หน้าเว็บ

ธรรมบทไทยอังกฤษ


หมวดความรัก - AFFECTIONS
๑. อโยเค ยุญฺชมตฺตานํ 
โยคสฺมิญฺจ อโยชนํ 
อตฺถํ หิตฺวา ปิยคฺคาหี 
ปิเหตตฺตานุโยคินํ ฯ ๒๐๙ ฯ 
พยายามในสิ่งที่ไม่ควรพยายาม 
ไม่พยายามในสิ่งที่ควรพยายาม 
ละเลยสิ่งที่เป็นประโยชน์ ติดอยู่ในปิยารมณ์ 
คนเช่นนี้ก็ได้แต่ริษยาผู้ที่พยายามช่วยตัวเอง
Exerting oneself in what should be shunned, 
Not exerting where one should exert, 
Rejecting the good and grasping at the pleasant, 
One comes to envy those who exert themselves.

๒. มา ปิเยหิ สมาคญฺฉิ 
อปฺปิเยหิ กุทาจนํ 
ปิยานํ อทสฺสนํ ทุกฺขํ 
อปฺปิยานญฺจ ทสฺสนํ ฯ ๒๑๐ ฯ
อย่าติดอยู่ในสิ่งที่เรารัก หรือไม่รัก 
การพลัดพรากจากสิ่งที่เรารัก เป็นทุกข์ 
การพบเห็นแต่สิ่งที่ไม่รัก ก็เป็นทุกข์
Be not attached to the beloved 
And never with the unbeloved. 
Not to meet the beloved is painful 
As also to meet with the unbeloved.

๓. ตสฺมา ปิยํ น กยิราถ 
ปิยาปาโย หิ ปาปโก 
คนฺถา เตสํ น วิชฺชนฺติ 
เยสํ นตฺถิ ปิยาปิยํ ฯ ๒๑๑ ฯ
เพราะฉะนั้น ไม่ควรรักสิ่งใด 
เพราะพลัดพรากจากของรัก เป็นทุกข์ 
ผู้ที่หมดความรักและความไม่รักแล้ว 
เครื่องผูกพัน ก็พลอยหมดไปด้วย
Therefore hold nothing dear, 
For separation from the beloved is painful. 
There are no bonds for those 
To whom nothing is dear or not dear.
๔. ปิยโต ชายเต โสโก 
ปิยโต ชายเต ภยํ 
ปิยโต วิปฺปมุตฺตสฺส 
นตฺถิ โสโก กุโต ภยํ ฯ ๒๑๒ ฯ

ที่ใดมีของรัก ที่นั่นมีโศก 
ที่ใดมีของรัก ที่นั่นมีภัย 
เมื่อไม่มีของรักเสียแล้ว 
โศกภัย ก็ไม่มี
From the beloved springs grief, 
From the beloved springs fear; 
For him who is free from the beloved 
There is neither grief nor fear.

๕. เปมโต ชายเต โสโก 
เปมโต ชายเต ภยํ 
เปมโต วิปฺปมุตฺตสฺส 
นตฺถิ โสโก กุโต ภยํ ฯ ๒๑๓ ฯ

ที่ใดมีความรัก ที่นั่นมีโศก 
ที่ใดมีความรัก ที่นั่นมีภัย 
เมื่อไม่มีความรักเสียแล้ว 
โศก ภัย ก็ไม่มี

From love springs grief, 
From love spring fear; 
For him who is free from love 
There is neither grief nor fear.

๖. รติยา ชายเต โสโก 
รติยา ชายเต ภยํ 
รติยา วิปฺปมุตฺตสฺส 
นตฺถิ โสโก กุโต ภยํ ฯ ๒๑๔ ฯ

ที่ใดมีความยินดี ที่นั่นมีโศก 
ที่ใดมีความยินดี ที่นั่นมีภัย 
เมื่อไม่มีความยินดีเสียแล้ว 
โศก ภัย ก็ไม่มี
From attachment springs grief, 
From attachment sprighs fear; 
For him who is free from attachment 
There is neither grief nor fear.

๗. กามโต ชายเต โสโก 
กามโต ชายเต ภยํ 
กามโต วิปฺปมุตฺตสฺส 
นตฺถิ โสโก กุโต ภยํ ฯ ๒๑๕ ฯ
ที่ใดมีความใคร่ ที่นั่นมีโศก 
ที่ใดมีความใคร่ ที่นั่นมีภัย 
เมื่อไม่มีความใคร่เสียแล้ว 
โศก ภัย ก็ไม่มี

From lust springs grief, 
From lust springs fear; 
For him who is free from lust 
There is neither grief nor fear.
๘. ตณฺหาย ชายเต โสโก 
ตณฺหาย ชายเต ภยํ 
ตณฺหาย วิปฺปมุตฺตสฺส 
นตฺถิ โสโก กุโต ภยํ ฯ ๒๑๖ ฯ

ที่ใดมีความทะยานอยาก ที่นั่นมีโศก 
ที่ใดมีความทะยานอยาก ที่นั่นมีภัย 
เมื่อไม่มีความทะยานอยากเสียแล้ว 
โศก ภัย ก็ไม่มี

From craving springs grief, 
From craving springs fear; 
For him who is free from craving 
There is neither grief no fear.
๙. สีลทสฺสนสมฺปนฺนํ 
ธมฺมฏฺฐํ สจฺจวาทินํ 
อตฺตโน กมฺมกุพฺพานํ 
ตํ ชโน กุรุเต ปิยํ ฯ ๒๑๗ ฯ
ผู้ประพฤติดี มีความเห็นถูกต้อง 
มั่นอยู่ในคลองธรรม พูดคำสัตย์ 
ปฏิบัติหน้าที่ของคนสมบูรณ์ 
คนย่อมเทิดทูนด้วยความรัก
He who is perfect in virtue and insight, 
Is established in the Dharma; 
Who speaks the truth and fulfills his won duty- 
Him do people hold dear.

๑๐. ฉนฺทชาโต อนกฺขาเต 
มนสา จ ผุโฏ สิยา 
กาเมสุ อปฺปฏิพทฺธจิตฺโต 
อุทฺธํโสโตติ วุจฺจติ ฯ ๒๑๘ ฯ
พระอนาคามีผู้ใฝ่พระนิพพาน 
สัมผัสผ่านผลสามด้วยใจ 
หมดปฏิพัทธ์รักใคร่ในกาม 
จึงได้สมญานามว่า "ผู้ทวนกระแส"

He who has developed a wish for Nibbana, 
He whose mind is thrilled 9with the Three Fruits), 
He whose mind is not bound by sensual pleasures, 
Such a person is called 'Upstream-bound One".

๑๑. จิรปฺปวาสึ ปุริสํ 
ทูรโต โสตฺถิมคตํ 
ญาติมิตฺตา สุหชฺชา จ 
อภินนฺทนฺติ อาคตํ ฯ ๒๑๙ ฯ
บุรษผู้จากไปนาน 
เมื่อกลับมาจากไพรัชสถานโดยสวัสดี 
ญาติ และมิตรสหายย่อมยินดีต้อนรับ

After a long absence 
A man returns home 
Safe and sound from afar, 
Kinsmen and friends gladly welcome him.

๑๒. ตเถว กตปุญฺญมฺปิ 
อสฺมา โลกา ปรํ คตํ 
ปุญฺญานิ ปฏิคณฺหนฺติ 
ปิยํ ญาตึว อาคตํ ฯ ๒๒๐ ฯ
บุญที่ได้ทำไว้ในโลกนี้ 
ย่อมต้อนรับผู้ที่จากไป 
เหมือนญาติที่รักมาจากที่ไกล 
ฝูงชนย่อมเต็มใจต้อนรับ

Likewise, good deeds well receive the doer 
Who has gone from here to the next world, 
As kinsmen receive a dear friend on his return.

หมวดความโกรธ - ANGER
๑. โกธํ ชเห วิปฺปชเหยฺย มานํ 
สํโยชนํ สพฺพมติกฺกเมยฺย 
ตํ นามรูปสฺมิมสชฺฒมานํ 
อกิญฺจนธํ นานุปตนฺติ ทุกฺขา ฯ ๒๒๑ ฯ 
ควรละความโกรธ และมานะ 
เอาชนะกิเลสเครื่องผูกมัดทุกชนิด 
ผู้ที่ไม่ติดอยู่ในรูปนาม หมดกิเลสแล้ว 
ย่อมคลาดแคล้วจากความทุกข์
One should give up anger and pride, 
One should overcome all fetters. 
Ill never befalls him who is passionless, 
Who clings not to Name and Form.

๒. โย เว อุปฺปติตํ โกธํ 
รถํ ภนฺตํว ธารเย 
ตมหํ สารถึ พฺรูมิ 
รสฺมิคฺคาโห อิตโร ชโน ฯ ๒๒๒ ฯ
ผู้ใดยับยั้งความโกรธที่เกิดขึ้นได้ทันที 
เหมือนสารถีหยุดรถที่กำลังแล่นไว้ได้ 
ผู้นั้นไซร้เราเรียกว่า "สารถี" 
ส่วนคนนอกนี้ได้ชื่อเพียง "ผู้ถือเชือก"
Whoso, as rolling chariot, checks 
His anger which has risen up- 
Him I call charioteer. 
Others merely hold the reins.

๓. อกฺโกเธน ชิเน โกธํ 
อสาธุํ สาธุนา ชิเน 
ชิเน กทริยํ ทาเนน 
สจฺเจนาลิกวาทินํ ฯ ๒๒๓ ฯ
พึงเอาชนะความโกรธ ด้วยความไม่โกรธ 
พึงเอาชนะความร้าย ด้วยความดี 
พึงเอาชนะคนตระหนี่ ด้วยการให้ 
พึงเอาชนะคนพูดพล่อย ด้วยคำสัตย์
Conquer anger by love, 
Conquer evil by good, 
Conquie the miser by liberality, 
Conquer the liar by truth.

๔. สจฺจํ ภเณ น กุชฺเฌยฺย 
ทชฺชา อปฺปมฺปิ ยาจิโต 
เอเตหิ ตีหิ ฐาเนหิ 
คจฺเฉ เทวาน สนฺติเก ฯ ๒๒๔ ฯ

ควรพูดคำสัตย์จริง ไม่ควรโกรธ 
แม้เขาขอเล็กๆน้อยๆ ก็ควรให้ 
ด้วยการปฏิบัติทั้งสามนี้ 
เขาก็อาจไปสวรรค์ได้
One should speak the truth. 
One should not give way to anger. 
If asked for little one should give. 
One may go, by these three means, 
To the presence of celestials.

๕. อหึสกา เย มุนโย 
นิจฺจํ กาเยน สํวุตา 
เต ยนฺติ อจฺจุตํ ฐานํ 
ยตฺถ คนฺตฺวา น โสจเร ฯ ๒๒๕ ฯ

พระมุนี ผู้ไม่เบียดเบียนใคร 
ควบคุมกายอยู่เป็นนิจศีล 
ย่อมไปยังถิ่นที่นิรันดร 
ที่สัญจรไปแล้ว ไม่เศร้าโศก
Those sages who are harmless 
And in body ever controlled 
Go to the Everlasting State 
Where gone they grieve no more.

๖. สทา ชาครมานานํ 
อโหรตฺตานุสิกฺขินํ 
นิพฺพานํ อธิมุตฺตานํ 
อฏฺฐํ คจฺฉนฺติ อาสวา ฯ ๒๒๖ ฯ
สำหรับท่านผู้ตื่นอยู่ตลอดเวลา 
สำเหนียกศึกษาทุกทิพาราตรี 
มีใจน้อมไปสู่พระนิพพาน 
อาสวะย่อมอันตรธานหมดสิ้น
Of those who are wide-awake 
And train themeselves by night and day 
Upon Nibbana ever intent- 
The defilements fade away.

๗. โปราณเมตํ อตุล 
เนตํ อชฺชตนามิว 
นินฺทนฺติ ตุณฺหิมาสีนํ 
นินฺทนฺติ พหุภาณินํ 
มิตภาณิมฺปิ นินฺทนฺติ 
นตฺถิ โลเก อนินฺทิโต ฯ ๒๒๗ ฯ
อตุลเอย เรื่องอย่างนี้มีมานานแล้ว 
มิใช่เพิ่งจะมีในปัจจุบันนี้ 
อยู่เฉยๆเขาก็นินทา 
พูดมาก เขาก็นินทา 
พูดน้อย เขาก็นินทา 
ไม่มีใครในโลก ที่ไม่ถูกนินทา
Not only today, O Atula, 
From days of old has this been so; 
Sitting silent-him they blame, 
Speaking too much-him they blame, 
Talking little-him they blame, 
There is no one in the world who is not blamed.
๘. น จาหุ น จ ภวิสฺสติ 
น เจตรหิ วิชฺชติ 
เอกนฺตํ นินฺทิโต โปโส 
เอกนฺตํ วา ปสํสิโต ฯ ๒๒๘ ฯ
ไม่ว่าในอดีต ปัจจุบัน อนาคต 
คนที่ถูกสรรเสริญ โดยส่วนเดียว 
หรือถูกนินทา โดยส่วนเดียว ไม่มี
There never was, and never will be, 
Nor is there now to be found 
A person who is wholly blamed 
Or wholly praised,

๙. ยญฺเจ วิญฺญู ปสํสนฺติ 
อนุวิจฺจ สุเว สุเว 
อจฺฉิทฺทวุตฺตึ เมธาวึ 
ปญฺญาสีลสมาหิตํ ฯ ๒๒๙ ฯ
๑๐. นิกฺขํ ชมฺโพนทสฺเสว 
โก ตํ นินฺทิตุมรหติ 
เทวาปิ นํ ปสํสนฺติ 
พฺรหฺมุนาปิ ปสํสิโต ฯ ๒๓๐ ฯ
นักปราชญ์พิจารณารอบคอบแล้ว 
จึงสรรเสริญผู้ใด ผู้ดำเนินชีวิตหาที่ติมิได้ 
ฉลาด สมบูรณ์ด้วยปัญญาและศีล 
ผู้นั้น เปรียบเสมือนแท่งทองบริสุทธิ์ 
ใครเล่าจะตำหนิเขาได้ คนเช่นนี้ 
แม้เทวดาก็ชม ถึงพรหม ก็สรรเสริญ
He whom the intelligent praise 
After careful examination, 
He who is of flawless life, wise, 
And endowed with knowledge and virtue- 
Who would dare to blame him 
Who is like refined gold? 
Even the gods praise him, 
By Brahma too he is admired.

๑๑. กายปฺปโกปํ รกฺเขยฺย 
กาเยน สํวุโต สิยา 
กายทุจฺจริตํ หิตฺวา 
กาเยน สุจริตํ จเร ฯ ๒๓๑ ฯ
พึงควบคุม ความคะนองทางกาย 
พึงสำรวม การกระทำทางกาย 
พึงละกายทุจริต 
ประพฤติกายสุจริต
One should guard against bodily hastiness, 
One should be restrained in body. 
Giving up bodily misconduct, 
One should be of good bodily conduct.

๑๒. วจีปโกปํ รกฺเขยฺย 
วาจาย สํวุโต สิยา 
วจีทุจฺจริตํ หิตฺวา 
วาจาย สุจริตํ จเร ฯ ๒๓๒ ฯ
พึงควบคุม ความคนองทางวาจา 
พึงสำรวม คำพูด 
พึงละวจีทุจริต 
ประพฤติวจีสุจริต
One should guard aginst hastiness in words, 
One should be restrained in words. 
Giving up verbal misconduct, 
One should be of good verbal conduct.

๑๓. มโนปโกปํ รกฺเขยฺย 
มนสา สํวุโต สิยา 
มโนทุจฺจริตํ หิตฺวา 
มนสา สุจริตํ จเร ฯ ๒๓๓ ฯ
พึงควบคุม ความคะนองทางใจ 
พึงสำรวม ความคิด 
พึงละมโนทุจริต 
ประพฤติมโนสุจริต
One should guard against hastiness of mind, 
One should be restrained in thought. 
Giving up mental misconduct, 
One should be of good mental conduct.

๑๔. กาเยน สํวุตา ธีรา 
อโถ วาจาย สํวุตา 
มนสา สํวุตา ธีรา 
เต เว สุปริสํวุตา ฯ ๒๓๔ ฯ
ผู้มีปัญญา ย่อมสำรวมกาย วาจา ใจ 
ท่านเหล่านั้น นับว่า ผู้สำรวมดีแท้จริง
The wise are restrained in deed, 
In speech too they are restrained, 
They are restrained in mind as well- 
Verily, they are fully restrained.

หมวดมลทิน - IMPURITY

๑. ปณฺฑุปลาโสว ทานิสิ 
ยมปุริสาปิ จ ตํ อุปฏฺฐิตา 
อุยฺโยคมุเข จ ติฏฺฐสิ 
ปาเถยฺยมฺปิ จ เต น วิชฺชติ ฯ ๒๓๕ ฯ


บัดนี้ เธอแก่ดังใบไม้เหลือง 
ยมทูตกำลังเฝ้ารออยู่ 
เธอกำลังจะจากไปไกล 
แต่เสบียงเดินทางของเธอไม่มี


Like a withered leaf are you now, 
Death's messangers wait for you. 
You are going to travel far away, 
But provision for your journey you have none.


๒. โส กโรหิ ทีปมตฺตโน 
ขิปฺปํ วายม ปณฺฑิโต ภว 
นิทฺธนฺตมโล อนงฺคโณ 
ทิพฺพํ อริยภูมิเมหิสิ ฯ ๒๓๖ ฯ


เธอจงสร้างที่พึ่งแก่ตนเอง 
รีบพยายามขวนขวายหาปัญญาใส่ตัว 
เมื่อเธอหมดมลทิน หมดกิเลสแล้ว 
เธอก็จักเข้าถึงทิพยภูมิของพระอริยะ


Make a refuge unto yourself 
Quickly strive and become wise. 
Purged of taint and free from stain, 
To heavenly state of the Noble will you attain.


๓. อุปนีตวโยว ทานิสิ 
สมฺปยาโตสิ ยมสฺส สนฺติกํ 
วาโสปิ จ เต นตฺถิ อนฺตรา 
ปาเถยฺยมมฺปิ จ เต น วิชฺชติ ฯ ๒๓๗ ฯ


บัดนี้ เธอใกล้จะถึงอายุขัยแล้ว 
เธอย่างเข้าใกล้สำนักพญามัจจุราชแล้ว 
ที่พักระหว่างทางของเธอก็ไม่มี 
เสบียงเดินทาง เธอก็ไม่ได้หาไว้

Your life has come near to an end now, 
To the presence of Death you are setting out. 
No halting place is there for you on the way, 
And provision for your journey you have none.


๔. โส กโรหิ ทีปมตฺตโน 
ขิปฺปํ วายม ปณฺฑิโต ภว 
นิทฺธนฺตมโล อนงฺคโณ 
น ปุน ชาติชรํ อุเปหิสิ ฯ ๒๓๘ ฯ


จงสร้างที่พึ่งแก่ตัวเอง 
รีบขวนขวายหาปัญญาใส่ตัว 
เมื่อเธอหมดมลทิน หมดกิเลสแล้ว 
เธอก็จักไม่มาเกิดมาแก่อีกต่อไป


Make a refuge unto yourself, 
Quickly strive and become wise. 
Purged of taint and free from stain, 
To birth-and-decay will you not come again.


๕. อนุปุพฺเพน เมธาวี 
โถกํ โถกํ ขเณ ขเณ 
กมฺมาโร รชตสฺเสว 
นิทฺธเม มลมตฺตโน ฯ ๒๓๙ ฯ


คนมีปัญญา 
ควรขจัดมลทินของตน 
ทีละน้อยๆ 
ทุกๆขณะ 
โดยลำดับ 
เหมือนนายช่างทอง 
ปัดเป่าสนิมแร่


By gradual practice, 
From moment to moment, 
And little by little, 
Let the wise man blow out 
His own impurities, 
Just as a smith removes 
The dross of ore.


๖. อยสาว มลํ สมุฏฺจิตํ 
ตทุฏฺฐาย ตเมว ขาทติ 
เอวํ อติโธนจารินํ 
สานิ กมฺมานิ นยนฺติ ทุคฺคตึ ฯ ๒๔๐ ฯ


สนิมเกิดแต่เหล็ก 
กัดกินเหล็กฉันใด 
กรรมที่ตนทำไว้ 
ย่อมนำเขาไปทุคติฉันนั้น

As rust, springing from iron, 
Eats itself away, once formed, 
Even so one's own deeds 
Lead one to states of woe.


๗. อสชฺฌายมลา มนฺตา 
อนุฏฺฐนมลา ฆรา 
มลํ วณฺณสฺส โกสชฺชํ 
ปมาโท รกฺขโต มลํ ฯ ๒๔๑ ฯ


ความเสื่อมของมนตรา อยู่ที่การไม่ทบทวน 
ควาามเสื่อมของเรือน อยู่ที่ไม่ซ่อมแซม 
ความเสื่อมของความงาม อยู่ที่เกียจคร้านตบแต่ง 
ความเสื่อมของนายยาม อยู่ที่ความเผลอ


Non-recitation is the bane of scriptures. 
Non-repair is the bane of houses. 
Sloth is the bane of beauty. 
Negligence is the bane of a watcher.


๘. มลิตฺถิยา ทุจฺจริตํ 
มจฺเฉรํ ททโต มลํ 
มลา เว ปาปกา ธมฺมา 
อสฺมึ โลเก ปรมฺหิ จ ฯ ๒๔๒ ฯ


ความประพฤติเสียหาย เป็นมลทินของสตรี 
ความตระหนี่ เป็นมลทินของผู้ให้ 
ควาามชั่วทุกชนิด เป็นมลทิน 
ทั้งในโลกนี้ และโลกหน้า


Misconduct is defilement of a woman. 
Strininess is defilement of a donor. 
Tainted indeed are all evil things, 
Both in this world and the world to come.


๙. ตโต มลา มลตรํ 
อวิชฺชา ปรมํ มลํ 
เอตํ มลํ ปหตฺวาน 
นิมฺมลา โหถ ภิกฺขโว ฯ ๒๔๓ ฯ

มลทินที่ยิ่งใหญ่กว่านั้น คือความโง่เขลา 
ความโง่เขลา นับเป็นมลทินชั้นยอด 
ภิกษุทั้งหลายพวกเธอจงละมลทินชนิดนี้ 
เป็นผู้ปราศจากมลทินเถิด

A greater taint than these is ignorance, 
The worst taint of all. 
Rid yourselves of ignorance, monks, 
And be without taint.


๑๐. สุชีวฺ อหิริเกน 
กากสูเรน ธํสินา 
ปกฺขนฺทินา ปคพฺเภน 
สงฺกิลิฏฺเฐน ชีวิตํ ฯ ๒๔๔ ฯ


คนไร้ยางอาย กล้าเหมือนกา 
ชอบทำลายผู้อื่นลับหลัง ชอบเอาหน้า 
อวดดี มีพฤติกรรมสกปรก 
คนเช่นนี้ เป็นอยู่ง่าย


Easy is the life of a shameless one 
Who is as bold as a crow, 
A back-biting, a forward, 
An arrogant and a corrupted one.


๑๑. หิรีมตา จ ทุชฺชีวํ 
นิจฺจํ สุจิคเวสินา 
อลีเนนปฺปคพฺเภน 
สุทฺธาชีเวน ปสฺสตา ฯ ๒๔๕ ฯ


ส่วนคนที่มีหิริ ใฝ่ความบริสุทธิ์เป็นนิตย์ 
ไม่เกียจคร้าน อ่อนน้อมถ่อมตน 
มีความเป็นอยู่บริสุทธิ์ มีปัญญา 
คนเช่นนี้เป็นอยู่ลำบาก


Hard is the life of a modest one 
Who ever seeks after purity, 
Who is strenous, humble, 
Cleanly of life, and discerning.


๑๒. โย ปาณมติปาเตติ 
มุสาวาทญฺจ ภาสติ 
โลเก อทินฺนํ อาทิยติ 
ปรทารญฺจ คจฺฉติ ฯ ๒๔๖ ฯ 
สุราเมรยปานญฺจ 
โย นโร อนุยุญฺชติ 
อิเธวเมโส โลกสฺมึ 
มูลํ ขนติ อตฺตโน ฯ ๒๔๗ ฯ


ผู้ใด ฆ่าสัตว์ พูดเท็จ ลักทรัพย์ 
ประพฤติล่วงเกินภรรยาของผู้อื่น 
ดื่มสุราเมรัยเป็นนิจศีล 
ผู้นั้นนับว่าขุดรากถอนโคนตนเองในโลกนี้ทีเดียว


Whoso destroys life, 
Tells lies, 
Takes what is not given, 
Commits sexual misconduct, 
And is addicted to intoxicating drinks- 
Such a one roots out oneself in this very world.


๑๓. เอวํ โภ ปุริส ชานิหิ 
ปาปธมฺมา อสญฺญตา 
มา ตํ โลโภ อธมฺโม จ 
จิรํ ทุกฺขาย รนฺธยุํ ฯ ๒๔๘ ฯ


จงรู้เถิด บุรุษผู้เจริญเอ๋ย ความชั่วร้าย 
มิใช่สิ่งที่จะพึงควบคุมได้ง่ายๆ 
ขอความโลภและความชั่วช้า 
อย่าได้ฉุดกระชากเธอ 
ไปหาความทุกข์ตลอดกาลนานเลย


Know this, O good man, 
Not easy to control are evil things. 
let not greed and wickedness drag you 
To protacted misery !


๑๔. ททาติ เว ยถาสทฺธํ 
ยถาปสาทนํ ชโน 
ตตฺถ โย มงฺกุโต โหติ 
ปเรสํ ปานโภชเน 
น โส ทิวา วา รตฺตึ วา 
สมาธึ อธิคจฺฉติ ฯ ๒๔๙ ฯ


ประชาชนย่อมให้ทานตามศรัทธา 
ใครคิดอิจฉาในข้าวและน้ำของคนอื่น 
เขาย่อมไม่ได้รับความสงบใจ 
ไม่ว่ากลางวัน หรือ กลางคืน

People give according to their faith 
And as they are pleased. 
Whoso among them is envious 
Of others' food and drink- 
He attains no peace of mind 
Either by day or by night.


๑๕. ยสฺส เจตํ สมุจฺฉินฺนํ 
มูลฆจฺฉํ สมูหตํ 
ส เว ทิวา วา รตฺตึ วา 
สมาธึ อธิคจฺฉติ ฯ ๒๕๐ ฯ


ผู้ใดเลิกคิดเช่นนั้นแล้ว 
ผู้นั้น ย่อมได้รับความสงบใจ 
ทั้งในกลางวันและกลางคืน


He who thinks not 
In such a way 
Gains peace of mind 
Every night and day.


๑๖. นตฺ ราคสโม อคฺคิ 
นตฺถิ โทสสโม คโห 
นตฺถิ โมหสมํ ชาลํ 
นตฺถิ ตณฺหาสมา นที ฯ ๒๕๑ ฯ


ไม่มี ไฟใด เสมอราคะ 
ไม่มี เคราะห์ใด เสมอโทสะ 
ไม่มี ข่ายดักสัตว์ใด เสมอโมหะ 
ไม่มี แม่น้ำใด เสมอตัณหา


No fire is there like lust. 
No captor like hatred. 
No snare like delusion. 
No torrent like craving.


๑๗. สุทสฺสํ วชฺชมญฺเญสํ 
อตฺตโน ปน ทุทฺทสํ 
ปเรสํ หิ โส วชฺชานิ 
โอปุนาติ ยถา ภุสํ 
อตฺตโน ปน ฉาเทติ 
กลึว กิตวา สโฐ ฯ ๒๕๒ ฯ


โทษคนอื่นเห็นได้ง่าย 
โทษตนเห็นได้ยาก 
คนเรามักเปิดเผยโทษคนอื่น 
เหมือนโปรยแกลบ 
แต่ปิดบังโทษของตน 
เหมือนนักเลงเต๋าโกงซ่อนลูกเต๋า


Easy to perceive are others'faults, 
One's own, however, are hard to see. 
Like chaff one winnows others's faults, 
But conceals one's own 
Just as a cheating gambler hides 
An ill-thrown dice.


๑๘. ปรวชฺชนุปสฺสิสฺส 
นิจฺจํ อุชฺฌานสญฺญิโน 
อาสวา ตสฺส วฑฺฒนฺติ 
อารา โส อาสวกฺขยา ฯ ๒๕๓ ฯ


ผู้ที่เพ่งแต่โทษคนอื่น 
คอยจับผิดอยู่ตลอดเวลา 
เขาย่อมหนาด้วยกิเลสอาสวะ 
ไม่มีทางเลิกละมันได้


He who sees others' faults 
And is ever censorious- 
Defilements of such a one grow 
Far is he from destroying them.


๑๙. อากาเสว ปทํ นตฺถิ 
สมโณ นตฺถิ พาหิโร 
ปปญฺจาภิรตา ปชา 
นิปฺปปญฺจา ตถาคตา ฯ ๒๕๔ ฯ


ไม่มีรอยเท้าในอากาศ 
ไม่มีสมณะภายนอกศาสนานี้ 
สัตว์พากันยินดีในกิเลสที่กีดขวางนิพพาน 
พระตถาคตทั้งหลาย หมดกิเลสชนิดนั้นแล้ว


No track is there in the sky. 
No samanas are there outside. 
In obstacles mankind delights. 
The Tathagatas leave them behind.


๒๐. กากาเสว ปทํ นตฺถิ 
สมโณ นตฺถิ พาหิโร 
สงฺขารา สสฺสตา นตฺถิ 
นตฺถิ พุทฺธานมิญฺชิตํ ฯ ๒๕๕ ฯ


ไม่มี รอยเท้าในอากาศ 
ไม่มี สมณะนอกศาสนานี้ 
ไม่มี สังขารที่เที่ยงแท้ 
ไม่มี ความหวั่นไหวสำหรับพระพุทธเจ้า


No track is there in the sky. 
No samanas are there outside. 
No etenal compounded thing. 
No instability is there in the Buddhas.


หมวดเที่ยงธรรม - THE JUST

๑. น เตน โหติ ธมฺมฏฺโฐ 
เยนตฺถฺ สหสา นเย 
โย จ อตฺถํ อนตฺถญฺจ 
อุโภ นิจฺเฉยฺย ปณฺฑิโต ฯ ๒๕๖ ฯ


ผู้ที่ตัดสินความโดยหุนหันพลันแล่น 
ไม่จัดเป็นผู้เที่ยงธรรม 
ส่วนผู้ที่ฉลาด วินิจฉัยรอบคอบ 
ทั้งฝ่ายถูก และฝ่ายผิด 
(จึงจัดเป็นผู้เที่ยงธรรม)


He who hastily arbitrates 
Is not known as 'just' 
The wise investigating right and wrong 
(Is known as such).


๒. อสาหเสน ธมฺเมน 
สเมน นยตี ปเร 
ธมฺมสฺส คุตฺโต เมธาวี 
ธมฺมฏฺโฐติ ปวุจฺจติ ฯ ๒๕๗ ฯ

บัณฑิตผู้ตัดสินผู้อื่นโดยรอบคอบ 
โดยเที่ยงธรรมสม่ำเสมอ 
ถือความถูกต้องเป็นใหญ่ 
ผู้นี้ได้สมญาว่า ผู้เที่ยงธรรม

He who judges others other with due deliberation, 
With judgement righteous and just- 
Such a wise one, guardian of the law, 
Is called righteous.


๓. น เตน ปณฺฑิโต โหติ 
ยาวตา พหุ ภาสติ 
เขมี อเวรี อภโย 
ปณฺฑิโตติ ปวุจฺจติ ฯ ๒๕๘ ฯ

เพียงแต่พูดมาก ไม่จัดว่าเป็นบัณฑิต 
คนที่ประพฤติตนให้เกษม 
ไม่มีเวร ไม่มีภัย 
จึงจะเรียกว่า เป็นบัณฑิต

A man is not called wise 
Merely because he speaks much. 
Secure, hateless and fearless- 
Such a man is called wise.


๔. น ตาวาตา ธมฺมธโร 
ยาวตา พหุ ภาสติ 
โย จ อปฺปมฺปิ สุตฺวาน 
ธมฺมํ กาเยน ปสฺสติ 
ส เว ธมฺมธโร โหติ 
โย ธมฺมํ นปฺปมชฺชติ ฯ ๒๕๙ ฯ

บุคคลไม่นับว่าผู้ทรงธรรม 
ด้วยเหตุเพียงพูดมาก 
ส่วนผู้ใด ถึงได้สดับตรับฟังน้อย 
แต่เห็นธรรมด้วยใจ 
ไม่ประมาทในธรรม 
ผู้นั้นแล เรียกว่า ผู้ทรงธรรม

He is not versed in the Dharma 
Merely because he speaks much. 
He who hears little of the teaching 
But mentally sees the Truth, 
And who is not heedless of the Truth- 
He is indeed versed in the Dharma.


๕. น เตน เถโร โหติ 
เยนสฺส ปลิตํ สิโร 
ปริปกฺโก วโย ตสฺส 
โมฆชิณฺโณติ วุจฺจติ ฯ ๒๖๐ ฯ


เพียงมีผมหงอก 
ยังไม่นับว่า เถระ 
เขาแก่แต่วัยเท่านั้น 
เรียกได้ว่า คนแก่เปล่า


A man is not an elder 
Merely because his head is grey. 
Ripe is his age, 
And old-in-vain is he called.


๖. ยมฺหิ สจฺจญฺจ ธมฺโม จ 
อหึสา สญฺญโม ทโม 
ส เว วนฺตมโล ธีโร 
โส เถโรติ ปวุจฺจติ ฯ ๒๖๑ ฯ


ผู้ใดมี สัจจะ คุณธรรม ไม่เบียดเบียน 
สำรวม ข่มใจ ฉลาด ปราศจากมลทินโทษ 
ผู้นั้นแล เรียกว่า เถระ


In whom there are truth, virtue, harmlessness, 
Self-mastery, and self-restraint 
Who is free from defilements and is wise- 
He, indeed, is called an elder.

๗. น วากฺกรณมตฺเตน 
วณฺณโปกฺขรตาย วา 
สาธุรูโป นโร โหติ 
อิสฺสุกี มจุฉรี สโฐ ฯ ๒๖๒ ฯ


ไม่ใช่เพราะพูดคล่อง 
ไม่ใช่เพราะมีผิวพรรณสวย 
ที่ทำให้คนเป็นคนดีได้ 
ถ้าหากเขายังมีความริษยา 
มีความตระหนี่ เจ้าเลห์ 
(เขาก็เป็นคนดีไม่ได้)


Not by mere cloquence, 
Nor by beautiful complexion 
Does a man become good-natured, 
Should he be jealous, selfish and deceitful.

๘. ยสฺส เจตํ สมุจฺฉินฺนํ 
มูลฆจฺฉํ สมูหตํ 
ส วนฺตโทโส เมธาวี 
สาธุรูโปติ วุจฺจติ ฯ ๒๖๓ ฯ


ผู้ใดเลิกละความอิจฉาเป็นต้น 
ได้อย่างเด็ดขาดแล้ว 
คนฉลาด ปราศจากมลทินเช่นนี้ 
เรียกว่า คนดี


In whom such behaviour 
Is cut off and wholly uprooted, 
That wise man who has cast out impurities, 
Is indeed called good-natured.


๙. น มุณฺฑเกน สมโณ 
อพฺพโต อลิกํ ภณํ 
อิจฺฉา โลภสมาปนฺโน 
สมโณ กึ ภวิสฺสติ ฯ ๒๖๔ ฯ


คนศีรษะโล้นไร้ศีลวัตร 
พูดเท็จ ไม่นับเป็นสมณะ 
เขามีแต่ความอยากและความโลภ 
จักเป็นสมณะได้อย่างไร


Not by a shaven head does a man, 
Undisciplined and lying, become an ascetic. 
How can he, full of desire and greed, 
Become an ascetic?


๑๐. โย จ สเมติ ปาปานิ 
อณุถูลานิ สพฺพโส 
สมิตตฺตา หิ ปาปานํ 
สมโณติ ปวุจฺจติ ฯ ๒๖๕ ฯ


ผู้ที่ระงับบาปทั้งหลาย 
ทั้งน้อยและใหญ่ 
เรียกว่าเป็นสมณะ 
เราะเลิกละบาปได้


Whosoever makes an end of all evil, 
Both small and great- 
He is called an ascetic, 
Since he has overcome all evil.


๑๑. น เตน ภิกฺขุ โส โหติ 
ยาวตา ภิกฺขเต ปเร 
วิสฺสํ ธมฺมํ สมาทาย 
ภิกฺขุ โหติ น ตาวตา ฯ ๒๖๖ ฯ


เพียงขอภิกษาจากผู้อื่น 
ไม่ชื่อว่าเป็นภิกษุ 
ถ้ายังประพฤติตนเหมือนชาวบ้านอยู่ 
ก็ยังไม่ชื่อว่าเป็นภิกษุ


A man is not a bhikkhu 
Simply because he begs from others. 
By adapting householder's manner, 
One does not truly become a bhikkhu.


๑๒. โยธ ปุญฺญญฺจ ปาปญฺจ 
พาเหตฺวา พฺรหฺมจริยวา 
สงฺขาย โลเก จรติ 
ส เว ภิกฺขูติ วุจฺจติ ฯ ๒๖๗ ฯ


ผู้ใดละบุญละบาปทุกชนิด 
ครองชีวิตประเสริฐสุด 
อยู่ในโลกมนุษย์ด้วยปัญญา 
ผู้นี้แลเรียกว่า ภิกษุ


He who has abandoned both merit and demerit, 
He who is leading a pure life, 
He who lives in teh world with wisdom- 
He indeed is called a bhikkhu.


๑๓. น โมเนน มุนิ โหติ 
มูฬฺหรูโป อวิทฺทสุ 
โย จ ตุลํว ปคฺคยฺห 
วรมาทาย ปณฺฑิโต ฯ ๒๖๘ ฯ


๑๔. ปาปานิ ปรวชฺเชติ 
ส มุนิ เตน โส มุนิ 
โย มุนาติ อุโภ โลเก 
มุนิ เตน ปวุจฺจติ ฯ ๒๖๙ ฯ


คนโง่เขลา ไม่รู้อะไร 
นั่งนิ่งดุจคนใบ้ ไม่นับเป็นมุนี 
ส่วนคนมีปัญญาทำตนเหมือนถือคันชั่ง 
เลือกชั่งเอาแต่ความดี ละทิ้งความชั่วช้า 
ด้วยปฏิปทาดังกล่าวเขานับว่าเป็นมุนี 
อนึ่งผู้ที่รู้ทั้งโลกนี้และโลกหน้า 
จึงควรแก่สมญาว่า มุนี


Not by silence does one become a sage 
If one be both ignorant and dull. 
But the wise who, as if holding a pair of scales, 
Embraces the best and shuns evil- 
He is indeed, for that reason, a sage. 
He that understands both worlds is called a sage.


๑๕. น เตน อริโย โหติ 
เยน ปาณานิ หึสติ 
อหึสา สพฺพปาณานํ 
อริโยติ ปวุจฺจติ ฯ ๒๗๐ ฯ


ถ้ายังเบียดเบียนสัตว์อยู่ 
บุคคลไม่นับว่า เป็นอารยชน 
เพราะไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวง 
เขาจึงได้ชื่อว่า อารยชน


By harming living beings 
Not thus is one a noble man. 
By harmlessness towards all beings 
One is then called a noble man.


๑๖. น สีลพฺพตมตฺเตน 
พาหุสจฺเจน วา ปน 
อถวา สมาธิลาเภน 
วิวิตฺตสยเนน วา ฯ ๒๗๑ ฯ


๑๗. ผุสามิ เนกฺขมฺมสุขํ 
อปุถุชฺชนเสวิตํ 
ภิกฺขุ วิสฺสาสมาปาทิ 
อปฺปตฺโต อาสวกฺขยํ ฯ ๒๗๒ ฯ


ภิกษุเอย เพียงมีศีลาจารวัตร 
เพียงมีภูมิปริยัติคงแก่เรียน 
เพียงพากเพียรปฏิบัติจนได้ฌาน 
เพียงอยู่ในสถานสงบสงัด 
ถ้าขจัดกิเลสไม่ได้หมด เธออย่านิ่งนอนใจ 
ว่า เธอได้รับสุขในบรรพชา 
ที่สามัญชนทั่วไปมิได้สัมผัส


Not by mere conduct and vows, 
Nor again by much learning, 
Nor even by gaining concentration, 
Nor by living alone in solitude, 
At the thought; 'I enjoy the bliss of remunciation 
Not resorted to by the worlding', 
Should you, O monks, rest content 
Without reaching the extinction of corruption.




หมวดทาง - THE PATH
๑. มคฺคานฏฺฐงฺคิโก เสฏฺโฐ 
สจฺจานํ จตุโร ปทา 
วิราโค เสฏฺโฐ ธมฺมานํ 
ทิปทานญฺจ จกฺขุมา ฯ ๒๗๓ ฯ

ยอดแห่งมรรคา คืออัษฎางคิกมรรค 
ยอดแห่งสัจจะ คืออริยสัจสี่ประการ 
ยอดแห่งธรรม คือความปราศจากราคะ 
ยอดแห่งมนุษย์ คือพระผู้เห็นแจ้ง

Best of paths is the Eightfold Path. 
Best of truths is the Four Noble Truths. 
Best of conditions is Passionlessness. 
Best of men is the Seeing One.

๒. เอเสว มคฺโค นตฺถญฺโญ 
ทสฺสนสฺส วิสุทฺธิยา 
เอตญฺหิ ตุมฺเห ปฏิปชฺชถ 
มารสฺเสตํ ปโมหนํ ฯ ๒๗๔ ฯ

มีทางนี้เท่านั้น ไม่มีทางอื่น 
ที่จะนำไปสู่ความบริสุทธิ์แห่งทัศนะ 
พวกเธอจงเดินตามทางนี้เถิด 
ทางสายนี้พญามารมักเดินหลงเสมอ

This is the only way; 
None other is there for the purity of vision. 
Do you enter upon this path, 
Which is the bewilderment of Mara.

๓. เอตญฺหิ ตุมฺเห ปฏิปนฺนา 
ทุกฺขสฺสนฺตํ กริสฺสถ 
อกฺขาโต เว มยา มคฺโค 
อญฺญาย สลฺลสตฺถนํ ฯ ๒๗๕ ฯ

เมื่อเดินตามทางสายนี้ 
พวกเธอจักหมดทุกข์ 
ทางสายนี้ เราได้ชี้บอกไว้ 
หลังจากที่เราได้รู้วิธีถอนลูกศรคือกิเลส

When walking along this path, 
You shall make an end of suffering 
This is the Way made known by me 
When I had learnt to remove all darts.

๔. ตุมฺเหติ กิจฺจํ อาตปฺปํ 
อกฺขาตาโร ตถาคตา 
ปฏิปนฺนา ปโมกฺขนฺติ 
ฌายิโน มารพนฺธนา ฯ ๒๗๖ ฯ

พวกเธอจงพยายามทำความเพียรเถิด 
พระตถาคต เป็นเพียงผู้ชี้บอกทางเท่านั้น 
ผู้บำเพ็ญฌานเดินตามทางสายนี้ 
ก็จะพ้นจากเครื่องผูกของพญามาร

You yourselves should make an effort, 
The Tathagatas can but show the Way. 
The meditative ones who walk this path 
Are released from the bonds of Mara.

๕. สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ 
ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ 
อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข 
เอส มคฺโค วิใทฺธิยา ฯ ๒๗๗ ฯ

"สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยงแท้" 
เมื่อใด บุคคลเห็นแจ้งด้วยปัญญาดังนี้ 
เมื่อนั้น เขาย่อมหน่ายในทุกข์ 
นี้เป็นทางแห่งความบริสุทธิ์

'Impermanent are all conditioned things', 
When thus one sees with wisdom, 
Then is one disgusted with ill. 
This is the path to purity.

๖. สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติ 
ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ 
อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข 
เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา ฯ ๒๗๘ ฯ

"สังขารทั้งปวง เป็นทุกข์" 
เมื่อใด บุคคลเห็นแจ้งด้วยปัญญาดังนี้ 
เมื่อนั้น เขาย่อมหน่ายในทุกข์ 
นี่เป็นทางแห่งความบริสุทธิ์

'Full of Ill are conditioned things', 
When thus one sees with wisdom, 
Then is one disgusted with Ill. 
This is the path to purity.

๗. สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ 
ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ 
อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข 
เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา ฯ ๒๗๙ .

"ธรรมทั้งปวง เป็นอนัตตา" 
เมื่อใด บุคคลเห็นแจ้งด้วยปัญญาดังนี้ 
เมื่อนั้น เขาย่อมหน่ายในทุกข์ 
นี่เป็นทางแห่งความบริสุทธิ์

'Lacking permanent entity are all events', 
When thus one sees with wisdom, 
Then is one disgusted with Ill. 
This is the path to purity.

๘. อุฎฺฐานกาลมฺหิ อนุฏฺฐหาโน 
ยุวา พลี อาลสิยํ อุเปโต 
สํสนฺนสงฺกปฺปม กุสีโต 
ปญฺญาย มคฺคํ อลโส น วินฺทติ ฯ ๒๘๐ ฯ

คนเราเมื่อยังหนุ่มแน่น 
แข็งแรงแต่เกียจคร้าน 
ไม่ขยันในเวลาที่ควรขยัน 
มีความคิดตกต่ำ 
คนเกียจคร้านเฉื่อยชาเช่นนี้ 
ย่อมไม่พบทางแห่งปัญญา

The idler who strives not when he should strive, 
Who though young and strong is slothful, 
Who is feeble in maintaing right-mindedness, 
And who is sluggish and inert- 
Such a one finds not the way to wisdom.

๙. วาจานุรกฺขี มนสา สุสํวุโต 
กาเยน จ อกุสลํ น กยิรา 
เอเต ตโย กมฺมปเถ วิโสธเย 
อาราธเย มคฺคํ อิสิปฺปเวทิตํ ฯ ๒๘๑ ฯ

พึงระวังวาจา พึงสำรวมใจ 
ไม่พึงทำบาปทางกาย 
พึงชำระทางกรรมทั้งสามนี้ให้หมดจด 
เมื่อทำได้เช่นนี้ เขาพึงพบทาง 
ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายแสดงไว้

Ever watchful in speech, 
Restrained in mind let him be, 
Let him commit no evil in deed. 
These three ways of action let him purify, 
And so win the way proclaimed by the Buddhas.

๑๐. โยคา เว ชายเต ภูริ 
อโยคา ภูริสงฺขโย 
เอตํ เทฺวธาปถํ ญตฺวา 
ภวาย วิภวาย จ 
ตถตฺตานํ นิเวเสยฺย 
ยถา ภูริ ปวฑฺฒติ ฯ ๒๘๒ ฯ

ปัญญาเกิดมีได้ เพราะตั้งใจพินิจ 
เสื่อมไป เพราะไม่ได้ตั้งใจพินิจ 
เมื่อรู้ทางเจริญและทางเสื่อมของปัญญาแล้ว 
ควรจะทำตนโดยวิถีทางที่ปัญญาจะเจริญ

Indeed from concentration springs wisdom, 
Without concentration wisdom wanes. 
Knowing this twofold way of loss and gain, 
Let him so conduct himself 
That wisdom may grow well.

๑๑. วนํ ฉินฺทถ มา รุกฺขํ 
วนโต ชายเต ภยํ 
เฉตฺวา วนญฺจ วนถญฺจ 
นิพฺพนา โหถ ภิกฺขโว ฯ ๒๘๓ ฯ

ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงถางป่า (ราคะ) 
แต่อย่าตัดต้นไม้ (จริงๆ) ภัยย่อมเกิดจากป่า (ราคะ) 
พวกเธอทำลายป่า และพุ่มไม้เล็กๆ (ราคะ) ได้แล้ว 
จักเป็นผู้ไม่มีป่า (ราคะ)

Cut down the forest (of passion) but not real trees, 
In the forest (of passion) is danger. 
Cut the forest and brushwood (of passion), 
Be forestless, O bhikkhus.

๑๒. ยาวญฺหิ วนโถ น ฉิชฺชติ 
อณุมตฺโตปิ นรสฺส นาริสุ 
ปฏิพทฺธมโนว ตาว โส 
วจฺโฉ ขีรปโกว มาตริ ฯ ๒๘๔ ฯ

ตราบใดบุรุษยังตัดความกำหนัด 
ต่ออิสตรีแม้นิดหน่อยยังไม่ขาด 
ตราบนั้น เขาก็ยังคงมีจิตผูกพันอยู่ในภพ 
เหมือนลุกโคยังไม่หย่านมติดแม่โคแจฉะนั้น

As long as the brushwood of lust, however small, 
Of a man towards a woman is not destroyed, 
So long is his mind attached (to existence) 
As a sucking calf to its mother-cow.

๑๓. อุจฺฉินฺท สิเนหมตฺตโน 
กุมุทํ สารทิกํว ปาณินา 
สนฺติมคฺคเมว พฺรูหย 
นิพฺพานํ สุคเตน เทสิตํ ฯ ๒๘๕ ฯ

จงถอนความรักของตน 
เหมือนคนถอนดอกบัวที่เกิดในฤดูสารท 
จงเพิ่มพูนแนวทางแห่งสันติ คือ นิพพาน 
ที่พระสุคตเจ้าทรงแสดงไว้แล้ว
Root out your affection 
As an autumn lily is plucked. 
Cultivate the Path of Peace 
Made known by the Blessed One.

๑๔. อิธ วสฺสํ วสิสฺสามิ 
อิธ เหมนฺตคิมฺหิสุ 
อิติ พาโล วิจินฺเตติ 
อนฺตรายํ น พุชฺฌติ ฯ ๒๘๖ ฯ

"เราจักอยู่ที่นี่ตลอดฤดูฝน 
เราจักอยู่ที่นี่ตลอดฤดูหนาว และฤดูร้อน" 
คนโง่มักคิดเช่นนี้ 
หารู้อันตรายจะมาถึงตัวเองไม่

'Here shall I live in the rains, 
Here in the autumn and in the summer', 
Thus thinks the fool, and does not realize 
The danger of his own life.

๑๕. ตํ ปุตฺตปสุสมฺมตฺตํ 
พฺยาสตฺตมนสํ นรํ 
สุตฺตํ คามํ มโหโฆว 
มจฺจํ อาทาย คจฺฉติ ฯ ๒๘๗ ฯ

ผู้ที่มัวเมาอยู่ในบุตรและปศุสัตว์ 
มีมนัสติดข้องอยู่ ย่อมถูกมฤตยูฉุดคร่าไป 
เหมือนชาวบ้านที่หลับไหล 
ถูกกระแสน้ำใหญ่พัดพา
On children and flocks 
Whose mind is attached and set, 
Him Death carries away 
As a great flood a sleeping village.

๑๖. น สนฺติ ปุตฺตา ตาณาย 
น ปิตา นปิ พนฺธวา 
อนฺตเกนาธิปนฺนสฺส 
นตฺถิ ญาตีสุ ตาณตา ฯ ๒๘๘ ฯ

บุตรก็ป้องกันไม่ได้ 
บิดาหรือญาติก็ป้องกันไม่ได้ 
คนเราเมื่อถึงคราวจะตาย 
หมู่ญาติก็ป้องกันไม่ได้

No sons are there for protection, 
Neither father nor even kinsmen. 
For one who is assailed by death 
No protection is there found among kinsmen.

๑๗. เอตมตฺถวสํ ญตฺวา 
ปณฺฑิโต สีลสํวุโต 
นิพฺพานคมนํ มคฺคํ 
ขิปฺปเมว วิโสธเย ฯ ๒๘๙ ฯ

เมื่อรู้ความจริงข้อนี้แล้ว 
คนฉลาดผู้สำรวมในศีล 
ไม่ควรชักช้า 
ในการตระเตรียมทาง 
ไปสู่พระนิพพาน

Thoroughly knowing this fact, 
The wise man, restrained in the rules, 
Delays not to clear the way 
That leads to Nibbana.
หมวดเบ็ดเตล็ด - MISCELLANEOUS
๑. มตฺตาสุขปริจฺจาคา 
ปสฺเส เจ วิปุลํ สุขํ 
จเช มตฺตาสุขํ ธีโร 
สมฺปสฺสํ วิปุลํ สุขํ ฯ ๒๙๐ ฯ 
ถ้าเห็นว่า จะได้สุขอันยิ่งใหญ่ 
ด้วยการสละสุขเล็กๆน้อยๆ 
นักปราชญ์ก็ควรสละสุขเล็กน้อย 
เพื่อเห็นแก่สุขอันยิ่งใหญ่

If fy giving up a slight happiness 
One may behold a greater one, 
Let the wise man renounce the lesser, 
Having regard to the greater.


๒. ปรทุกฺขูปธาเนน 
โย อตฺตโน สุขมิจฺฉติ 
เวรสํสคฺคสํสฏฺโฐ 
เวรา โส น ปริมุจฺจติ ฯ ๒๙๑ ฯ


ผู้ใดปรารถนาสุขเพื่อตน 
โดยการก่อทุกข์ให้คนอื่น 
ผู้นั้นมักเกี่ยวพันด้วยเวรไม่รู้สิ้น 
ไม่มีทางพ้นทางเวรไปได้


Whosoever wishes his own happiness 
Yet inflicts suffering on others- 
He is not free from hatred, 
Entangled in the tangles of anger.


๓. ยํ หิ กิจฺจํ ตทปวิทฺธํ 
อกิจฺจํ ปน กยีรติ 
อุนฺนฬานํ ปมตฺตานํ 
เตสํ วฑฺฒนฺติ อาสวา ฯ ๒๙๒ ฯ


สิ่งที่ควรทำไม่ทำ 
กลับทำสิ่งที่ไม่ควรทำ 
อาสวะย่อมเจริญแก่พวกเขา 
ผู้ถือตัวและมัวเมาประมาท


What ought to be done is left undone; 
What ought not to be done is done, 
For those who are naughty and heedless 
Corruptions greatly progress.


๔. เยสญฺจ สุสมารทฺธา 
นิจฺจํ กายคตา สติ 
อกิจฺจํ เต น เสวนฺติ 
กิจฺเจ สาตจฺจการิโน 
สตานํ สมฺปชานานํ 
อฏฺฐํ คจฺฉนฺติ อาสวา ฯ ๒๙๓ ฯ


ส่วนชนเหล่าใด เจริญสติในกายเป็นนิตย์ 
ไม่ทำสิ่งที่ไม่ควรทำ ทำเฉพาะสิ่งที่ควรทำเสมอ 
สำหรับชนผู้มีสติ สัมปชัญญะพร้อมมูลเหล่านั้น 
อาสวะมีแต่จะหมดไป


Those who develop well mindfulness of the body, 
who never do what ought not to be done, 
And ever do what ought to be done- 
of those mindful and reflective ones 
Defilements come to extinction.


๕. มาตรํ ปิตรํ หนฺตฺวา 
ราชาโน เทฺว จ ขตฺติเย 
รฏฺฐํ สานุจรํ หนฺตฺวา 
อนีโฆ ยาติ พฺราหฺมโณ ฯ ๒๙๔ ฯ


พราหมณ์ฆ่ามารดา ฆ่าบิดา 
ฆ่าขัตติยราชอีกสององค์ 
ทำลายรัฐ พร้อมทั้งผู้ครองรัฐเสียแล้ว 
ย่อมสัญจรไป อย่างไร้ทุกข์


Having slain mother and father, 
And two warrior kings, 
Having destroyed a country, 
With its governor, 
Ungrieving goes a brahmana


๖. มาตรํ ปิตรํ หนฺตฺวา 
ราชาโน เทฺว จ โสตฺถิเย 
เวยฺยคฺฆปญฺจมํ หนฺตฺวา 
อนีโฆ ยาติ พฺราหฺมโณ ฯ ๒๙๕ ฯ


พราหมณ์ฆ่ามารดา ฆ่าบิดา 
ฆ่ากษัตริย์ ผู้คงแก่เรียนอีกสององค์ 
ทำลายทางเดินห้าสายของพยัคฆ์ร้าย 
ย่อมสัญจรไป อย่างปลอดภัย


Having slain mother and father, 
And two learned kings, 
Having destroyed the five ways of a tiger, 
Scatheless goes the brahmana.


๗. สุปฺปพุทฺธํ ปพุชฺฌนฺติ 
สทา โคตมสาวกา 
เยสํ ทิวา จ รตฺโต จ 
นิจฺจํ พุทฺธคตา สติ ฯ ๒๙๖ ฯ


พระสาวกของพระโคดมพุทธเจ้า 
ผู้รำลึกถึงพระพุทธคุณ 
เป็นนิจศีล ทั้งกลางวันกลางคืน 
ตื่นดีแล้วเสมอ


Ever well awake 
Are the disciples of Gotama 
Who ever day and night 
Recollect the Buddha's virtues.


๘. สุปฺปพุทฺธํ ปพุชฺฌนฺติ 
สทา โคตมสาวกา 
เยสํ ทิวา จ รตฺโต จ 
นิจฺจํ ธมฺมคตา สติ ฯ ๒๙๗ ฯ


พระสาวกของพระโคดมพุทธเจ้า 
ผู้รำลึกถึงพระธรรมคุณ 
เป็นนิจศีลทั้งกลางวันกลางคืน 
ตื่นดีแล้วเสมอ


Ever well awake 
Are the disciples of Gotama 
Who ever day and night 
Recollect the Dharma's virtues.


๙. สุปฺปพุทฺธํ ปพุชฺฌนฺติ 
สทา โคตมสาวกา 
เยสํ ทิวา จ รตฺโต จ 
สทา สงฺฆคตา สติ ฯ ๒๙๘ ฯ


พระสาวกของพระโคดมพุทธเจ้า 
ผู้ระลึกถึงพระสังฆคุณ 
เป็นนิจศีลทั้งกลางวันกลางคืน 
ตื่นดีแล้วเสมอ


Ever well awake 
Are the disciples of Gotama 
Who ever day and night 
Recollect the Sangha's virtues.


๑๐. สุปฺปพุทฺธํ ปพุชฺฌนฺติ 
สทา โคตมสาวกา 
เยสํ ทิวา จ รตฺโต จ 
สทา กายคตา สติ ฯ ๒๙๙ ฯ

พระสาวกของพระโคดมพุทธเจ้า 
ผู้รำลึกถึงสภาพเป็นจริงของร่างกาย 
เป็นนิจศีลทั้งกลางวันกลางคืน 
ตื่นดีแล้วเสมอ

Ever well awake 
Are the disciples of Gotama 
Who ever day and night 
Recollect the body's nature.


๑๑. สุปฺปพุทฺธํ ปพุชฺฌนฺติ 
สทา โคตมสาวกา 
เยสํ ทิวา จ รตฺโต จ 
อหึสาย รโต มโน ฯ ๓๐๐ ฯ

พระสาวกของพระโคดมพุทธเจ้า 
ผู้มีใจยินดีในความไม่เบียดเบียน 
เป็นนิจศีลทั้งกลางวันกลางคืน 
ตื่นดีแล้วเสมอ

Ever well awake 
Are the disciples of Gotama 
Whose mind ever day and night 
Takes delight in harmlessness.


๑๒. สุปฺปพุทฺธํ ปพุชฺฌนฺติ 
สทา โคตมสาวกา 
เยสํ ทิวา จ รตฺโต จ 
ภาวนาย รโต มโน ฯ ๓๐๑ ฯ

พระสาวกของพระโคดมพุทธเจ้า 
ผู้มีใจยินดีในภาวนา 
เป็นนิจศีลทั้งกลางวัน กลางคืน 
ตื่นดีแล้วเสมอ

Ever well awake 
Are the disciples of Gotama 
Whose mind ever day and night 
Takes delight in meditation.


๑๓. ทุปฺปพฺพชฺชํ ทุรภิรมํ 
ทุราวาสา ฆรา ทุกฺขา 
ทุกฺโขสมานสํวาโส 
ทุกฺขานุปติตทฺธคู 
ตสฺมา น จทฺธคู สิยา 
น จ ทุกฺขานุปติโต สิยา ฯ ๓๐๒ ฯ

การสละโลกียวิสัยออกบวช ก็ยาก 
การจะยินดีในเพศบรรพชิต ก็ยาก 
การครองเรือนไม่ดี เป็นทุกข์ 
การอยู่ร่วมกับผู้ไม่เสมอกัน ก็เป็นทุกข์ 
ท่องเที่ยวอยู่ในสังสารวัฏ ก็เป็นทุกข์ 
เพราะฉะนั้น ไม่ควรท่องเที่ยวในสังสารวัฏ 
และไม่ควรแส่หาความทุกข์ใส่ตน

Hard is th 'going forth'. 
Hard is it to delight therein. 
Hard is household life. 
Ill is association with unequals. 
Ill also is to wander in Samsara. 
Be therefore no more a wanderer 
Nor be a pursuer of suffering.


๑๔. สทฺโธ สีเลน สมฺปนฺโน 
ยโสโภคสมปฺปิโต 
ยํ ยํ ปเทสํ ภชติ 
ตตฺถ ตตฺเถว ปูชิโต ฯ ๓๐๓ ฯ

ผู้มีศรัทธา สมบูรณ์ด้วยศีล 
เพียบพร้อมด้วยยศและโภคทรัพย์ 
ไปประเทศใดๆ ย่อมได้รับความนับถือ 
ในประเทศนั้นๆ

He who is full of faith and virtue. 
Possessed of repute and wealth- 
He is hanoured everywhere. 
In whatever land he travels.

๑๕. ทูเร สนฺโต ปกาเสนฺติ 
หิมวนฺโต ว ปพฺพโต 
อสนฺเตตฺถ น ทิสฺสนฺติ 
รตฺติขิตฺตา ยถา สรา ฯ ๓๐๔ ฯ

คนดี ย่อมปรากฎเด่น 
เหมือนภูเขาหิมพานต์ 
คนไม่ดี ถึงอยู่ใกล้ ก็ไม่ปรากฎ 
เหมือนลูกศรที่เขายิงไปในราตรี

The good shine from far away 
Just as the Himalayan peaks. 
The wicked are not seen, though near, 
Just as an arrow shot at night.



หมวดนรก - HELL
๑. อภูตวาที นิรยํ อุเปติ 
โย วาปิ กตฺวา น กโรมีติ จาห 
อุโภปิ เต เปจฺจ สมา ภวนฺติ 
นิหีนกมฺมา มนุชา ปรตฺถ ฯ ๓๐๙ ฯ

คนที่พูดเท็จเสมอ กับคนที่ทำแล้ว 
พูดว่า "ฉันไม่ได้ทำ" ตกนรกเหมือนกัน 
มนุษย์สองจำพวกนั้น ตายไปแล้ว 
มีกรรมชั่วเหมือนกัน ในโลกหน้า

He who always lies goes to hell 
And he who denies what he has done. 
These tow, the men of base actions, 
Share the same destiny in the world to come.
๒. กาสาวกณฺฐา พหโว 
ปาปธมฺมา อสญฺญตา 
ปาปา ปาเปหิ กมฺเมหิ 
นิรยฺ เต อุปปชฺชเร ฯ ๓๐๗ ฯ

คนนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์มีเป็นจำนวนมาก 
ที่ประพฤติชั่ว ไม่สำรวม 
คนชั่วเหล่านั้นย่อมตกนรก 
เพราะกรรมชั่ว

Clad in the yellow robes, 
Ill-behaved and uncontrlooed, 
By evil deeds, those evil ones, 
Shall go to the realm of woe.

๓. เสยฺโย อโยคุโฬ ภุตฺโต 
ตตฺโต อคฺคิสิขูปํโม 
ยญฺเจ ภุญฺเชยฺย ทุสฺสีโล 
รฏฺฐปิณฺฑํ อสญฺญโต ฯ ๓๐๘ ฯ

คนทุศีล ไม่สำรวม 
กลืนก้อนเหล็กแดงที่ลุกเป็นไฟ 
ยังดีเสียกว่าบริโภคข้าว 
ที่ชาวบ้านถวาย

Better for an immoral 
And uncontrlled person 
To eat a red-hot and flaming ball 
Than to eat the alms of people.

๔. จตฺตาริ ฐานานิ นโร ปมตฺโต 
อาปชฺชตี ปรทารูปเสวี 
อปุญฺญลาภํ น นิกามเสยฺยํ 
นินฺทํ ตตียํ นิรยํ จตุตฺถํ ฯ ๓๐๙ ฯ

คนที่มัวเมา ผิดเมียท่านเป็นนิตย์ 
ย่อมได้รับเคราะห์ร้าย สี่สถานคือ 
หนึ่งได้รับบาป สองนอนไม่เป็นสุข 
สามเสียชื่อเสียง สี่ตกนรก

Four misfortunes befll that man 
Who, heedless, courts the neighbour's wife: 
Aczuisition of demerit is acquired by him, 
He has a bad sleep at night, 
Ill-repute he, thirdly, gains, 
And hell, fourthly, he attains.
๕. อปุญฺญลาโภ จ คตี จ ปาปิกา 
ภีตสฺส ภีตาย รตี จ โถกิกา 
ราฃา จ ทณฺฑํ ครกํ ปเณติ 
ตสฺมา นโร ปรทารํ น เสเว ฯ ๓๑๐ ฯ

สถานหนึ่ง ได้บาป 
สถานสอง ได้ภพชาติชั่วร้ายในอนาคต 
สถานสาม ทั้งคู่มีสุขชั่วแล่นแต่สะดุ้งใจเป็นนิตย์ 
สถานสี่ พระราชาย่อมลงโทษอย่างหนัก 
เพราะฉะนั้น จึงไม่ควรผิดภริยาของคนอื่น

There is a gain of demerit and evil destiny, 
Brief is the joy of frightened couple, 
And the king imposes heavy punishment. 
Therefore let no man commit adultery.

๖. กุโส ยถา ทุคฺคหิโต 
หตฺถเมวานุกนฺตติ 
สามญฺญํ ทุปฺปรามฏฺฐํ 
นิรยายูปกฑฺฒติ ฯ ๓๑๑ ฯ

หญ้าคา ที่จับไม่ดี 
ย่อมบาดมือได้ ฉันใด 
พรหมจรรย์ที่ประพฤติไม่ดี 
ย่อมลากลงสู่นรก ฉันนั้น

As Kusa grass when wrongly grasped 
Cuts the seizing hand, 
So a recluse's life when wrongly handled 
Drags one to hell.
๗. ยงฺกิญฺจิ สิถิลํ กมฺมํ 
สงฺกิลิฏฺฐญฺจ ยํ วตํ 
สงฺกสฺสรํ พฺรหฺมจริยํ 
น ตํ โหติ มหปฺผลํ ฯ ๓๑๒ ฯ

ทำอะไรหละหลวม 
มีข้อวัตรปฏิบัติเศร้าหมอง 
ประพฤติพรฟมจรรย์ โดยไม่เต็มใจ 
ไม่เป็นไปเพื่อผลอันไพศาล

An act loosely performed, 
A vow corruptly observed, 
A Holy Life unwillingly lived- 
This yields not much fruit.

๘. กยิรา เจ กยิราเถนํ 
ทฬฺหเมนํ ปรกฺกเม 
สถิโล หิ ปริพฺพาโช 
ภิยฺโย อากิรเต รชํ ฯ ๓๑๓ ฯ

ถ้าจะกระทำ ก็จงกระทำจริงๆ 
และพยายามมั่นคงจริงๆ 
เพราะเพศบรรพชิตที่หละหลวม 
รังแต่จะเกลี่ยธุลีคือกิเลสใส่ตัว

Let one do with all one's might 
What ought to be performed. 
A loose monastic life stirs up 
The dust of passions all the more.

๙. อกตํ ทุกฺกฏํ เสยฺโย 
ปจฺฉา ตปฺปติ ทุกฺกฏํ 
กตญฺจ สุกตํ เสยฺโย 
ยํ กตฺวา นานุตปฺปติ ฯ ๓๑๔ ฯ

ความชั่ว ไม่ทำเสียเลยเป็นดี 
ทำแล้วย่อมเดือดร้อนภายหลัง 
มาทำความดีกันดีกว่า 
ทำแล้ว ไม่เดือดร้อน

Better left undone is an evil deed, 
For it torments one afterwards. 
Better done is a wholesome deed, 
After doing which one feels no remorse.

๑๐. นครํ ยถา ปจฺจนฺตํ 
คุตฺตํ สนฺตรพาหิรํ 
เอวฺ โคเปถ อตฺตานํ 
ขโณ โว มา อุปจฺจคา 
ขณาตีตา หิ โสจนฺติ 
นิรยมฺหิ สมปฺปิตา ฯ ๓๑๕ ฯ

เธอจงป้องกันตนให้ดีเหมือนเมืองชายแดน 
ที่เขาป้องกันแข็งแรงทั้งภายในภายนอก 
เธออย่าปล่อยโอกาสให้ล่วงเลยไปเปล่า 
เพราะผู้ที่พลาดโอกาสเมื่อตกนรกย่อมเศร้าโศก

Just as a border city 
Is well-guarded within and withourt, 
Even so do you guard yourselves. 
Do not let slip this opportunity. 
For those missing the opportunity grieve, 
Having been consigned to hell.

๑๑. อลชฺชิตาเย ลฺชชนฺติ 
ลชฺชิตาเย น ลชฺชเร 
มิจฺฉาทิฏฺฐิสมาทานา 
สตฺตา คจฺฉนฺติ ทุคฺคตึ ฯ ๓๑๙ ฯ

ละอายในสิ่งที่ไม่ควรละอาย 
ไม่ละอายในสิ่งที่ควรละอาย 
ผู้ที่มีความเห็นผิดอย่างนี้ 
ย่อมไปสู่ทุคติ

Of what is not shameful they are ashamed, 
But of the shameful they are not ashamed. 
Embracing false views as such, 
Those beings go to a woeful realm.

๑๒. อภเย ภยทสฺสิโน 
ภเย จ อภยทสฺสิโน 
มิจฺฉาทิฏฺฐิสมาทานา 
สตฺตา คจฺฉนฺติ ทุคฺคตึ ฯ ๓๑๗ ฯ

สิ่งที่ไม่น่ากลัว เห็นว่าน่ากลัว 
สิ่งที่น่ากลัว กลับเห็นว่า ไม่น่ากลัว 
ผู้ที่มีความเห็นผิดอย่างนี้ 
ย่อมไปทุคติ

What is not to be feared they fear, 
What is fearsome they fear not. 
Embracing false views as such. 
Those beings go to a woeful fealm.

๑๓. อวชฺเช วชฺชมติโน 
วชฺเช จ อวชฺชทสฺสิโน 
มิจฺฉาทิฏฺฐิสมาทานา 
สตฺตา คจฺฉนฺติ ทุคฺคตึ ฯ ๓๑๘ ฯ

สิ่งที่ไม่มีโทษ เห็นว่ามีโทษ 
สิ่งที่มีโทษ กลับเห็นว่าไม่มีโทษ 
ผู้ที่มีความเห็นผิดอย่างนี้ 
ย่อมไปสู่ทุคติ

They think there is harm where there is none, 
And they do not see where harm exists. 
Embracing false views as such, 
Those beings go to a woeful realm.

๑๔. วชฺชญฺจ วชฺชโต ญตฺวา 
อวฺชชญฺจ อวชฺชโต 
สมฺมาทิฏฺฐิสมาทานา 
สตฺตา คจฺฉนฺติ สุคฺคตึ ฯ ๓๑๙ ฯ

เห็นโทษ เป็นโทษ 
เห็นถูก เป็นถูก 
ผู้ที่มีความเห็นชอบเช่นนี้ 
ย่อมไปสู่สุคติ

Perceiving wrong as wrong. 
Perceiving right as right, 
Beings of such right views 
In a blissful realm arise.

หมวดช้าง - THE ELEPHANT
๑. อหํ นาโคว สงฺคาเม 
จาปาโต ปติตํ สรํ 
อติวากฺยํ ติติกฺขสฺสํ 
ทุสฺสีโล หิ พหุชฺชโน ฯ ๓๒๐ ฯ

เราจักอดทนต่อคำเสียดสีของคนอื่น 
เหมือนพญาคชสาร ในสนามรบ 
ทนลูกศรที่ปล่อยออกไปจากคันธนู 
เพราะว่าคนโดยมาก ทุศีล

As an elephant in the battle field 
Withstands the arrows shot from a bow. 
Even so will I endure abuse, 
For people's conduct is mostly low.
๒. ทนฺตํ นยนฺติ สมิตึ 
ทนฺตํ ราชาภิรูหติ 
ทนฺโต เสฏฺโฐ มนุสฺเสสุ 
โยติวากฺยํ ติติกฺขติ ฯ ๓๒๑ ฯ

ช้างที่ฝึกแล้ว เขานำไปสู่ที่ชุมชน 
ช้างที่ฝึกแล้ว พระราชาชึ้นทรง 
ในหมู่มนุษย์ ผู้ที่ฝึกฝนตนได้ 
รู้จักอดทนต่อคำล่วงเกิน เป็นผู้ประเสริฐ

The tamed elephant is led to crowds. 
The tamed do the kings mount. 
The well-tamed is best among men, 
Who endures abuse.

๓. วรมสฺสตรา ทนฺตา 
อาชานียา จ สินฺธวา 
กุญฺชรา จ มหานาคา 
อตฺตทนฺโต ตโต วรํ ฯ ๓๒๒ ฯ

ม้าอัศดร ม้าอาชาไนยจากกลุ่มสินธู 
และพญากุญชร ที่ผ่านการฝึกปรือ 
นับเป็นสัตว์ที่ประเสริฐ 
แต่บุคคลผู้ฝึกตนแล้ว ประเสริฐกว่านั้น

Excellent are well-trained mules. 
So are thoroughbred ones from Sindhu 
And likewise noble fighting elephants. 
More excellent is the self-trained man.

๔. น หิ เอเตหิ ยาเนหิ 
คจฺเฉยฺย อคตํ ทิสํ 
ยถาตฺตนา สุทนฺเตน 
ทนฺโต ทนฺเตน คจฺฉติ ฯ ๓๒๓ ฯ

แน่นอนทีเดียว คนที่ฝึกตนได้ 
ย่อมอาศัยร่างที่ฝึกฝนดีแล้วนั้น 
เป็นพาหนะนำไปสู่ที่ๆไม่เคยไป (นิพพาน) 
ซึ่งยานภายนอกเหล่านั้น พาไปไม่ได้เลย

Surely never by those vehicles 
Would one go to the untrodden land 
As does one who is controlled 
Through his subdued and well-trained self.

๕. ธนปาลโก นาม กุญฺชโร 
กฏุกปฺปเภทโน ทุนฺนิวารโย 
พทฺโธ กพฬํ น ภุญฺชติ 
สุมรติ นาควนสฺส กุญฺชโร ฯ ๓๒๔ ฯ

ช้างตกมันชื่อ ธนปาลกะ 
ยากที่ใครๆจะห้ามได้ ถูกล่ามไว้ 
ไม่ยอมกินอาหาร พญากุญชร 
รำลึกถึงแต่ป่าช้าง
The great elephant called Dhanapalaka 
In time of rut is uncontrollable; 
Tied fast he refuses his food 
Since he calls to mind the elephant wood.
๖. มิทฺธี ยทา โหติ มหคุฆโส จ 
นิทฺทายิตา สมฺปริวตฺตสายี 
มหาวราโหว นิวาปปุฏฺโฐ 
ปุนปฺปุนํ คพฺภมุเปติ มนฺโท ฯ ๓๒๕ ฯ

คนกินจุ สะลึมสะลือ ชอบนอน 
กลิ้งเกลือกไปมาบนที่นอน 
เหมือนสุกรที่เขาขุนด้วยเศษอาหาร 
คนโว่ทึ่มเช่นนั้น ย่อมเกิดไม่รู้จบสิ้น

A sluggard, or glutton, too, 
Rolling himself about in gross sleep 
Like a bigh hog nursed on pig-wash- 
That foolish one endlessly comes to birth.

๗. อิทํ ปุเร จิตฺตมจาริ จาริกํ 
เยนิจฺฉกํ ยตฺถกามํ ยถาสุขํ 
ตทชฺชหํ นิคฺคหิสฺสามิ โยนิโส 
หตฺถึ ปภินฺนํ วิย องฺกุสคฺคโห ฯ ๓๒๖ ฯ

เมื่อก่อนใจข้าได้ท่องเที่ยวไปในอารมณ์ 
ตามปรารถนา ตามความใคร่ ตามสบาย 
แต่บัดนี้ ข้าจักบังคับมันด้วยโยนิโสมนสิการ 
เหมือนควาญช้างถือขอ บังคับช้างที่ตกมัน

Formerly this mind went wandering 
Where it liked, as it wished, as it listed. 
I will now control it with attemtiveness 
As the driver with his hook a wild elephant.

๘. อปฺปมาทรตา โหถ 
สจิตฺตมนุรกฺขถ 
ทุคฺคา อุทฺธรถตฺตานํ 
ปงฺเก สนฺโนว กุญฺชโร ฯ ๓๒๗ ฯ

พวกเธอจงยินดีในความไม่ประมาท 
จงระมัดระวังจิตของตน 
จงถอนตนออกจากหล่มกิเลส 
เหมือนพญาช้างติดหล่ม 
พยายามช่วยตัวเอง

Take delight in heedfulness 
And guard well your own minds; 
Draw yourselves out of evil ways 
Like an elephant sunk in the mire.

๙. สเจ ลเภถ นิปกํ สหายํ 
สทฺธึจรํ สาธุวิหาริ ธีรํ 
อภิภุยฺย สพฺพานิ ปริสฺสยานิ 
จเรยฺย เตนตฺตมโน สตีมา ฯ ๓๒๘ ฯ

ถ้าได้สหายผู้เข้ากับตนได้ 
มีความประพฤติดี ฉลาดและเฉลียว 
พึงไปไหนๆกับสหายเช่นนั้นอย่างมีความสุข 
และพึงมีสติ ฝ่าฟันอันตรายทั้งหลาย

If for the faring-on you can find 
A friend, well-behaved, prudent and wise, 
Walk with him joyfully and mindfully, 
Overcoming dangers (open and concealed).

๑๐. โน เจ ลเภถ นิปกํ สหายํ 
สทฺธึจรํ สาธุวิหาริ ธีรํ 
ราชาว รฏฺฐํ วิชิตํ ปหาย 
เอโก จเร มาตงฺครญฺเญว นาโค ฯ ๓๒๙ ฯ 
ุ่
ถ้าไม่พบสหายที่เข้ากับตนได้ 
มีความประพฤติดี ฉลาด และเฉลียว 
ก็ควรสัญจรไปคนเดียว 
เหมือนพระราชา สละราชสมบัติเที่ยวไปองค์เดียว 
หรือไม่ก็เหมือนพญาช้าง 
ละโขลงเที่ยวไปตัวเดียวในป่า

If for the faring-on you cannot find 
A friend, well-behaved, prudent and wise, 
Fare alone as a king renoucing his country 
And as an elephant alone in the wilds.

๑๒. อตฺถมฺหิ ชาตมฺหิ สุขา สหายา 
ตุฏฺฐี สุขา ยา อิตรีตเรน 
ปุญฺญํ สุขํ ชีวิตสงฺขยมฺหิ 
สพฺพสฺส ทุกฺขสฺส สุขํ ปหานํ ฯ ๓๓๑ ฯ

มีเพื่อนตาย ก็มีความสุข 
ยินดีเท่าที่หามาได้ ก็มีความสุข 
ทำบุญไว้ถึงคราวจะตายก็มีความสุข 
ละทุกข์ได้ทั้งหมด ก็มีความสุข

Happy is it to have a friend in need 
Happy is contentement with whatever betides. 
Happy is merit at the end of life. 
Happy is it to leave all sorrow behind.

๑๓. สุขา มตฺเตยฺยตา โลเก 
อโถ เปตฺเตยฺยตา สุขา 
สุขา สามญฺญตา โลเก 
อโถ พฺรหฺมญฺญตา สุขา ฯ ๓๓๒ ฯ

ปฏิบัติชอบต่อมารดา ก็เป็นสุข 
ปฏิบัติชอบต่อบิดา ก็เป็นสุข 
ปฏิบัติชอบต่อสมณะ ก็เป็นสุข 
ปฏิบัติชอบต่อพระผู้ประเสริฐ ก็เป็นสุข

Happy is it to honour mother. 
Happy is it to honour father. 
Happy is it to honour ascetics. 
Happy is it to honour the Noble Ones.

๑๔. สุขํ ยาว ชรา สีลํ 
สุขา สทฺธา ปติฏฺฐิตา 
สุโข ปญฺญาปฏิลาโภ 
ปาปานํ อกรณํ สุขํ ฯ ๓๓๓ ฯ

ศีลให้เกิดสุข ตราบเท่าชรา 
ศรัทธา ที่ตั้งมั่นแล้ว ให้เกิดสุข 
ปัญญา ได้มาแล้ว ให้เกิดสุข 
การไม่ทำบาปทั้งหลาย ให้เกิดสุข

Happy is virtue until old age. 
Happy is faith that firmly stands. 
Happy is it to gain insight. 
Happy is it to commit no sin.



หมวดตัณหา - CRAVING
๑. มนุชสฺส ปมตฺตจาริโน 
ตณฺหา วฑฺฒติ มาลุวา วิย 
โส ปริปฺลวติ หุราหุรํ 
ผลมิจฺฉํว วนสฺมึ วานโร ฯ ๓๓๔ ฯ

สำหรับคนที่มีชีวิตอยู่อย่างประมาท 
ตัณหามีแต่จะเจริญเหมือนเถาวัลย์ 
เขาย่อมกระโดดจากภพนี้ไปสู่ภพอื่น 
เหมือนวานรโลภผลไม้ โลดแล่นอยู่ในป่า

Of the person addicted to heedless living 
Craving grows like a creeping. 
Such a man jumps from life to life 
Like a monkey craving fruit in the wilds.
๒. ยํ เอสา สหเต ชมฺมี 
ตณฺหา โลเก วิสตฺติกา 
โสกา ตสฺส ปวฑฺฒนฺติ 
อภิวุฏฺฐํว วีรณํ ฯ ๓๓๕ ฯ
ตัณหาอันลามก มีพิษร้าย 
ครอบงำบุคคลใด ในโลก 
เขาย่อมมีแต่โศกเศร้าสลด 
เหมือนหญ้าถูกฝนรด ย่อมงอกงาม
Whoso in the world is overcome 
By this craving poisonous and base, 
For him all sorrow increases 
As Virana grass that is watered well.

๓. โย เจตํ สหเต ชมฺมึ 
ตณฺหํ โลเก ทุรจฺจยํ 
โสกา ตมฺหา ปปตนฺติ 
อุทวินฺทุว โปกฺชรา ฯ ๓๓๖ ฯ

ผู้ใดเอาชนะตัณหาลามก 
ที่ยากจะเอาชนะได้นี้ 
ความโศกย่อมตกไปจากผู้นั้น 
เหมือนหยาดน้ำ ตกจากใบบัว

But whoso in the world overcomes 
This base craving, difficult to overcome- 
His sorrow falls away from him 
As water drops from a lotus leaf.

๔. ตํ โว วทามิ ภทฺทํ โว 
ยาวนฺเตตฺถ สมาคตา 
ตณฺหาย มูลํ ขนถ 
อุสีรตฺโถว วีรณํ 
มา โว นฬํว โสโตว 
มาโร ภญฺชิ ปุนปฺปุนํ ฯ ๓๓๗ ฯ

เราขอบอกความนี้แก่พวกเธอ 
ขอให้พวกเธอผู้มาชุมนุมกัน ณ ที่นี้ มีความเจริญ 
ขอให้พวกเธอขุดรากตัณหา เหมือนถอนรากหญ้ารก 
พวกเธออย่าปล่อยให้มารรังควาญบ่อยๆ 
เหมือนกระแสน้ำค่อยๆเซาะต้อนอ้อล้ม

This I say unto you: 
Good luck to you all who have assembled here. 
As one roots out fragrant Virana grass, 
So do you dig up craving by its root. 
Let not Mara crush you again and again 
As the river flood crushing a reed.

๕. ยถาปิ มูเล อนุปทฺทเว ทฬฺเห 
ฉินฺโนปิ รุกฺโข ปูนเรว รูหติ 
เอวมฺปิ ตณฺหานุสเย อนูหเต 
นิพฺพตฺตตี ทุกฺขมิทํ ปุนปฺปุนํ ฯ ๓๓๘ ฯ

เมื่อรากยังแข็งแรง ไม่ถูกทำลาย 
ต้นไม้แม้ที่ถูกตัดแล้ว ก็งอกได้ใหม่ฉันใด 
เมื่อยังทำลายเชื้อตัณหาไม่ได้หมด 
ความทุกข์นี้ก็ย่อมเกิดขึ้นได้เรื่อยไปฉันนั้น

As a tree cut down sprouts forth again 
If its roots remain undamaged and firm, 
Even so, while latent craving is not removed, 
This sorrow springs up again and again.

๖. ยสฺส ฉตฺตึสตี โสตา 
มนาปสฺสวนา ภุสา 
มหา วหนฺติ ทุทฺทิฏฺฐึ 
สงฺกปฺปา ราคนิสฺสิตา ฯ ๓๓๙ ฯ

กระแสตัณหา ๓๖ สายอันเชี่ยวกราก 
ที่ไหลไปยังอารมณ์อันน่าปรารถนา 
ไหลบ่าท่วมท้นจิตใจใคร 
ความครุ่นคิดคำนึงที่แฝงราคะ 
ย่อมจะชักนำให้เขาเห็นผิดคิดไข้วเขว

In whom are strong the thirth-six torrents 
Of craving flowing towards pleasurable objects- 
Then the great flood of lustful thoughts 
Carries off that misunderstanding man.

๗. สวนฺติ สพฺพธี โสตา 
ลตา อุพฺภิชฺช ติฏฺฐติ 
ตญฺจ ทิสฺวา ลตํ ชาตํ 
มูลํ ปญฺญาย ฉินฺทถ ฯ ๓๔๐ ฯ

กระแสน้ำคือตัณหา ไหลไปทุกหนทุกแห่ง 
เถาวัลย์คือกิเลส ก็ขึ้นรกไปทั่ว 
เมื่อเห็น เถาวัลย์นั้นงอกงามแล้ว 
พวกเธอจงตัดรากมันด้วยมีดคือปัญญา

Everywhere flow the craving-streams, 
Everywhere the creepers sprout and stand. 
Seeing the creepers that have sprung high 
Do you cut their roots with your wisdom-knife.

๘. สริตานิ สิเนหิตานิ จ 
โสมนสฺสานิ ภวนฺติ ชนฺตุโน 
เต สาตสิตา สุเขสิโน 
เต เว ชาติชรูปคา นรา ฯ ๓๔๑ ฯ

สัตว์ทั้งหลาย มีแต่โสมนัส 
ชุ่มชื้นไปด้วยรักเสน่หา 
ซาบซ่านในกามารมณ์ทั้งปวง 
พวกเขาใฝ่แสวงแต่ความสุขสันต์หรรษา 
ก็ต้องเกิดต้องแก่อยู่ร่ำไป

To beings there arise wide-ranging pleasures 
That are moistened with lustful desires. 
Bent on pleasures, seeking after sexual joys, 
They, verily, fall prey to birth-and decay.

๙. ตสิณาย ปุรกฺขตา ปชา 
ปริสปฺปนฺติ สโสว พาธิโต 
สํโยชนสงฺคสตฺตา 
ทุกฺขมุเปนฺติ ปุนปฺปุนํ จิราย ฯ ๓๔๒ ฯ

เหล่าสัตว์ ติดกับตัณหา 
การเสือกกระสน ดุจกระต่ายติดบ่วง 
สัตว์ทั้งหลายติดอยู่ในกิเลสเครื่องผูกมัด 
ย่อมประสบทุกข์บ่อยๆ ตลอดกาลนาน

Enwrapped in lust, beings run about, 
Now here now there like a captive hare. 
Held fast by fetters they suffer 
Again and again for long.

๑๐. ตสิณาย ปุรกฺขตา ปชา 
ปริสปฺปนฺติ สโสว พาธิโต 
ตสฺมา ตสิณํ วิโนทเย 
ภิกฺขุ อากงฺชํ วิราคมตฺตโน ฯ ๓๔๓ ฯ

เหล่าสัตว์ ติดกับตัณหา 
กระเสือกกระสน ดุจกระต่ายติดบ่วง 
ฉะนั้นภิกษุ เมื่อหวังให้กิเลสจางคลาย 
ก็พึงทำลายตัณหาเสีย

Enwrapped in lust, beings run about, 
Now here now there like a captive hare. 
So let a bhikkhu shake off craving 
If he wishes his own passionlessness.
๑๑. โย นิพฺพนฏฺโฐ วนาธิมุตฺโต 
วนมุตฺโต วนเมว ธาวติ 
ตํ ปุคฺคลเมว ปสฺสถ 
มุตฺโต พนฺธนเมว ธาวติ ฯ ๓๔๔ ฯ

บุคคลใดสละเพศผู้ครองเรือน 
ถือเพศบรรพชิตปราศจากเรือน 
พ้นจากป่ากิเลสแล้วยังวิ่งกลับไปหาป่านั้นอีก 
พวกเธอจงดูบุคคลนั้นเถิด 
เขาออกจากที่คุมขังแล้วยังวิ่งกลับเข้าที่คุมขังอีก

Released from jungle of the household life, 
He turns to the bhikkhu jungle-life. 
Though freed from the household wilds 
He runs back to that very wilds again. 
Come indeed and behold such a man. 
Freed he turns to that bondage again.

๑๒. น ตํ ทฬฺหํ พนฺธนมาหุ ธีรา 
ยทายสํ ทารุชปพฺพฃญฺจ 
สารตฺตรตฺตา มณิกุณฺฑเลสุ 
ปุตฺเตสุ ทาเรสุ จ ยา อเปกฺขา ฯ๓๔๕ ฯ

เครื่องจองจำที่ทำด้วยเหล็ก ไม้ และปอป่าน 
ท่านผู้รู้กล่าวว่า ยังไม่ใช่เครื่องจองจำที่มั่นคง 
แต่ความกำหนัดยินดีในเครื่องเพชร บุตร ภริยา 
เป็นเครื่องจองจำที่มั่นคงยิ่งนัก

Not strong are bonds made of iron, 
Or wood, or hemp, thus say the wise. 
But attachment to jewelled ornaments, 
Children and wives is a strong tie.

๑๓. เอตํ ทฬฺหํ พนฺธนมาหุ ธีรา 
โอหารินํ สิถิลทุปฺปมุญฺจํ 
เอตํปิ เฉตฺวาน ปริพฺพชนฺติ 
อนเปกฺขิโน กามสุขํ ปหาย ฯ ๓๔๖ ฯ

ท่านผู้รู้กล่าวว่า เครื่องจองจำชนิดนี้มั่นคง 
มักฉุดลากลงที่ต่ำ คล้ายผูกไว้หลวมๆแต่แก้ยากนัก 
ผู้รู้ทั้งหลายจึงทำลายเครื่องจองจำนี้เสีย 
ละกามสุขออกบวชโดยไม่ไยดี
This is a strong bond, says the wise, 
Down-hurling, loose but hard to untie. 
This too they cut off and leave the world, 
With no longing, renouncing the sense-pleasures.

๑๔. เย ราครตฺตานุปตนฺติ โสตํ 
สยํ กตํ มกฺกฏโกว ชาลฺ 
เอตํปิ เฉตฺวาน วชนฺติ ธีรา 
อนเปกฺขิโน สพฺพทุกฺขํ ปหาย ฯ ๓๔๗ ฯ

ผู้ถูกราคะครอบงำ ย่อมถลำลงสู่กระแสตัณหา 
เหมือนแมลงมุมตกลงไปยังใยที่ตนถักไว้เอง 
ผู้ฉลาดทั้งหลาย จึงทำลายเครื่องจองจำนี้ 
ละทุกข์ทั้งปวง ออกบวชโดยไม่ไยดี

They who are attached to lust fall back 
To (craving's) streams as a spider self-spun web; 
This too the wise cut off and 'go forth', 
With no longing, leaving all sorrow behind.

๑๕. มุญฺจ ปุเร มุญฺจ ปจฺฉโต 
มชฺเฌ มุญฺจ ภวสฺส ปารคู 
สพฺพตฺถ วิมุตฺตมานโส 
น ปุน ชาติชรํ อุเปหิสิ ฯ ๓๔๘ ฯ

จงปล่อยวางทั้งอดีตอนาคตและปัจจุบัน 
และอยู่เหนือความมีความเป็น 
เมื่อใจหลุดพ้นจากทุกอย่างแล้ว 
พวกเธอจักไม่เกิดไม่แก่อีกต่อไป

Let go the past, let go the future too, 
Let go the present and go beyond becoming. 
With mind released from everything, 
To birth-and-decay you shall come no more.

๑๖. วิตกฺกมถิตสฺส ชนฺตุโน 
ติพฺพราคสฺส สุภานุปสฺสิโน 
ภิยฺโย ตณฺหา ปวฑฺฒติ 
เอส โข ทฬฺหํ กโรติ พนฺธนํ ฯ ๓๔๙ ฯ

ผู้เป็นทาสวิตกจริต มีจิตกำหนัดยินดี 
ติดอยู่ในสิ่งที่สวยงาม 
มีแต่จะพอกความอยากให้หนา 
กระชับเครื่องพันธนาการให้แน่นเข้า

For him who is of restless mind, 
Who is of powerful passions, 
Who sees but the pleasurable, 
Craving increases all the more. 
Indeed he makes the bond strong.

๑๗. วิตกฺกูปสเม จ โย รโต 
อสุภํ ภาวยตี สทา สโต 
เอส โข พฺยนฺติกาหติ 
เอสจฺฉินฺทติ มารพนฺธนํ ฯ ๓๕๐ ฯ

ผู้ตั้งใจระงับความคิดฟุ้งซ่าน 
เจริญอสุภกรรมฐานวิธี มีสติทุกเวลา 
จักขจัดตัณหาหมดสิ้นไป 
ทำลายเครื่องผูกของมาร

He who delights in subduing thoughts, 
He who meditates on impurities of things, 
He who is ever full of mindfulness- 
It is he who will make an end of suffering 
And destroy the Mara's bond.

๑๘. นิฏฺฐงฺคโต อสนฺตาสี 
วีตตณฺโห อนงฺคโณ 
อจฺฉินฺทิ ภวสลฺลานิ 
อนฺติโมยํ สมุสฺสโย ฯ ๓๕๑ ฯ

พระอรหันตฺผู้ลุถึงจุดหมายปลายทางแล้ว 
หมดความสุดุ้ง หมดกิเลสตัณหาแล้ว 
หักลูกศรคือกิเลสประจำภพแล้ว 
ร่างกายนี้เป็นร่างสุดท้ายของท่าน

He has reached the final goal, 
He is fearless, without lust, without passions. 
He has broken the shafts of existence. 
Of such an arahant this body is his last.
๑๙. วีตตณฺโห อนาทาโน 
นิรุตฺติปทโกวิโท 
อกฺชรานํ สนฺนิปาตํ 
ชญฺญา ปุพฺพาปรานิ จ 
สเว อนฺติมสารีโร 
มหาปญฺโญ มหาปุรโสติ วุจฺจติ ฯ ๓๕๒ ฯ

หมดตัณหา ไม่ยึดมั่น ฉลาดในนิรุกติ 
รู้กลุ่มอักษรและรู้ลำดับหน้าหลัง 
ท่านผู้มีสรีระสุดท้ายนี้แล 
เรียกว่า มหาปราชญ์ และ มหาบุรุษ

Free from craving and grasping, 
Well-versed in analytical knowledge, 
Knowing the texual orders and their sequence, 
He of his last body is, indeed, called 
One of great wisdom and a great man.

๒๐. สพฺพาภิภู สพฺพวิทูหมสฺมิ 
สพฺเพสุ ธมฺเมสุ อนูปลิตฺโต 
สพฺพญฺชโห ตณฺหกฺขเย วิมุตฺโต 
สยํ อภิญฺญาย กมุทฺทิเสยฺยํ ฯ ๓๕๓ ฯ

เราเอาชนะทุกอย่าง เราตรัสรู้ทุกอย่าง 
เรามิได้ติดในทุกอย่าง เราละได้ทุกอย่าง 
เราเป็นอิสระเพราะสิ้นตัณหา เราตรัสรู้ด้วยตนเอง 
และจะอ้างใคร เป็นครูเราเล่า

All have I overcome, 
All do I know, 
From all am I detached, 
All have I removed, 
Thorougly freed am I 
Through the destruction of craving, 
Having realized all by myself, 
Whom shall I call my teacher?
๒๑. สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ 
สพฺพํ รสํ ธมฺมรโส ชินาติ 
สพฺพํ รตึ ธมฺมรตี ชินาติ 
ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺขํ ชินาติ ฯ ๓๕๔ ฯ

ธรรมทาน ชนะทานทุกอย่าง 
รสพระธรรม ชนะรสทุกอย่าง 
ความยินดีในธรรม ชนะความยินดีทุกอย่าง 
ความสิ้นตัณหา ชนะทุกข์ทุกอย่าง

All gifts the gift of Truth excels. 
All tastes the taste of Truth excels. 
All delights the delight in Truth excels. 
All sorrows the end of craving excels.

๒๒. หนนฺติ โภคา ทุมฺเมธํ 
โน จ ปารคเวสิโน 
โภคตณฺหาย ทุมฺเมโธ 
หนฺติ อญฺเญว อตฺตนํ ฯ ๓๕๕ ฯ

โภคทรัพย์ ทำลายคนโง่ 
แต่ทำลายคนที่ใฝ่แสวงนิพพานไม่ได้ 
เพราะโลภในโภคทรัพย์ คนโง่ย่อมทำลายคนอื่น 
และ (ผลที่สุดก็ทำลาย) ตนเอง

Riches ruin the fool 
But not those seeking Nibbana. 
Craving for wealth, the foolish man 
Ruins himself by destroying others.

๒๓. ติณโทสานิ เขตฺตานิ 
ราคโทสา อยํ ปชา 
ตสฺมา หิ วีตราเคสุ 
ทินฺนํ โหติ มหปฺผลํ ฯ ๓๕๖ ฯ

หญ้า ทำให้ที่นาเสียหาย 
ราคะ ทำให้คนเสียหาย 
ฉะนั้น ทานที่ถวายแก่ผู้ปราศจากราคะ 
จึงมีผลมหาศาล

Weeds are the bane of fields, 
Lust is the bane of mankind. 
Hence offerings made to lustless ones 
Yield abundant fruit.

๒๔. ติณโทสานิ เขตฺตานิ 
โทสโทสา อยํ ปชา 
ตสฺมา หิ วีตโทเสสุ 
ทินฺนํ โหติ มหปฺผลํ ฯ ๓๕๗ ฯ

หญ้า ทำให้ที่นาเสียหาย 
โทสะ ทำให้คนเสียหาย 
ฉะนั้น ทานที่ถวายแก่ผู้ปราศจากโทสะ 
จึงมีผลมหาศาล

Weeds are the bane of fields, 
Hate is the bane of mankind. 
Hence offerings made to hateless ones 
Yield abundant fruit.
๒๕. ติณโทสานิ เขตฺตานิ 
โมหโทสา อยํ ปชา 
ตสฺมา หิ วีตโมเหสุ 
ทินฺนํ โหติ มหปฺผลํ

หญ้า ทำให้ที่นาเสียหาย 
โมหะ ทำให้คนเสียหาย 
ฉะนั้น ทานที่ถวายแก่ผู้ปราศจากโมหะ 
จึงมีผลมหาศาล

Weeds are the bane of fields, 
Delusion is the bane of mankind. 
Hence offerings made to delusionless ones 
Yield abundant fruit.

๒๖. ติณโทสานิ เขตฺตานิ 
อิจฺฉาโทสา อยํ ปชา 
ตสฺมา หิ วิคติจฺเฉสุ 
ทินฺนํ โหติ มหปฺผลํ ฯ ๓๕๙ ฯ

หญ้า ทำให้ที่นาเสียหาย 
ความอยาก ทำให้คนเสียหาย 
ทานที่ถวายแก่ผู้ปราศจากความอยาก 
จึงมีผลมหาศาล

Weeds are the bane of fields, 
Thirst is the bane of mankind. 
Hence offerings made to thirstless ones 
Yield abundant fruit.

หมวดภิกษุ - THE MONK
๑. จกฺขุนา สํวโร สาธุ 
สาธุ โสเตน สํวโร 
ฆาเนน สํวโร สาธุ 
สาธุ ชิวฺหาย สํวโร ฯ ๓๖๐ ฯ 
สำรวมทางตา เป็นการดี 
สำรวมทางหู เป็นการดี 
สำรวมทางจมูก เป็นการดี 
สำรวมทางลิ้น เป็นการดี


Good is restraint in the eye. 
Good is restraint in the ear. 
Good is restraint in the nose. 
Good is restraint in the tongue.

๒. กาเยน สํวโร สาธุ 
สาธุ วาจาย สํวโร 
มนสา สํวโร สาธุ 
สาธุ สพฺพตฺถ สํวโร 
สพฺพตฺถ สํวุโต ภิกฺขุ 
สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ ฯ ๓๖๑ ฯ

สำรวมทางกาย เป็นการดี 
สำรวมทางวาจา เป็นการดี 
สำรวมทางใจ เป็นการดี 
ภิกษุ ผู้สำรวมทุกทาง 
ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวง

Good is restraint in deed. 
Good is restraint in speech. 
Good is restraint in thought. 
Good is restraint everywhere 
The bhikkhu restrained everywhere 
Shall leave all sorrow behind.

๓. หตฺถสญฺญโต ปาทสญฺญโต 
วาจาสญฺญโต สญฺญตตฺตโม 
อชฺฌตฺตรโต สมาหิโต 
เอโก สนฺตุสิโต ตมาหุ ภิกฺขํ ฯ ๓๖๒ ฯ

ผู้สำรวมมือ สำรวมเท้า สำรวมวาจา 
สำรวมกาย ยินดีในการบำเพ็ญวิปัสสนา 
มีใจเป็นสมาธิ สันโดษอยู่เดียวดาย 
ได้สมญาว่า ภิกษุ

He who is controlled in hand and foot. 
He who is controlled in speech and body. 
He who is with inward joy and settled mind. 
He who is solitarily controlled- 
Such a one they call a bhikkhu.

๔. โย มุขสญฺญโต ภิกฺขุ 
มนฺตภาณี อนุทฺธโต 
อตฺถํ ธมฺมญฺจ ทีเปติ 
มธุรนฺตสฺส ภาสิตํ ฯ ๓๖๓ ฯ

ภิกษุผู้สำรวมปาก 
พูดด้วยปัญญา ไม่ถือตัว 
ชี้แจงตำราและใจความถูกต้อง 
ถ้อยคำของภิกษุนั้น นับว่าไพเราะแท้

The bhikkhu who is well-controlled in tongue, 
Who speaks with wisdom and without pride, 
Who explains the text and its meaning- 
Sweet indeed is his speech.

๕. ธมฺมาราโม ธมฺมรโต 
ธมฺมํ อนุวิจินฺตยํ 
ธมฺมํ อนสฺสรํ ภิกฺขุ 
สทฺธมฺมา น ปริหายติ ฯ ๓๙๔ ฯ

ภิกษุผู้อยู่ในธรรม ยินดีในธรรม 
พินิจพิจารณาธรรม 
และรำลึกถึงธรรมเสมอ 
ย่อมไม่เสื่อมจากพระสัทธรรม

Dwelling in the Dharma, 
Delighting in the Dharma, 
Investigating the Dharma, 
Remembering the Dharma, 
That bhikkhu falls not away 
From the Dharma sublime.

๖. สลาภํ นาติมญฺเญยฺย 
นาญฺเญสํ ปิหยํ จเร 
อญฺเญสํ ปิหยํ ภิกฺขุ 
สมาธึ นาธิคจฺฉติ ฯ ๓๖๕ ฯ

ไม่พึงดูหมิ่นลาภของตน 
ไม่พึงริษยาลาภคนอื่น 
เมื่อภิกษุมัวริษยาลาภคนอื่น 
ใจย่อมไม่เป็นสมาธิ

Let him not despise his own gains. 
Let him not envy those of others. 
The bhikkhu envying the others' gains, 
Does not attain concentration.

๗. อปฺปลาโภปิ เจ ภิกฺขุ 
สลาภํ นาติมญฺญติ 
ตํ เว เทวา ปสํสนฺติ 
สุทฺธาชีวึ อตนฺทิตํ ฯ ๓๖๖ ฯ

ภิกษุถึงมีลาภน้อย แต่ไม่ดูหมิ่นลาภของตน 
มีอาชีวะบริสุทธิ์ ไม่เกียจคร้าน 
ย่อมได้รับคำฃมเชยจากทวยเทพ

Though a recipient of little, 
A bhikkhu despises not his own. 
Him of pure and strenuous life, 
Devas look up to high.

๘. สพฺพโส นามรูปสฺมึ 
ยสฺส นตฺถิ มมายิตํ 
อสตา จ น โสจติ 
ส เว ภิกฺขูติ วุจฺจติ ฯ ๓๖๗ ฯ

ผู้ไม่ยึดมั่นโดยประการทั้งปวง 
ว่า "กู" "ของกู" ไม่ว่าในรูปหรือนาม 
เมื่อไม่มี ก็ไม่เศร้าโศก 
เขาผู้นั้นแหละ เรียกได้ว่า ภิกษุ

He who grasps at neither 'I' nor 'Mine', 
Neither in mentality nor in materiality, 
Who grieves not for what is not- 
Such a one indeed is called a bhikkhu.

๙. เมตฺตาวิหาริ โย ภิกฺขุ 
ปสนฺโน พุทฺธสาสเน 
อธิคจฺเฉ ปทํ สนฺตํ 
สงฺขารูปสมํ สุขํ ฯ ๓๖๘ ฯ

ภิกษุ ผู้อยู่ด้วยเมตตา 
เลื่อมใสในพุทธศาสนา 
พึงลุถึงสภาวะอันสงบ 
อันเป็นสุข ระงับสังขาร

The bhikkhu who abides in loving-kindness, 
And who is pleased with the Buddha's teaching, 
Shall attain to the Peaceful State, 
The happy stilling of conditioned things.

๑๐. สิญฺจ ภิกฺขุ อิมํ นาวํ 
สิตฺตา เต ลหุเมสฺสติ 
เฉตฺวา ราคญฺจ โทสญฺจ 
ตโต นิพฺพานเมหิสิ ฯ ๓๖๙ ฯ

ภิกษุ เธอจงวิดน้ำออกจากเรือนี้ 
เมื่อวิดน้ำออกหมดแล้ว เรือจักแล่นเร็ว 
ทำลายราคะ โทสะ (โมหะ) เสียแล้ว 
เธอจักไปถึงพระนิพพาน

Empty this boat, O bhikkhu! 
When emptied, it will swiftly move 
Cutting off lust, hatred (and ignorance) 
To Nibbana will you thereby go.

๑๑. ปญฺจ ฉินฺเท ปญฺจ ชเห 
ปญฺจ จุตฺตริ ภาวเย 
ปญฺจ สงฺคาติโค ภิกฺขุ 
โอฆติณฺโณติ วุจฺจติ ฯ ๓๗๐ ฯ

จงตัดออกห้า ละทิ้งห้า 
ทำให้เจริญเติบโต อีกห้า 
พ้นเครื่องผูกพันห้าชนิด 
ภิกษุจึงได้ชื่อว่า ผู้ข้ามน้ำ

Cut off the Five, give up the Five 
Cultivate further more the Five 
The bhikkhu, from the Five Fetters freed, 
A Flood-Crosser is he called.


๑๒. ฌาย ภิกฺขุ มา จ ปมาโท 
มา เต กามคุเณ ภมสฺสุ จิตฺตํ 
มา โลหคุฬํ คิลี ปมตฺโต 
มา กนฺทิ ทุกฺขมิทนฺติ ทยฺหมาโน ฯ ๓๗๑ ฯ


เจริญภาวนาเถิด ภิกษุ อย่ามัวประมาท 
อย่าปล่อยใจเวียนวนอยู่แต่ในกามคุณ 
อย่าได้เผลอกลืนกินก้อนเหล็กแดง 
อย่าปล่อยให้ความทุกข์เผาผลาญเสียเอง 
แม้มัวคร่ำครวญว่า "โอ นี่ทุกข์จริงๆ"

Meditate, O bhikkhu! 
Be not heedless. 
Let not your mind dwell 
On sensual pleasures. 
Do not carelessly swallow 
A red-hot iron ball. 
Do not as you burn bewail 
'O this indeed is ill'.

๑๓. นตฺถิ ฌานํ อปญฺญสฺส 
นตฺถิ ปญฺญา อฌายิโน 
ยมฺหิ ฌานญฺจ ปญฺญา จ 
ส เว นิพฺพานสนฺติเก ฯ ๓๗๒ ฯ

เมื่อไม่มีปัญญา ก็ไม่มีความเพ่งพินิจ 
เมื่อไม่มีความเพ่งพินิจ ก็ไม่มีปัญญา 
ผู้ใดมีทั้งความเพ่งพินิจ และปัญญา 
ผู้นั้น นับว่าอยู่ใกล้นิพพาน

There is no concentration 
For one who lacks wisdom, 
Nor is there wisdom 
For one who lacks concentration 
In whom there are found 
Both concentration and wisdom- 
He indeed is in the presence of Nibbana.

๑๔. สุญฺญคารํ ปวิฏฺฐสฺส 
สนฺตจิตฺตสฺส ภิกฺขุโน 
อมานุสี รตี โหติ 
สมฺมา ธมฺมํ วิปสฺสโต ฯ ๓๗๓ ฯ

ภิกษุผู้ไปสู่ที่สงัด มีใจสงบ 
เห็นแจ้งพระธรรมโดยชอบ 
ย่อมได้รับความยินดี 
ที่สามัญมนุษย์ไม่เคยได้ลิ้มรส


The bhikkhu gone to solitude, 
Having calmed his mind, 
Clearly perceiving the Teaching, 
Experiences a peaceful joy 
That has never before been 
Tasted by the worldings.


๑๕. ยโต ยโต สมฺมสติ 
ขนฺธานํ อุทยพฺพยํ 
ลภติ ปีติปาโมชฺชํ 
อมตนฺตํ วิชานตํ ฯ ๓๗๔ ฯ

ไม่ว่าเมื่อใด พระอรหันต์พิจารณาเห็น 
ความเกิดและความดับแห่งขันธ์ทั้งหลาย 
ท่านย่อมได้ปีติ และปราโมทย์ 
ซึ่งเป็นสิ่งอมตะสำหรับท่านผู้รู้ทั้งหลาย

Whenever he reflects 
On the rise and fall of Aggregates; 
He experiences joy and happiness, 
To the knowing ones that is Deathless.

หมวดพราหมณ์ - THE BRAHMANA

๑. ฉินฺท โสตํ ปรกฺกมฺม
กาเม ปนูท พฺราหฺมณ
สงฺขารานํ ขยํ ญตฺวา
อกตญฺญูสิ พฺราหฺมณ ฯ ๓๘๓ ฯ


พราหมณ์เอย ท่านจงพยายามหยุดกระแส (ตัณหา)
และบรรเทากามทั้งหลายเสีย พราหมณ์เอย
เมื่อท่านรู้ความสิ้นไปแห่งสิ่งปรุงแต่งทั้งหลาย
ท่านก็จะรู้สิ่งที่ไม่ปรุงแต่ง (นิพพาน)


Strive and stop the stream of craving,
Discrad, O brahmana, sense-desires.
Knowing conditioned things, brahmana,
You will know the Unconditioned.


๒. ยทา ทฺวเยสุ ธมฺเมสุ
ปารคู โหติ พฺราหฺมโณ
อภสฺส สพฺเพ สํโยคา
อฏฺฐํ คจฺฉนฺติ ชานโต ฯ ๓๘๔ ฯ

เมื่อใดพราหมณ์ข้ามถึงฝั่งโน้น (นิพพาน)
ด้วยการปฏิบัติธรรมทั้งสอง (สมถะและวิปัสนา)
เมื่อนั้นเครื่องผูกพันทั้งปวง
ของเขาผู้รู้จริงย่อมสิ้นไป

When depending on the twofold means,
A brahmana has reached the Other Shore,
Then of that one who knows,
All fetters remain no more.

๓. ยสฺส ปารํ อปารํ วา
ปาราปารํ น วิชฺชติ
วีตทฺทรฺ วิสํยุตฺตํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ณ ๓๘๕ ฯ

ผู้ใดไม่มีฝั่งนี้ หรือฝั่งโน้น
หรือไม่มีทั้งสองฝั่ง
ไม่มีความกระวนกระวายใจ เป็นอิสระ
ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์

For whom there exists
Neither the Hither nor the Father Shore,
Nor both the Hither and the Farther Shore,
He who is undistressed and unbound-
Him do I call a brahmana.
๔. ฌายึ วิรชมาสีนํ
กตกิจฺจํ อนาสวํ
อุตฺตมตฺถํ อนุปฺปตฺตํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๓๘๖ ฯ

ผู้ใดบำเพ็ญฌาน ปราศจากกิเลส
อยู่คนเดียว หมดกิจที่จะพึงทำ
หมดอาสวะ ลุถึงจุดหมายปลายทางแล้ว
ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์

Meditative, dwelling alone,
Free from passion taint,
Having done what should be done,
Devoid of all corruptions,
And having reached the Highest Goal-
Him do I call a brahmana

๕. ทิวา ตปติ อาทิจฺโจ
รตฺติมาภาติ จนฺทิมา
สนฺนทฺโธ ขตฺติโย ตปติ
ฌายี ตปติ พฺราหฺมโณ
อถ สพฺพมโหรตฺตึ
พุทฺโธ ตปติ เตชสา ฯ ๓๘๗ ฯ


พระอาทิตย์ สว่างกลางวัน
พระจันทร์ สว่างกลางคืน
นักรบสง่างามเมื่อสวมเกราะเตรียมรบ
พราหมณ์ สง่างามเมื่อเข้าฌาน
แต่พระพุทธเจ้าสง่างามทั้งกลางวันกลางคืน


By day the sun shines.
By night the moon is bright.
Armoured shines the warrior.
In meditation the brahmana glows.
But all day and all night,
The Buddha shines in splendour.


๖. พาหิตปาโป หิ พฺราหฺมโณ
สมจริยา สมโณติ วุจฺจติ
ปพฺพาชยมตฺตโน มลํ
ตสฺมา ปพฺพชิโตติ วุจฺจติ ฯ ๓๘๘ ฯ


ผู้ที่ชื่อว่าพราหมณ์ เพราะละบาปได้
ชื่อว่าสมณะ เพราะมีจรรยาสงบ
ชื่อว่าบรรพชิต เพราะละมลทินได้


Without evil he is called a brahmana.
He who lives in peace is called a samana.
With all impurities gone,
A pabbajita is he called.

๗. น พฺราหฺมณสฺส ปหเรยฺย
นาสฺส มุญฺเจถ พฺราหฺมโณ
ธิ พฺราหฺมณสฺส หนฺตารํ
ตโต ธิ ยสฺส มุญฺจติ ฯ ๓๘๙ ฯ


ไม่ควรรังแกพราหมณ์ (นักบวช)
และพราหมณ์ก็ไม่ควรแสดงความโกรธตอบ
คนที่รังแกพราหมณ์ เป็นคนน่าตำหนิ
แต่พราหมณ์ผู้โกรธตอบ น่าตำหนิกว่า


One should not strike a brahmana,
Nor such a brahmana vent his wrath on him.
Woe to him who strikes a brahamana.
More woe to him who gives way to his wrath.


๘. น พฺราหฺมณสฺเสตทกิญฺจิ เสยฺโย
ยทา นิเสโธ มนโส ปิเยหิ
ยโต ยโต หึสมโน นิวตฺตติ
ตโต ตโต สมฺมติเมว ทุกฺขํ ฯ ๓๙๐ ฯ


ไม่มีอะไรจะดีสำหรับพราหมณ์
เท่ากับหักห้ามใจจากปิยารมณ์
เมื่อใดเขาไม่เบียดเบียนคนอื่น
เมื่อนั้น ความทุกข์ก็สงบ


Naught is better for a brahmana.
Than restraint of mind from what is dear.
Whenever his ill will has been put aside,
Then and then only his sorrow subsides.


๙. ยสฺส กาเยน วาจาย
มนสา นตฺถิ ทุกฺกฏํ
สํวุตํ ตีหิ ฐาเนหิ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๓๙๑ ฯ


ผู้ใดไม่มีความชั่วทางกาย วาจา ใจ
สำรวมระวังทั้งสามทวาร
ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์
He in whom there is no evil done,
Through body speech or mind,
He who is restrained in the three ways-
Him do I call a brahmana.


๑๐. ยมฺหา ธมฺมํ วิชาเนยฺย
สมฺมาสมฺพุทฺธเทสิตํ
สกฺกจฺจํ ตํ นมสฺเสยฺย
อคฺคิหุตฺตํว พฺราหฺมโณ ฯ ๓๙๒ ฯ


เมื่อรู้ธรรมที่พุทธเจ้าทรงแสดง
จากบุคคลใด
ควรเคารพนอบน้อมบุคคลนั้น
เหมือนพราหมณ์บูชาไฟ


From whom one knows the Truth Sublime
Which the Awakened One proclaimed,
Devotedly should one revere him,
As a brahmana tends the sacrificial fire.

๑๑. น ชฏาหิ น โคตฺเตน
น ชจฺจา โหติ พฺราหฺมโณ
ยมฺหิ สจฺจญฺจ ธมฺโม จ
โส สุจี โส จ พฺราหฺมโณ ฯ ๓๙๓ ฯ


มิใช่เพราะมุ่นชฏา มิใช่เพราะโคตร
มิใช่เพราะกำเนิด (ที่ดี) ที่ทำคนให้เป็นพราหมณ์
ใครก็ตามมีสัจจะและทรงธรรม
ย่อมจะบริสุทธิ์ล้ำและเป็นพราหมณ์


Not by matted hair, nor by clan, nor by birth,
Does one become a brahmana.

In whom there are truth and righteouseness,
Pure is he, a brahmana is he.


๑๒. กึ เต ชฏาหิ ทุมฺเมธ
กึ เต อชินสาฏิยา
อพฺภนฺตรํ เต คหณํ
พาหิรํ ปริมชฺชสิ ฯ ๓๙๔ ฯ


เจ้าโง่เอ๋ย ผมยาว หนังสัตว์
จะมีประโยชน์อะไรสำหรับเจ้า
ภายนอกเจ้าสะอาดสดใส
แต่ภายในเจ้ารกรุงรัง


What use of your matted hair, O foolish one?
And what of your entelope-garment?
Full of impurities is your mind,
You embellish only the outside.
๑๓. ปํสุกูลธรํ ชนฺตุํ
กิสํ ธมนิสนฺถตํ
เอกํ วนสฺมึ ฌายนฺตํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๓๙๕ ฯ
ผู้ทรงผ้าบังสุกุล
ผอมจนเห็นแต่เส้นเอ็น
บำเพ็ญฌานในป่าเปลี่ยวคนเดียว
เราเรียกว่า พราหมณ์


Clad in rag-robes and lean,
With body overspread by veins,
Meditationg in the forest alone-
Him do I call a brahmana.


๑๔. น จาหํ พฺราหฺมณํ พฺรูมิ
โยนิชํ มตฺติสมฺภวํ
โภวาที นาม โส โหติ
ส เว โหติ สกิญฺจโน
อกิญฺจนฺ อนาทานํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๓๙๖ ฯ


เพียงเกิดในตระกูลพราหมณ์
หรือมีมารดาเป็นพราหมณ์
เราไม่เรียกเขาว่า พราหมณ์
หากเขายังมีกิเลสอยู่
เขาก็เป็นพราหมณ์แต่ชื่อ
ผู้ใดหมดกิเลสไม่ยึดมั่นถือมั่น
ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์


I do not call him a brahmana
Merely because he is born of a womb
Or sprung from a brahmani.
If he is full of impediments,
He is merely a brahmana by name.
He who is free from impediments and clinging-
Him do I call a brahmana.


๑๕. สพฺพสญฺโญชนํ เฉตฺวา
โย เว น ปริตสฺสติ
สงฺคาติคํ วิสํยุตฺตํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๓๙๗ ฯ


ผู้ใดตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้หมดสิ้น
ไม่หวาดกลัว หมดพันธะ
เป็นอิสระจากเครื่องจองจำคือกิเลส

ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์

He who has cut off all bonds,
He who trembles not,
He who is free and unbound-
Him do I call a brahmana.

๑๖. เฉตฺวา นทฺธึ วรตฺตญฺจ
สนฺทานํ สหนุกฺกมํ
อุกฺขิตฺตปลิฆํ พุทฺธํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๓๙๘ ฯ


ผู้ที่ตัดชะเนาะ (ความโกรธ) เชือกหนัง (ตัณหา)
เชือกป่าน (ความเห็นผิด) พร้อมทั้งอนุสัยกิเลส
ถอดลิ่มสลัก (อวิชชา) รู้แจ้งอริยสัจแล้ว
เราเรียกว่า พราหมณ์


He who has cut off the strap (of hatred),
The thong (of craving),
The rope (of heresies),
Together with all tendencies:
He who has thrown up the cross-bar
(ignorance)
And has realized the Truth-
Him do I call a brahmana.

๑๗. อกฺโกสํ วธพนฺธญฺจ
อทุฏฺโฐ โย ติติกฺขติ
ขนฺติพลํ พลานีกํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๓๙๙ ฯ


ผู้ใดไม่โกรธ ทนต่อการด่า
และการลงโทษจองจำ
มีขันติเป็นกำลังทัพ
ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์


He who is not wrathful
Bears reviling, blows and bonds,
Whose power, the potent army, is patience-
Him do I call a brahmana.

๑๘. อกฺโกธนํ วตวนฺตํ
สีลวนฺตํ อนุสฺสทํ
ทนฺตํ อนฺติมสารีรํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๐๐ ฯ


ผู้ใดไม่มักโกรธ ทรงศีลพรต
หมดกิเลสฝึกฝนตน
มีชีวิตอยู่ในโลกนี้เป็นครั้งสุดท้าย
ผู้นั้น เราเรียกว่า พราหมณ์


He who is free from anger,
He who is dutiful and righteous,
He who is without craving, and controlled;
And he who bears his final body-
Him do I call a brahmana.

๑๙. วาริ โปกฺขรปตฺเตว
อารคฺเคริว สาสโป
โย น ลิปฺปติ กาเมสุ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๐๑ ฯ


ผู้ใดไม่ติดในกาม
เหมือนหยาดน้ำไม่ติดใบบัว
และเมล็ดผักกาดไม่ติดปลายเข็ม
ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์


Like water on a lotusleaf,
Like a mustard seed on a needle's point,
He who clings not to sensual pleasures-
Him do I call a brahmana.

๒๐. โย ทุกฺขสฺส ปชานาติ
อิเธว ขยมตฺตโน
ปนฺนภารํ วิสํยุตฺตํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๐๒ ฯ


ผู้รู้วิธีดับทุกข์ของตนได้ในโลกนี้
หมดภาระแบกหามกิเลส
เป็นอิสระจากกิเลส
เราเรียกว่า พราหมณ์


He who has realized in this world
The destruction of his own ill,
Who has put aside the burden and is freed-
Him do I call a brahmana.

๒๑. คมฺภีรปญฺญํ เมธาวึ
มคฺคามคฺคสฺส โกวิทํ
อุตฺตมตฺถํ อนุปฺปตฺตํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๐๓ ฯ


ผู้มีปัญญาลึกซึ้ง หลักแหลม
ฉลาดเลือกทางผิดทางชอบ
บรรลุถึงจุดหมายปลาทางอันอุดม
เราเรียกว่า พราหมณ์


He whose wisdom is deep,
Who is wise and skilled
In the right and wrong means,
Who has reached the Highest Goal-
Him do I call a brahmana.


๒๒. อสํสฏฺฐํ คหฏฺเฐหิ
อนาคาเรหิ จูภยํ
อโนกสารึ อปฺปิจฺฉํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๐๔ ฯ


ผู้ไม่คลุกคลีกับบุคคลทั้งสองฝ่าย
คือคฤหัสถ์และบรรพชิต
จรไปคนเดียว ไม่ติดถิ่น มักน้อย
เราเรียกว่า พราหมณ์


He who is not intimate
With both householder and homeless,
Who with no fixed abode
Wanders, wanting but little-
Him do I call a brahmana.


๒๓. นิธาย ทณฺฑํ ภูเตสุ
ตเสสุ ถาวเรสุ จ
โย น หนฺติ น ฆาเตติ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๐๕ ฯ


ผู้งดเบียดเบียนสัตว์อื่น
ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่
ไม่ฆ่าเอง ไม่สั่งให้คนอื่นฆ่า
เราเรียกว่า พราหมณ์


He who has given up harming creatures,
Whether feeble or strong,
Who neither kills nor causes to kill-
Him do I call a brahmana.


๒๔. อวิรุทฺธํ วิรุทฺเธสุ
อตฺตทณฺเฑสุ นิพฺพุตํ
สาทาเนสุ อนาทานํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๐๖ ฯ


ผู้ไม่ดุร้าย กลางกลุ่มชนผู้ดุร้าย
สงบ กลางกลุ่มชนผู้ทารุณ
ไม่ยึดมั่นกลางกลุ่มผู้ยึดมั่น
เราเรียกว่า พราหมณ์


Friendly among the hostile,
Peaceful among the violent,
Ungrasping among the grasping-
Him do I call a brahmana.


๒๕. ยสฺส ราโค จ โทโส จ
มาโน มกฺโข จ ปาติโต
สาสโปริว อารคฺคา
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหมณํ ฯ ๔๐๗ ฯ


ความกำหนัด ความขัดเคือง ความหยิ่ง
ความดูถูกบุญคุณคนอื่น หมดไปจากผู้ใด
เหมือนเมล็ดผักกาด ตกไปจากปลายเข็ม
ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์


In whom lust, hatred, pride
And detraction are fallen off,
As a mustard seed from the needle's point-
Him do I call a brahmana.


๒๖. อกกฺกสํ วิญฺญาปนึ
คิรํ สจฺจํ อุทีรเย
ยาย นาภิสเช กญฺจิ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๐๘ ฯ


ผู้พูดถ้อยคำนิ่มนวล
แจ่มกระจ่าง สัตย์จริง
ไม่กระทบกระทั่งใคร
เราเรียกว่า พราหมณ์


He who utters words
Gentle, instructive and true,
He who gives offence to none
Him do I call a brahmana.

๒๗. โยธ ทีฆํ วา รสฺสํ วา
อณุํ ถูลํ สุภาสุภํ
โลเก อทินฺนํ นาทิยติ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๐๙ ฯ


ผู้ใดไม่ขโมยของคนอื่น
ไม่ว่าสั้นหรือยาว
เล็กหรือใหญ่ ดีหรือไม่ดี
ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์


He who in this world
Takes not what is not given,
Be it long or short,
Small or great, fair or foul-
Him do I call a brahmana.


๒๘. อาสา ยสฺส น วิชฺชนฺติ
อสฺมึ โลเก ปรมฺหิ จ
นิราสยํ วิสํยุตฺตํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๑๐ ฯ


ผู้ใดไม่มีความอยาก
ในโลกนี้และโลกหน้า
หมดกิเลส เป็นอิสระ
ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์


He who has no longing
Either for this world or nexto world,
Who is detached and emancipated-
Him do I call a brahmana.


๒๙. ยสฺสาลยา น วิชฺชนฺติ
อญฺญาย อกถํกถี
อมโตคธํ อนุปฺปตฺตํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๑๑ ฯ


ผู้ใดหมดตัณหา
หมดสงสัย เพราะรู้แจ้งจริง
ลุถึงอมตนิพพานแล้ว
ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์


He who has no more longing,
Who through knowledge is free from doubts,
Who has plunged deep into the Deathless-
Him do I call a brahmana.


๓๐. โยธ ปุญฺญญฺจ ปาปญฺจ
อุโภ สงฺคํ อุปจฺจคา
อโสกํ วิรชํ สุทฺธํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๑๒ ฯ


ผู้ละบุญละบาปได้
พ้นกิเลสผูกพัน
ไม่โศก ไม่มีกิเลส บริสุทธิ์
เราเรียกว่า พราหมณ์


He who has passed beyond
Good and bad and attachment,
Who is sorrowless, stainless and pure-
Him do I call a brahmana.

๓๑. จนฺท ว วิมลํ สุทฺธํ
วิปฺปสนฺนํ อนาวิลํ
นนฺทิภวปริกฺขีณํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๑๓ ฯ


ผู้บริสุทธิ์ เหมือนจันทร์แจ่ม สงบ
ผ่องใส หมดความพอใจในภพ
เราเรียกว่า พราหมณ์


He who is pure as the spotless moon,
He who is serene and clear,
He who has ended delight in existence-
Him do I call a brahmana.


๓๒. โย อิมํ ปลิปถํ ทุคฺคํ
สํสารํ โมหมจฺจคา
ติณฺโณ ปารคโต ฌายี
อเนโช อกถํกถี
อนุปาทาย นิพฺพุโต
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๑๔ ฯ


ผู้ข้ามสงสารวัฏ และโมหะ
อันเป็นทางหล่มที่ข้ามได้แสนยากนี้
ลุถึงฝั่งโน้น เป็นนักกรรมฐาน
หมดตัณหา หมดความสงสัย
หมดความยึดมั่น บรรลุนิพพาน
เราเรียกว่า พราหมณ์


He who has passed beyond
This quagmire, this difficult path,
The ocean (of life) and delusion,
Who has crossed and gone beyond,
Who is meditative, desireless and doubtless,
Who, clinging to nought, has attained Nibbana-
Him do I call a brahmana.


๓๓. โยธ กาเม ปหตฺวาน
อนาคาโร ปริพฺพเช
กามภวปริกฺขีณํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ๔๑๕ ฯ


ผู้ละกามารมณ์
ออกบวชไม่มีเรือน
หมดความใคร่ในภพ
เราเรียกว่า พราหมณ์


He who, giving up sensual pleasures,
Would renounce and become a homeless one,
Who has removed the lust of becoming-
Him do I call a brahmana.


๓๔. โยธ ตณฺหํ ปหตฺวาน
อนาคาโร ปริพฺพเช
ตณฺหาภวปริกฺขีณํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๑๖ ฯ


ผู้ละตัณหา
ออกบวชไม่มีเรือน
หมดความอยากในภพ
เราเรียกว่า พราหมณ์


He who, giving up craving,
Would renounce and become a homeless one,
Who has destroyed the craving for existence-
Him do I call a brahmana.


๓๕. หิตฺวา มานุสกํ โยคํ
ทิพฺพํ โยคํ อุปจฺจคา
สพฺพโยควิสํยุตฺตํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๑๗ ฯ


ผู้ละเครื่องผูกพัน
ทั้งของมนุษย์และเทวดา
หมดเครื่องผูกพันทุกชนิด
คนเช่นนี้เราเรียกว่า พราหมณ์


He who, discarding human ties,
And transcending celestial ties,
Is completely freed from all ties-
Him do I call a brahmana.


๓๖. หิตฺวา รติญฺจ อรติญฺจ
สีติภูตํ นิรูปธึ
สพฺพโลกาภิภุํ วีรํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๑๘ ฯ


ผู้ละความยินดีและความไม่ยินดี
เย็นสนิท หมดอุปธิ (กิเลส)
อาจหาญ ชนะโลกทั้งมวล
เราเรียกว่า พราหมณ์


He who has given up delight and aversion,
Who is cooled and without attachments,
Strenous and victorious over the world-
Him do I call a brahmana.


๓๗. จุตึ โย เวทิ สตฺตานํ
อุปปตฺติญฺจ สพฺพโส
อสตฺตํ สุคตํ พุทฺธํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๑๙ ฯ


ผู้รู้จุติ และปฏิสนธิ
ของสัตว์ทั้งหลายโดยละเอียด
ผู้ไม่ขัดข้อง ไปดี ตรัสรู้ธรรม
เราเรียกว่า พราหมณ์


He who perfectly understands
The rise and fall of all beings,
Who is detached, well-hone and enlightened-
Him do I call a brahmana.


๓๘. ยสฺส คตึ น ชานนฺติ
เทวา คนฺธพฺพมานุสา
ขีณาสวํ อรหนฺตํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๒๐ ฯ


เทวดา คนธรรพ์ และมนุษย์ทั้งหลาย
ไม่ทราบทางไปของผู้ใด
ผู้เป็นพระอรหันต์ ขีณาสพ
ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์


He whose way is unknown
To hods, gandharvas and men,
Who has destroyed all defilements
And who has become enlightened-
Him do I call a brahmana.


๓๙. ยสฺส ปุเร จ ปจฺฉา จ
มชุเฌ จ นตฺถิ กิญฺจนํ
อกิญฺจนํ อนาทานํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๒๑ ฯ


ผู้ไม่มีความยึดถือทั้งเบื้องต้น (อดีต)
ท่ามกลาง (ปัจจุบัน) ่ที่สุด (อนาคต)
ปราศจากความยึดมั่นถือมั่น
เราเรียกว่า พราหมณ์


He who clings not to the past,
The present and the future, too,
Who has no clinging and grasping-
Him do I call a brahmana.


๔๐. อุสภํ ปวรํ วีรํ
มเหสึ วิชิตาวินํ
อเนชํ นหาตกํ พุทฺธํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๑๒ ฯ


มหาฤาษีผู้องอาจ ประเสริฐ แกล้วกล้า
ชำนะ ปราศจากตัณหา
บริสุทธิ์ ตรัสรู้ธรรม
เราเรียกว่า พราหมณ์


The fearless, the noble, the hero,
The great sage, the conqueror,
The desireless, the pure, the enlightened-
Him do I call a brahmana.


๔๑. ปุพฺเพนิวาสํ โย เวทิ
สคฺคาปายญฺจ ปสฺสติ
อโถ ชาติกฺขยํ ปตฺโต
อภิญฺญาโวสิโต มุนิ
สพฺพโวสิตโวสานํ

ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๒๓ ฯ

มุนี ผู้รู้อดีตชาติของตน
เห็นสวรรค์และอบาย
ไม่ต้องเกิดอีกต่อไป
รู้แจ้งเห็นจริง
บำเพ็ญหน้าที่บริบูรณ์แล้ว
เราเรียกว่า พราหมณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น