓ ฯ
เมื่อไม่พบนายช่างผู้สร้างเรือน 
เราได้เวียนว่ายตายเกิด 
ในสงสารนับชาติไม่ถ้วน 
การเกิดแล้วเกิดอีกเป็นทุกข์

Through many a birth 
I wandered in Samsara, 
Seeking but not finding the Housebuilder, 
Painful is birth ever again and again.
๙. คหการก ทิฏฺโฐสิ 
ปุน เคหํ น กาหสิ 
สพฺพา เต ผาสุกา ภคฺคา 
คหกูฏํ วิสงฺขตํ 
วิสงฺขารคตํ จิตฺตํ 
ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา ฯ ๑๕๔ ฯ
นายช่างเอย บัดนี้เราพบท่านแล้ว 
ท่านจะสร้างเรือนไม่ได้อีก 
จันทัน อกไก่ เราทำลายหมดแล้ว 
จิตของเราบรรลุนิพพาน 
หมดความทะยานอยากแล้ว
O Housebuilder, you have been seen, 
You shall not build the house again. 
Your rafters have been broken, 
Your ridge-pole demolished too. 
My mind has now attained the Unconditioned, 
And reached the end of all craving.
๑๐. อจริตฺวา พฺรหฺมจริยํ 
อลทฺธา โยพฺพเน ธนํ 
ชิณฺณโกญฺจาว ฌายนฺติ 
ขีณมจฺเฉว ปลฺลเล ฯ ๑๕๕ ฯ
เมื่อยังอยู่ในวัยหนุ่มสาว 
ไม่ทำตัวให้ดีและไม่หาทรัพย์ไว้ 
พอถึงวัยแก่เฒ่า พวกเขาย่อมนั่งซบเซา 
เหมือนนกกะเรียนแก่ 
จับเจ่าอยู่ริมสระที่ไร้ปลา
Having led neither a good life, 
Nor acquired riches while young, 
They pine away as aged herons 
Around a fishless pond.

๑๑. อจริตฺวา พฺรหฺมจริยํ 
อลทฺธา โยพฺพเน ธนํ 
เสนฺติ จาปาติขีณาว 
ปุราณานิ อนุตฺถุนํ ฯ ๑๕๖ ฯ
เมื่ออยู่ในวัยหนุ่มสาว 
ไม่ทำตัวให้ดี และไม่หาทรัพย์ไว้ 
พอถึงวัยแก่เฒ่า พวกเขาย่อมนอนทุกข์ 
ทอดถอนใจรำพึงถึงความหลัง 
เหมือนธนูหัก (ใช้ยิงอะไรก็ไม่ได้)

Having led neither a good life, 
Nor acquired riches while young, 
They lie about like broken bows, 
Sighing about the past.

หมวดตน - THE SELF
๑. อตฺตานญฺเจ ปิยํ ชญฺญา 
รกฺเขยฺย นํ สุรกฺขิตํ 
ติณฺณมญฺญตรํ ยามํ 
ปฏิชคฺเคยฺย ปณฺฑิโต ฯ ๑๕๗ ฯ

ถ้ารู้ว่าตนเป็นที่รัก 
พึงรักษาตนไว้ให้ดี 
บัณฑิตควรประคับประคองตนไว้ 
ไม่ทั้งสามวัยใดวัยหนึ่ง

If one holds oneself dear, 
One should protect oneself well. 
During any of the three watches (of life) 
The wise should keep vigil.

๒. อตฺตานเมว ปฐมํ 
ปฏิรูเป นิเวสเย 
อถญฺญมนุสาเสยฺย 
น กิลิสฺเสยฺย ปณฺฑิโต ฯ ๑๕๘ ฯ


ควรปฏิบัติตนให้ดีก่อน 
แล้วค่อยสอนคนอื่น 
บัณฑิตเมื่อทำได้อย่างนี้ 
จึงจะไม่สร้างมลทินแก่ตน

One should first establish oneself 
In what is proper, 
And then instruct others. 
A wise man who acts in this way 
Shall never get defiled.

๓. อตฺตานญฺเจ ตถา กยิรา 
ยถญฺญมนุสาสติ 
สุทนฺโต วต ทเมถ 
อตฺตา หิ กิร ทุทฺทโม ฯ ๑๕๙ ฯ

สอนคนอื่นอย่างใด 
ควรทำตนอย่างนั้น 
ฝึกตนเองแล้วค่อยฝึกคนอื่น 
เพราะตัวเราเองฝึกยากยิ่งนัก

As he instructs others 
He should himself act. 
Himself fully controlled, 
He should control others. 
Difficult indeed is to control oneself.


๔. อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ 
โก หิ นาโถ ปโร สิยา 
อตฺตนา หิ สุทนฺตน 
นาถํ ลภติ ทุลฺลภํ ฯ ๑๖๐ ฯ


เราต้องพึ่งตัวเราเอง 
คนอื่นใครเล่าจะเป็นที่พึ่งได้ 
บุคคลผู้ฝึกตนดีแล้ว 
ย่อมได้ที่พึ่งที่ได้แสนยาก

Oneself ideeed is master of oneself, 
Who else could other master be? 
With oneself perfectedly trained, 
One obtains a refuge hard to gain.


๕. อตฺตนาว กตํ ปาปํ 
อตฺรชํ อตฺตสมฺภวํ 
อภิมตฺถติ ทุมฺเมธํ 
วชิรํวมฺหยํ มณึ ฯ ๑๖๑ ฯ

บาปที่ตนทำเอง เกิดในตนเอง 
และตนเองเป็นผู้สร้างไว้ 
ย่อมทำลายคนโง่ให้ย่อยยับ 
เหมือนเพชร ทำลายแก้วมณี

The evil, done by oneself, 
Self-begotten and self-produced, 
Crushes the witless one, 
As the diamond grinds a hard gem.


๖. ยสฺส อจฺจนฺตทุสฺสีลฺยํ 
มาลุวา สาลมิโวตฺถตํ 
กโรติ โส ตถตฺตานํ 
ยถา นํ อิจฺฉตี ทิโส ฯ ๑๖๒ ฯ


คนทุศีล ก็เหมือนกับต้นไม้ 
ที่เถาวัลย์ขึ้นจนรก 
เขาทำตัวให้วอดวายเอง 
มิจำต้องรอให้ศัตรูมาคอยกระทำให้


An exceedingly corrupted man is like 
A creeper strangling a tree. 
Surely, he does unto himself 
What his enemy would wish for him.


๗. สุกรานิ อสธูนิ 
อตฺตโน อหิตานิ จ 
ยํ เว หิตญฺจ สาธุญฺจ 
ตํ เว ปรมทุกฺกรํ ฯ ๑๖๓ ฯ

กรรมไม่ดี ทั้งไม่มีประโยชน์แก่ตน ทำง่าย 
แต่กรรมดีและมีประโยชน์ ทำได้ยากยิ่ง

Easy to do are those karmas 
Which are bad and not benefitting oneself. 
But those which are good and beneficial 
Are dificult indeed to be performed.

๘. โย สาสนํ อรหตํ 
อริยานํ ธมฺมชีวินํ 
ปฏิกฺโกสติ ทุมฺเมโธ 
ทิฏฺฐึ นิสฺสาย ปาปิกํ 
ผลานิ กณฺฏกสฺเสว 
อตฺตฆญฺญาย ผลฺลติ ฯ ๑๖๔ ฯ

คนทรามปัญญา มีความเห็นผิด ติเตียนคำสอน 
ของเหล่าพระอริยะผู้อรหันต์ ผู้มีชีวิตอยู่โดยธรรม 
เขาย่อมเกิดมาเพื่อฆ่าตัวเขาเอง 
เหมือนชุยไผ่ฆ่าต้นไผ่ฉะนั้น

Whoso on account of false views 
Scorns the teaching of the Noble Ones, 
The Worhty and Righteous Ones. 
He, the foolish man, destroys himself 
Like the bamboo, seeding, finds its end.

๙. อตฺตนาว กตํ ปาปํ 
อตฺตนา สงฺกิลิสฺสติ 
อตฺตนา อกตํ ปาปํ 
อตฺตนาว วิสุชฺฌติ 
สุทฺธิ อสุทฺธิ ปจฺจตฺตํ 
นาญฺโญ อญฺญํ วิโสธเย ฯ ๑๖๕ ฯ

ตนทำบาปเอง ตนก็เศร้าหมองเอง 
ตนไม่ทำบาปตนก็บริสุทธิ์เอง 
ความบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์เป็นของเฉพาะตน 
คนอื่นจะให้คนอื่นบริสุทธิ์แทนไม่ได้

By oneself is evil done, 
By oneself does one get defiled. 
By oneself is evil left undone, 
By oneself is one purified. 
Purity or impurity depends on oneself, 
No one can purify anther.

๑๐. อตฺตทตฺถํ ปรตฺเถน 
พหุนาปิ น หาปเย 
อตฺตทตฺถมภิญฺญาย 
สทตฺถปสุโต สิยา ฯ ๑๖๖ ฯ


ถึงจะทำประโยชน์แก่คนอื่นมากมาย 
ก็ไม่ควรละทิ้งจุดหมายปลายทางของตน 
เมื่อรู้ว่าอะไรคือจุดหมายปลายทางของตนแล้ว 
ก็ควรใฝ่ใจขวนขวาย

Fall not away from one's own purpose 
For the sake of another, however great, 
When once one has seen one's own goal, 
One should hold to it fast and firm.


หมวดโลก - THE WORLD

๑. หีนํ ธมฺมํ น เสเวยฺย
ปมาเทน น สํวเส
มิจฺฉาทิฏฺฐึ น เสเวยฺย
น สิยา โลกวฑฺฒโน ฯ ๑๖๗ ฯ
อย่าประพฤติสิ่งเลวทราม
อย่าอยู่ด้วยความประมาท
อย่ายึดถือความเห็นผิด
อย่าทำตนเป็นคนรกโลก

Do not follow mean things.
Do not live in heedlessness.
Do not embrace false views,
Do not be a 'world-upholder'.
๒. อุตฺติฏฺเฐ นปฺปมชฺเชยฺย
ธมฺมํ สุจริตํ จเร
ธมฺมจารี สุขํ เสติ
อสฺมึ โลเก ปรมฺหิ จ ฯ ๑๖๘ ฯ

ลุกขึ้นเถิด อย่ามัวประมาทอยู่เลย
จงประพฤติสุจริตธรรม
เพราะผู้ประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุข
ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า

Arise! Be not negligent!
Lead a righteous life.
For one who lives a righteous life
Dwells in peace here and hereafter.

๓. ธมฺมญฺจเร สุจริตํ
น ตํ ทุจฺจริตํ จเร
ธมฺมจารี สุขํ เสติ
อสฺมึ โลเก ปรมฺหิ จ ฯ ๑๖๙ ฯ

จงประพฤติสุจริตธรรม
อย่าประพฤติทุจริต
ผู้ประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุข
ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
By Dharma should one lead one's life
And not embrace corrupted means.
For one who lives a Dharma life
Dwells in peace here and hereafter.

๔. ยถา พุพฺพุฬกํ ปสฺเส
ยถา ปสฺเส มรีจิกํ
เอวํ โลกํ อเวกฺขนฺตํ
มจฺจุราชา น ปสฺสติ ฯ ๑๗๐ ฯ

ผู้ที่มองเห็นโลก
ว่าไม่จีรังและหาสาระอะไรมิได้
เช่นเดียวกับคนมองฟองน้ำและพยับแดด
คนเช่นนี้พญามารย่อมตามหาไม่พบ

Whoso would look upon the world
Just as one would see a bubble,
And as one would view a mirage-
Him the King of Death finds not.
๕. เอถ ปสฺสถิมํ โลกํ
จิตฺตํ ราชรถูปมํ
ยตฺถ พาลา วิสีทนฺติ
นตฺถิ สงฺโค วิชานตํ ฯ ๑๗๑ ฯ
สูเจ้าทั้งหลาย จงมาเถิดมาดูโลกนี้
อันวิจิตรพิสดาร เหมือนกับราชรถทรง
ณ ที่นี่แหละ เหล่าคนโง่พากันหมกมุ่นอยู่
แต่ผู้รู้หาติดข้องอยู่ไม่
Come you all and behold this world
Like an ornamented royal chariot,
Wherein the fools are deeply sunk.
But for those who know there is no bond.
๖. โย จ ปุพฺเพ ปมชฺชิตฺวา
ปจฺฉา โส นปฺปมชฺชติ
โสมํ โลกํ ปภาเสติ
อพฺภา มุตฺโตว จนฺทิมา ฯ ๑๗๒ ฯ
ผู้ที่เคยประมาทในกาลก่อน
แต่ภายหลังไม่ประมาท
เขาย่อมส่องโลกนี้ให้สว่าง
เหมือนพระจันทร์ที่พ้นจากเมฆ
Whoso was previously negligent
But afterwards practises vigilance-
He illumines the world here and now
Like the moon emerging from the cloud.

๗. ยสฺส ปาปํ กตํ กมฺมํ
กุสเลน ปหียติ
โสมํ โลกํ ปภาเสติ
อพฺภา มุตฺโต จนฺทิมา ฯ ๑๗๓ ฯ

ผู้ใดทำบาปไว้แล้ว
ละได้ด้วยการทำดี
ผู้นั้นย่อมส่องโลกนี้ให้สว่าง
เหมือนพระจันทร์ที่พ้นจากเมฆ

Who by his wholesome deeds
Removes the evil done-
He illumines the workd here and now
Like the moon emerging from the cloud.

๘. อนฺธภูโต อยํ โลโก
ตนุเกตฺถ วิปสฺสติ
สกุนฺโต ชาลมุตฺโตว
อปฺโป สคฺคาย คจฺฉติ ฯ ๑๗๔ ฯ
โลกนี้ มืดมน น้อยคนจักเห็นแจ้ง
น้อยคน จะไปสวรรค์
เหมือนนกติดข่ายนายพราน
น้อยตัวจะหลุดรอดไปได้

Blind is this world,
Few are they who clearly see.
As the birds escaping from a net,
Few are they who go to heaven.

๙. หํสาทิจฺจปเถ ยนฺติ
อากาเส ยนฺติ อิทฺธิยา
นียนฺติ ธีรา โลกมฺหา
เชตฺวา มารํ สวาหนํ ฯ ๑๗๕ ฯ
พระยาหงส์ เหินฟ้าไปหาพระอาทิตย์
ผู้มีฤทธิ์ เหาะเหินเดินอากาศ
นักปราชญ์ ออกไปจากโลก
เพราะเอาชนะพญามารพร้อมทั้งกองทัพ

Swans fly on the path of the sun,
Magicians pass through the air.
The wise go forth out of the world,
Having conquered Mara with all his troop.

๑๐. เอกธมฺมมตีตสฺส
มุสาวาทิสฺส ชนฺตุโน
วิติณฺณปรโลกสฺส
นตฺถิ ปาปํ อการิยํ ฯ ๑๗๖ ฯ

คนที่ล่วงศีลข้อที่สี่
มักพูดเท็จ ไม่คำนึงถึงปรโลก
จะไม่ทำความชั่ว ไม่มี

By him who breaks the fourth precept,
Who at all time speaks untruth,
Who regards not the world beyond,
There is no evil that cannot be done.

๑๑. น เว กทริยา เทวโลกํ วชนฺติ
พาลา หเว นปฺปสํสนฺติ ทานํ
ธีโร จ ทานํ อนุโมทมาโน
เตเนว โส โหติ สุขี ปรตฺถ ฯ ๑๗๗ ฯ
แน่นอน คนตระหนี่ไม่มีโอกาสไปเทวโลก
แน่นอน คนโง่ ไม่สรรเสริญการให้
แต่คนฉลาด ยินดีให้ทาน
นี่แลที่บันดาลให้เขาได้รับสุขในปรภพ

Verily, the misers go not to celestial realms.
Fools do not indeed praise liberality.
The wise, however, rejoice in giving
And thereby become happy hereafter.
๑๒. ปฐพฺยา เอกรชฺเชน
สคฺคสฺส คมเนน วา
สพฺพโลกาธิปจฺเจน
โสตาปตฺติผลํ วรํ ฯ ๑๗๘ ฯ
ยิ่งกว่า เอกราชย์ทั่วทั้งแผ่นดิน
ยิ่งกว่า ขึ้นสวรรคาลัย
ยิ่งกว่า อธิปไตยใดในโลกทั้งปวง
คือ พระโสดาปัตติผล
Than sole sovereignty over the earth,
Than going to celestial worlds,
Than lordship over all the worlds,
Better is the fruit of a Stream-Winner.

หมวดพระพุทธเจ้า - THE ENLIGHTENED ONE

๑. ยสฺส ชิตํ นาวชียติ 
ชิตมสฺส โน ยาติ โกจิ โลเก 
ตํ พุทฺธมนนฺตโคจรํ 
อปทํ เกน ปเทน เนสฺสถ ฯ ๑๗๙ ฯ

พระพุทธเจ้าพระองค์ใด 
ทรงชนะกิเลสได้เด็ดขาด 
กิเลสที่ทรงชนะแล้วไม่ติดตามพระองค์ไปอีก 
พระพุทธเจ้าองค์นั้น 
ทรงมีพระสัพพัญญุตญาณหาที่สุดมิได้ 
ไม่ไปตามทางของกิเลสแล้ว 
พวกเธอจะนำท่านไปตามทางไหนเล่า

Whose conquest is not turned into defeat, 
Whom not even a bit of conquered passion follows- 
That trackless Buddha of infinite range, 
By which way will you lead him?

๒. ยสฺส ชาลินี วิสตฺติกา 
ตณฺหา นตฺถิ กุหิญฺจิ เนตเว 
ตํ พุทฺธมนนฺตโคจรํ 
อปทํ เกน ปเทน เนสฺสถ ฯ ๑๘๐ ฯ
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด 
ไม่มีตัณหาดังตาข่าย อันมีพิษสงร้ายกาจ 
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น 
ทรงมีพระสัพพัญญุตญาณหาที่สุดมิได้ 
ไม่ไปตามทางของกิเลสแล้ว 
พวกเธอจะนำท่านไปตามทางไหนเล่า
Whom no entangling and poisonous 
Passions can lead astray- 
That trackless Buddha of infinite range, 
By which way will you lead him?

๓. เย ฌานปฺปสุตา ธีรา 
เนกฺขมฺมูปสเม รตา 
เทวาปิ เตสํ ปิหยนฺติ 
สมฺพุทฺธานํ สตีมตํ ฯ ๑๘๑ ฯ

เหล่าเทวดาย่อมรักธีรชน 
ผู้ขวนขวายในกรรมฐาน 
ยินดีในนิพพานอันสงบ 
มีสติและรู้แจ้งจบสัจธรรม

Absorbed in meditation pratice, 
Delighting in the peace of Nibbana 
Mindful, wise and fully enlightened- 
Such men even the gods hold dear.

๔. กิจฺโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ 
กิจฺฉํ มจฺจาน ชีวิตํ 
กิจฺฉํ สทฺธมฺมสฺสวนํ 
กิจฺโฉ พุทฺธานมุปฺปาโท ฯ ๑๘๒ ฯ

ยาก ที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ 
ยาก ที่ชีวิตสัตว์อยู่สบาย 
ยาก ที่จะได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ 
ยาก ที่พระสัมพุทธจะอุบัติมา

Hard is it to be born as a man, 
Hard is the life of mortals, 
Hard is it to hear the Truth Sublime, 
Hard as well is the Buddha's rise.

๕. สพฺพปาปสฺส อกรณํ 
กุสลสฺสูปสมฺปทา 
สจิตฺตปริโยทปนฺ 
เอตํ พุทฺธาน สาสนํ ฯ ๑๘๓ ฯ
ไม่ทำความชั่วทุกชนิด 
ทำแต่ความดี 
ทำใจให้ผ่องใส 
นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

Abstention from all evil, 
Cultivation of the wholesome, 
Purification of the heart; 
This is the Message of the Buddhas.

๖. ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา 
นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา 
น หิ ปพฺพฃิโต ปรูปฆาตี 
สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโต

ขันติคือความอดทน เป็นตบะอย่างยอด 
นิพพาน ท่านผู้รู้กล่าวว่าเป็นยอด 
ผู้ที่ยังทำร้ายผู้อื่นอยู่ ไม่จัดว่าเป็นบรรพชิต 
ผู้ที่ยังเบียดเบียนคนอื่นอยู่ ไม่จัดว่าเป็นสมณะ
Forbearance is the highest ascetic practice, 
'Nibbana is supreme'; say the Buddhas. 
he is not a 'gone forth' who harms another. 
He is not a recluse who molests another.
๗. อนูปวาโท อนูปฆาโต 
ปาฏิโมกฺเข จ สํวโร 
มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ 
ปนฺตญฺจ สยนาสนํ 
อธิจิตฺเต จ อาโยโค 
เอตํ พุทฺธาน สาสนํ ฯ ๑๘๕ ฯ

ไม่ว่าร้ายใคร 
ไม่กระทบกระทั่งใคร 
ระมัดระวังในปาติโมกข์ 
บริโภคพอประมาณ 
อยู่ในสถานสงัด 
ฝึกหัดจิตให้สงบ 
นี้คือคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

To speak no ill, 
To do no harm, 
To observe the Rules, 
To be moderate in eating, 
To live in a secluded abode, 
To devote onself to meditation- 
This is the Message of the Buddhas.

๘. น กหาปณวสฺเสน 
ติตฺติ กาเมสุ วิชฺชติ 
อปฺปสฺสาทา ทุกฺขา กามา 
อิติ วิญฺญาย ปณฺฑิโต ฯ ๑๘๖ ฯ

๙. อปิ ทิพฺเพสุ กาเมสุ 
รตึ โส นาธิคจฺฉติ 
ตณฺหกฺขยรโต โหติ 
สมฺมาสมฺพุทฺธสาวโก ฯ ๑๘๗ ฯ
ถึงแม้เงินตราจะไหลมาดังห่าฝน 
ความอยากของคนก็หาอิ่มไม่ 
กามวิสัยทั้งหลายมีความสุขจริงๆน้อย 
เต็มไปด้วยความทุกข์สารพัด 
รู้ชัดดังนี้แล้ว สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 
ย่อมไม่ยินดีในกามารมณ์แม้ที่เป็นทิพย์ 
หากแต่ยินดีในทางสิ้นกิเลสตัณหา
Not in a rain of golden coins 
Is satisfaction to be found. 
' Of little joy, but painful are sensual pleasures'; 
Thus the wise man clearly comprehends. 
Even in the heavenly pleasures 
He finds no satisfaction. 
In the destruction of all desires, 
The Fully Awakened One's disciple delights.

๑๐. พหู เว สรณํ ยนฺติ 
ปพฺพตานิ วนานิ จ 
อารามรุกฺขเจตฺยานิ 
มนุสฺสา ภยตชุชิตา ฯ ๑๘๘ ฯ 
คนเป็นจำนวนมาก เมื่อภัยมาถึงตัว 
พากันยึดเอาสิ่งต่างๆเป็นที่พึ่ง 
อาทิ ภูเขา ป่าไม้ สวน 
ต้นไม้ และเจดีย์
Many men in their fear 
Betake themselves for a refuge 
To hills, woods, gardens 
Sacred trees and shrines.
๑๑. เนตํ โข สรณํ เขมํ 
เนตํ สรณมุตฺตมํ 
เนตํ สรณมาคมฺม 
สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ ฯ ๑๘๙ ฯ
นั่นมิใช่ที่พึ่งอันปลอดภัย 
นั่นมิใช่ที่พึ่งอันสูงสุด 
อาศัยที่พึ่งชนิดนั้น 
ก็ไม่พ้นทุกข์ทั้งปวงได้
Such a refuge is not secure, 
Such a refuge is not supreme. 
To such a refuge shoulf one go, 
One is not released from all sorrow.

๑๒. โย จ พุทฺธญฺจ ธมฺมญฺจ 
สงฺฆญฺจ สรณํ คโต 
จตฺตาริ อริยสจฺจานิ 
สมฺมปฺปญฺญาย ปสฺสติ ฯ ๑๙๐ ฯ
๑๓. ทุกฺขํ ทุกฺขสมุปฺปาทํ 
ทุกฺขสฺส จ อติกฺกมํ 
อริยญฺจฏฺฐงฺคิกํ มคฺคํ 
ทุกฺขูปสมคามินํ ฯ ๑๙๑ ฯ
ผู้ถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง 
ย่อมเห็นอริยสัจด้วยปัญญาชอบ คือ 
ทุกข์เหตุของทุกข์ความดับทุกข์ และ 
อริยมรรคมีองค์แปด อันเป็นทางดับทุกข์

He who takes refuge in 
The Buddha, the Dharma and the Sangha 
Sees with wisdom the Four Noble Truths: 
Suffering, 
The Cause of Suffering, 
The Cessation of Suffering, 
The Noble Eightfold Path leading to 
The Cessation of Suffering.

๑๔. เอตํ โข สรณํ เขมํ 
เอตํ สรณมุตฺตมํ 
เอตํ สรณมาคมฺม 
สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ ฯ ๑๙๒ ฯ
นั่นแลคือที่พึ่งอันปลอดภัย 
นั่นคือที่พึ่งอันสูงสุด 
คนเราอาศัยที่พึ่งชนิดนั้น 
ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวง
Such indeed is a refuge secure, 
Such indeed is a refuge supreme. 
To such a refuge should one go, 
One is released from all sorrow.
๑๕. ทุลฺลโภ ปุริสาชญฺโญ 
น โส สพฺพตฺถ ชายติ 
ยตฺถ โส ชายตี ธีโร 
ตํ กุลํ สุขเมธติ ฯ ๑๙๓ ฯ
บุรษอาชาไนย หาได้ยาก 
เขาย่อมไม่เกิดในตระกูลทั่วไป 
คนฉลาดเช่นนี้ เกิดในตระกูลใด 
ตระกูลนั้นย่อมเจริญรุ่งเรืองด้วยความสุข

Hard to find is the Man Supreme, 
He is not born everywhere. 
But where such a wise one is born, 
That family thrives happily.
๑๖. สุโข พุทฺธานมุปฺปาโท 
สุขา สทฺธมฺมเทสนา 
สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี 
สมคฺคานํ ตโป สุโข ฯ ๑๙๔ ฯ

การเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้าทั้งหลายให้เกิดสุข 
การแสดงพระสัทธรรมให้เกิดสุข 
ความพร้อมเพรียงของหมู่ให้เกิดสุข 
ความพยายามของหมู่ที่พร้อมเพรียงกันให้เกิดสุข

Happy is the birth of the Buddha, 
Happy is the preaching of the Sublime Dharma, 
Happy is the unity of the Sangha, 
Happy is the striving of the united ones.
๑๗. ปูชารเห ปูชยโต 
พุทฺเธ ยทิจ สาวเก 
ปปญฺจสมติกฺกนฺเต 
ติณฺณโสกปรทฺทเว ฯ ๑๙๕ ฯ
๑๘. เต ตาทิเส ปูชยโต 
นิพฺพุเต อกุโตภเย 
น สกฺกา ปุญฺญํ สงฺขาตุํ
อิเมตฺตมปิ เกนจิ ฯ ๑๙๖ ฯ
ผู้บูชาท่านที่ควรบูชา 
คือพระพุทธเจ้า หรือสาวกของพระพุทธเจ้า 
ผู้ล่วงพ้นกิเลสเครื่องขวางกั้น 
หมดโศกหมดปรเทวนา สงบระงับ 
ปลอดภัยโดยประการทั้งปวง 
ใครๆไม่สามารถจะคำนวณบุญของบุคคลผู้นี้ว่า 
"เขาได้บุญประมาณเท่านี้"
He who venerates those venerable ones, 
Be they the Buddhas or disciples; 
Those who have overcome obstacles 
And gone beyond distress and lamentation, 
Those who are serene and all-secure- 
No one is able to calculate 
His merit as 'such and such'.

หมวดความสุข - HAPPINESS

๑. สุสุขํ วต ชีวาม
เวริเนสุ อเวริโน
เวริเนสุ มนุสฺเสสุ
วิหราม อเวริโน ฯ ๑๙๗ ฯ

ในหมู่มนุษย์ ผู้จองเวรกัน
พวกเราไม่จองเวรใคร
ช่างอยู่สบายจริงหนอ
ในหมู่มนุษย์ผู้เต็มไปด้วยเวร
พวกเราอยู่อย่างปราศจากเวร

Happily indeed do we live
Unhating among those hating men.
Among many hate-filled men,
Thus we dwell unhating.

๒. สุสุขํ วต ชีวาม
อาตุเรสุ อนาตุรา
อาตุเรสุ มนุสฺเสสุ
วิหราม อนาตุรา ฯ ๑๙๘ ฯ


ในหมู่มนุษย์ ผู้มีกิเลส
พวกเราหมดกิเลสแล้ว
ช่างอยู่สุขสบายจริงหนอ
ในหมู่มนุษย์ ผู้มีกิเลส
พวกเราอยู่ปราศจากกิเลส


Happily indeed do we live
Not yearning among those who yearn.
Among many yearning men,
Thus we dwell unyearning.


๓. สุสุขํ วต ชีวาม
อุสฺสุกฺเกสุ อนุสฺสุกา
อุสฺสุกฺเกสุ มนุสฺเสสุ
วิหราม อนุสฺสุกา ฯ ๑๙๙ ฯ


ในหมู่มนุษย์ ผู้มีความกระวนกระวาย
พวกเราไม่กระวนกระวาย
ช่างอยู่เป็นสุขสบายจริงหนอ
ในหมู่มนุษย์ ผู้มีความกระวนกระวาย
พวกเราอยู่ปราศจากความกระวนกระวาย


Happily indeed do we live
Not anxious among those anxious men.
Among many anxious men,
Thus we dwell unanxious.


๔. สุสุขํ วต ชีวาม
เยสํ โน นตฺถิ กิญฺจนํ
ปีติภกฺขา ภวิสฺสาม
เทวา อาภสฺสรา ยถา ฯ ๒๐๐ ฯ

พวกเราไม่มีกิเลสเศร้าหมองใจ
ช่างอยู่สุขสบายจริงหนอ
พวกเรามีปีติเป็นภักษาหาร
เปรียบปานเหล่าอาภัสรพรหม


Happily indeed do we live-
We that call nothing our own.
Feeders on joy shall we be
Even as the Abhassara gods.


๕. ชยํ เวรํ ปสวติ
ทุกฺขํ เสติ ปราชิโต
อุปสนฺโต ชยปราชยํ ฯ ๒๐๑ ฯ


ผู้แพ้ย่อมก่อเวร
ผู้พ่ายย่อมอยู่เป็นทุกข์
ผู้ละความแพ้และความพ่ายเสีย
มีใจสงบระงับนั่นแหละเป็นสุข

The victor begets hate,
While the defeated lives in distress.
Happily the peaceful lives,
Having given up victory and defeat.


๖. นตฺถิ ราคสโม อคฺคิ
นตฺถิ โทสสโม กลิ
นตฺถิ ขนฺธสมา ทุกฺขา
นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ ฯ ๒๐๒ ฯ


ไม่มีไฟใดเสมอด้วยราคะ
ไมีมีโทษใดเสมอด้วยโทสะ
ไม่มีทุกข์ใดเสมอด้วยเบญจขันธ์
ไม่มีสุขใดเสมอด้วยความสงบ

No fire is there like lust,
No crime like hatred,
No ill like the Five Aggregates,
No higher bliss than Nibbana's peace.

๗. ชิฆจฺฉาปรมา โรคา
สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา
เอตํ ­ตฺวา ยถาภูตํ
นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ ฯ ๒๐๓ ฯ


ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง
สังขาร เป็นทุกข์อย่างยิ่ง
รู้ความจริงข้อนี้แล้ว
(คนฉลาด จึงทำพระนิพพานให้แจ้ง)
พระนิพพาน เป็นสุขอย่างยิ่ง


Of all diseases hunger is the greatest,
Of all pains the comp[ounded things,
Knowing this (the wise realize Nibbana)
Which is the bliss supreme.

๘. อาโรคฺยปรมา ลาภา
สนฺตุ&hibar;ฺปรมํ ธนํ
วิสฺสาสปรมา ­าตี
นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ ฯ ๒๐๔ ฯ

ความไม่มีโรค เป็นลาภอย่างยิ่ง
ความรู้จักพอ เป็นทรัพย์อย่างยิ่ง
ความไว้วางใจกัน เป็นญาติอย่างยิ่ง
พระนิพพาน เป็นสุขอย่างยิ่ง

Health is the highest gain,
Contentment is the greatest wealth,
Trustful are the best kinsmen,
Nibbana is the highest bliss.

๙. ปวิเวกรสํ ปิตฺวา
รสํ อุปสมสฺส จ
นิทฺทโร โหติ นิปฺปาโป
ธมฺมปีติรสํ ปิวํ ฯ ๒๐๕ ฯ

เมื่อได้ลิ้มรสแห่งวิเวก
และรสพระนิพพานอันสงบ
ได้ดื่มรสแห่งความอิ่มเอมในพระธรรม
บุคคลย่อมจะหมดบาป หมดทุกข์ร้อน

Having tasted the flavour of
Seclusion and Nibbana's peace,
Woeless and stainless becomes he,
Drinking the taste of the Dharma's joy.


๑๐. สาธุ ทสฺสนมริยานํ
สนฺนิวาโส สทา สุโข
อทสฺสเนน พาลานํ
นิจฺจเมว สุขี สิยา ฯ ๒๐๖ ฯ


การพบพระอริยเจ้าเป็นความดี
การอยู่ร่วมกับท่านให้เกิดสุขทุกเมื่อ
เมื่อไม่คบคนพาลเสียได้
คนเราพึงมีความสุขเป็นนิจนิรันดร์


Good is it to see the Noble Ones,
To dwell with them is happiness,
By not seeing foolish men,
One may ever be happy.


๑๑. พาลสงฺคตจารี หิ
ทีฆมทฺธาน โสจติ
ทุกฺโข พาเลหิ สํวาโส
อมิตฺเตเนว สพฺพทา
ธีโร จ สุขสํวาโส
ญาตีนํว สมาคโม ฯ ๒๐๗ ฯ


เพราะผู้คบคนพาล ย่อมเศร้าโศกนาน
การอยู่ร่วมกับคนพาลมีแต่ความทุกข์
เหมือนอยู่ร่วมกับศัตรู
การอยู่ร่วมกับนักปราญ์มีแต่ความสุข
เหมือนสมาคมของญาติ


Frequenting the company of fools
One surely grieves for long;
For association with fools is ever ill
Just as ever that of foes.
But to dwell with the wise is happiness
Just as relatives together met.


๑๒. ตสฺมา หิ
ธีรญฺจ ปญญญฺจ พหุสฺสุตญจ
โธรยฺหสีลํ วตวนฺตมริยํ
ตํ ตาทิสํ สปฺปุริสํ สุเมธํ
ภเชถ นกฺขตฺตปถํว จนฺทิมา ฯ ๒๐๘ ฯ


เพราะฉะนั้นจึงควรประพฤติตามผู้เป็นปราชญ์
ผู้เฉียบแหลม ศึกษาเล่าเรียนมาก มีศีลาจารวัตร
เรียบร้อย เป็นพระอริยะ เป็นสัตบุรุษ มีปัญญาดี
เหมือนพระจันทร์ไปตามทางของกลุ่มนักขัตฤกษ์


Therefore-
Him the intelligent, the wise, the learned,
The devout, the dutiful and the Noble One-
Such a wise and intelligent man
Should one ever follow
As the moon follows the track of stars.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น