เรื่องความเป็นอยู่และอาหารช่วงกักตัว
จะต้องอยู่ในห้องถ้าไม่จำเป็นอย่าออกห้อง เพราะเจ้าหน้าที่เขามีวงจรปิดดูอยู่ ต้องใช้ชีวิต ปฏิบัติธรรมในห้อง กฏกติกาอื่นๆ จะมีบอกในห้องตรงประตูเข้าออก
อาหารเช้าเพล จะมีเจ้าหน้าที่นำมาวางไว้หน้าห้องให้ เช้าเวลา ๖ โมงเช้า เพลก็ปกติ ๑๑ โมง แต่เขาจะนำมาวางก่อนเวลา
ถ้าต้องการอะไร ขาดเลืออะไร ก็กดโทรศัพท์ภายในห้อง โดยกด 0 ในกรณีรีบด่วน หรือถ้าใครไม่มีLineกรุ๊ป กรณีไม่เร่งด่วนก็ขอทางLineได้
ข้อควรระวัง เวลาจะออกห้อง จะต้องมีบัตรคีย์ หรือบัตรกุญแจติดตัวไปด้วย อย่างน้อยก็ต้องมีโทรศัพท์ติดตัวไปด้วย เผื่อเวลาลืมบัตรกุญแจ ส่วนห้องก็จะล๊อคโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องล็อคข้างในอีก
ขั้นตอนและกิจกรรม หลังจากเข้าอยู่พักในห้องที่เจ้าหน้าที่เขาจัดเตรียมให้แล้ว
๑.วันแรก ต้องแอดกรุ๊ปLine ของหมอและโรงแรม เจ้าหน้าที่จะมอบคู่มือถวายและอธิบายคร่าวๆ
๒.ทุกเข้าเช้าเย็น เวลา ๖ โมงเช้า ๖โมงเย็น เจ้าหน้าที่จะปรอทวัดอุณหภูมิให้ และให้ทำการเช็คอุณหภูมิในร่างกายตัวเอง โดยนำปรอทที่ได้เสียบที่รักแร้ประมาณ ๑ นาที แล้วแจ้งผลการตรวจนั้นไปที่Lineกรุ๊ปของหมอ ทุกวันทั้ง ๑๔ วัน
๒. พออยู่ได้สัก3-5 วัน เจ้าหน้าที่ก็จะนัดให้ลงไปตรวจเชื้อในช่องปากและจมูก ครั้งที่๑ และครั้งที่๒ ประมาณวันที่ 11-13 อีกครั้งหนึ่ง โดยจะนัดเวลาบ่าย 1 หรือ 13 นาฬิกา วิธีการตรวจ เจ้าหน้าที่จะมีเครื่องตรวจเป็นเส้นๆ ยาวๆเล็กๆ เสียบเข้าไปในจมูกและลำคอ (แหย่ลงลึกมาก)
หมายเหตุ: กิจกรรมที่ต้องทำทุกวัน ประจำ เป็นหลัก คือ"การเช็คอุณหภูมิร่างกายส่งหมอ" ที่Lineกรุ๊ป ชีวิตนอกจากนั้น อยู่ในห้องปฏิบัติธรรม ยังอัตภาพให้เป็นไปอย่างสงบ เรียบง่าย
ช่วงปฏิบัติธรรมกักตัวนั้น เจ้าหน้าที่จะไม่อนุญาตให้ญาติโยมมาหาพระ มีไรติดต่อกับเจ้าหน้าที่โดยตรงกรณีต้องการอะไร หรือกรณีฉุกเฉิน และภาพที่ท่านจะได้ชมต่อไปนี้ เป็นภาพขั้นตอนการนิมนต์พระไปกักตัว
จะมีเจ้าหน้าที่มาคอยต้อนรับอย่างอบอุ่น
ช่วงนี้เราต้องทำใจว่า เราคือพาหะแล้ว
เว็บหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโควิด(คลิ๊ก)
บรรยกาศภายในห้องพักกักตัว
สำคัญคือ
เท่าที่รวบรวมมาได้ พอให้เห็นภาพและบรรยากาศช่วงกักตัวที่ไทยบ้าง
ขอให้ครูบาอาจารย์ทุกรูปจงปลอดภัย คิดว่าครูบาอาจารย์ทุกรูปสบายๆอยู่แล้วกับการกักตัวเพียง ๑๔ วัน เพราะก็ไม่แตกต่างจากชีวิตพระในปกติเท่าใด ขอให้โชคดีครับ
ภาคผนวก
............................................
ความรู้เรื่องอุณหภูมิร่างกาย
ปกติทุกเช้าเย็น พระที่เข้ากักตัวนั้น จะต้องส่งรายงานผลการใช้ปรอทในการตรวจร่างกายตัวเอง
การใช้ปรอท เพื่อการตรวจจับความร้อนของร่างกายนั้น เรียกว่า การเช็คสัญญาณชีพ จึงขอนำข้อมูลเกี่ยวกับสัญญาณชีพมาถวายความรู้ไว้ดังนี้ ขอบคุณข้อมูลจาก คุณโยมวิชัย เจ้าหน้าที่ที่ถวายมา
สัญญาณชีพ โดย อาจารย์ ดร.กรรณิกา เจิมเทียนชัย
อุณหภูมิร่างกาย (Body Temperature)
หน่วยวัด เรียกว่า องศาเซลเซียส หรือ องศาฟาเรนไฮต์
การแปลงองศาฟาเรนไฮต์เป็นองศาเซลเซียส
อุณหภูมิปกติทางปาก 35.5-37.5 องศาเซลเซียส
เมื่ออุณหภูมิร่างกายเกิน 37.5 องศาเซลเซียส เรียกว่า มีไข้ (Fever, Pyrexia, Febrile, Hyperthermia)
ชนิดของไข้ ได้แก่
37.6 – 38.3 องศาเซลเซียส เรียกว่า มีไข้ต่ำ
38.4 – 39.4 องศาเซลเซียส เรียกว่า มีไข้ปานกลาง
39.5 – 40.5 องศาเซลเซียส เรียกว่า มีไข้สูง (High fever)
40.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป เรียกว่า มีไข้สูงมาก (Very high fever)
เมื่อร่างกายมีอุณหภูมิสูงมาก เนื้อเยื่อสมองและโปรตีนในร่างกายจะเริ่มถูกทำลาย ในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบอาจจะเกิดอาการชัก ในผู้ใหญ่อาจจะมีอาการเพ้อหรือประสาทหลอน ถ้ามีอุณหภูมิของร่างกายเกิน 43 - 45 องศาเซลเซียส อาจเสียชีวิตได้ภายใน 2 – 3 ชั่วโมง
ถ้าอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่า 36 องศาเซลเซียส เรียกว่า ต่ำกว่าปกติ (Subnormal temperature) ถ้าอุณหภูมิร่างกาย 34 – 35 องศาเซลเซียส จะเป็นภาวะอันตราย การไหลเวียนเลือดจะช้าลง หรือหยุดชะงัก อาจเสียชีวิตได้
การวัดอุณหภูมิร่างกาย
วิถีทางที่วัด วัดได้ 3 ทาง ได้แก่ ทางปาก ทางรักแร้ และทางทวารหนัก
การวัดทางปากนิยมมากที่สุด
การวัดทางทวารหนักจะได้ค่าอุณหภูมิร่างกายที่เที่ยงตรงที่สุด แต่มีข้อจำกัด
ในการวัด
การวัดทางรักแร้ นิยมใช้มากขึ้น แต่ได้ค่าอุณหภูมิร่างกายที่ไม่ค่อยเที่ยงตรง
เครื่องมือที่ใช้วัดอุณหภูมิร่างกาย เรียกว่า เทอร์โมมิเตอร์ (Mercury glass thermometer) บางครั้งเรียกว่าปรอทวัดไข้ นอกจากนั้นยังมีเทอร์โมมิเตอร์แบบดิจิตัลและแบบแถบวัดไข้ที่ใช้กับเด็กโดยแตะที่หน้าผาก
เครื่องใช้ในการวัดอุณหภูมิร่างกาย
1. ภาชนะใส่เทอร์โมมิเตอร์สำหรับพร้อมใช้
2. สำลีและแอลกอฮอล์ 70 %
3. สำลีแห้ง
4. ถ้าวัดทางทวารหนัก เตรียมวาสลินด้วย
5. นาฬิกา
6. ภาชนะใส่เทอร์โมมิเตอร์ที่ใช้แล้ว
7. แบบบันทึกสัญญาณชีพ
วิธีการวัดอุณหภูมิร่างกาย
1. เตรียมของใช้
2. ล้างมือ
3. บอกให้ผู้ป่วยทราบ
4. หยิบเทอร์โมมิเตอร์ออกจากภาชนะ โดยจับเทอร์โมมิเตอร์ให้แน่นด้วยนิ้วหัวแม่มือและนิ้ว สลัดด้วยข้อมือให้ปรอทอยู่ต่ำกว่า 35 องศาเซลเซลเซียส
5. ถ้าวัดทางปาก โดยวางใต้ลิ้นและให้ผู้ป่วยปิดปาดให้สนิท ใช้เวลาประมาณ 2 – 3 นาที
ถ้าวัดทางรักแร้ ให้เช็ดรักแร้ให้สะอาดและแห้ง สอดกระเปาะไว้ที่รักแร้ ให้ผู้ป่วยหนีบรักแร้ให้สนิท สนิท ใช้เวลาประมาณ 5 นาที
ถ้าวัดทางทวารหนัก ทาปลายกระเปาะด้วยวาสลิน จัดให้ผู้ป่วยนอนงอเข่าบน ปิดผ้าให้เรียบร้อย ไม่เปิดเผย แนะนำให้ผู้ป่วยหายใจเข้าออกช้าๆ สอดเทอร์โมมิเตอร์เข้าทางทวารหนักลึก 0.5 – 1 นิ้ว ใช้เวลาประมาณ 1 – 2 นาที
ถ้าเป็นเด็กเล็ก สอดเทอร์โมมิเตอร์เข้าทางทวารหนักลึก 1.5 – 2 เซนติเมตร โดย
จับขาเด็กทั้งสองข้างขึ้น ขั้นตอนนี้ควรระมัดระวังไม่สอดเทอร์โมมิเตอร์เข้าไปลึกจนเกินไปใช้เวลาประมาณ 2 นาที
6. ระหว่างการวัดไข้ ให้นับชีพจรและนับการหายใจด้วย
7. เช็ดเทอร์โมมิเตอร์จากปลายกระเปาะไปที่กระเปาะด้วยสำลีแห้งโดยเช็ดแบบหมุนสำลีบิดไปมา อ่านอุณหภูมิร่างกายในระดับสายตา
ถ้าวัดทางรักแร้ ให้บวกค่าอีก 0.5
8. เก็บเทอร์โมมิเตอร์ไว้ในภาชนะที่ใส่เทอร์โมมิเตอร์ที่ใช้แล้ว
กรณีที่ใช้ต่อกับผู้ป่วยรายอื่น ทำความสะอาดเทอร์โมมิเตอร์แล้ว ก่อนใช้ให้เช็ดด้วยสำลีแอลกอฮอล์ 70% โดยเช็ดจากปลายกระเปาะโดยหมุนสำลีบิดไปมา
หากวัดสัญญาณชีพแล้ว นำเครื่องใช้ทำความสะอาด และจัดเก็บให้เรียบร้อย
9. บันทึกข้อมูลในแบบบันทึกสัญญาณชีพ
สำคัญคือ
ในไทย(คลิ๊ก)
ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามารับชมข้อมูล หวังว่า ข้อมูลคงจะมีประโยชน์อยู่บ้างไม่มากก็น้อย และโอกาสนี้ขอนำคำกลอนสาเหตุการกลับมาเยียมไทยในคร้งนี้ ฝากถึงผู้ที่มีพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย ที่อยู่ในความดูแลด้วย
ตอบลบวันที่หก พฤศจิกาฯ ห้าหกสาม วันฤกษ์ยาม ข้ามกลับไทย ใจห่วงหา วันจากถิ่น บินจากเขต อเมริกา เยี่ยมมารดา โรคาย่ำ น้ำตาคลอ ได้ข่าวว่า โยมแม่ แกป่วยหนัก ตอนนี้พัก เตรียมใจ อยู่ใกล้หมอ เห็นโยมแม่ แล้วสงสาร ท่านเฝ้ารอ วังสามหมอ เขตอุดรฯ บ่อท่านเนา ลูกหลานเปลี่ยน กันดูแล แกป่วยหนัก
ได้นอนพัก รอลูก โรครุมเร้า
โยมแม่ทรุด สุดบอบช้ำ กำลังเพลา
แปดสิบเก้า อายุกาล ท่านโรยรา
แสนสงสาร โยมแม่ แกเหนื่อยอ่อน
ลูกหลานป้อน ข้าวต้ม ซมหนักหนา
ร่างกายทรุด หมดกำลัง นั่งหลับตา
และบางครา ก็นอนนิ่ง เพราะสิ้นแรง
สังขารท่าน นั้นสึกกร่อน สอนธรรมะ
ดุจจันทะ อาทิตย์ ริบรี่แสง
พลังดี เคยมีหนอ ก็อ่อนแรง
กำลังแห้ง แรงทรุด สุดต้านทาน
ทั้งไตเสื่อม ปอดติดเชื้อ เหลือทำเนา
ทั้งโรคเก๊าท์ เข้าประชิด ยึดสังขาร
อวัยวะ ภายใน ไม่ทำงาน
ท่านพบพาน มาเป็นชุด สุดจะทน
ทั้งเจ็บตา ฟ่าฟาง เป็นนานเนิ่น
ทุกข์ท่วมเกิน ซัดมา เหมือนห่าฝน
บั้นสุดท้าย ปลายชีวิต ปลิดมืดมล
ท่านต้องทน อย่างสุดหิน เกือบสิ้นลม
ชีวิตท่าน เพื่อลูกหลาน ท่านเท่านั้น
สู้กัดฟัน เป็นหลักใจ ไม่อยากล้ม
ถึงชีวิต จะแร้นแค้น แสนทุกข์ตรม
ท่านระทม ลูกมีกิน ท่านยินดี
ท่านต่อสู้ จนสังขาร ท่านโรยร่วง
ก็ยังห่วง หลานลูก ไม่สุขี
กลัวลูกหลาน ไม่รัก สามัคคี
ชีวิตนี้ สุดท้าย ยากต้องทน
ขอให้หลาน เหลนหล่อน ต้องเข้าใจ
อย่าผลักไส ไกลท่าน ให้ห่างหน
ให้กตัญญู รู้คุณ อุ่นกมล
ให้ท่านพัน ความป่วยไข้ ให้บรรเทา
อย่าคิดว่า เรื่องอะไร ใช่หน้าที
อย่าโทษนี่ โทษนั่น ร่วมกันเฝ้า
ในช่วงนี้ ต้องประชิด ติดดังเงา
ร่วมใจเฝ้า เข้าอุปภัมภ์ กำลังใจ
หากลูกหลาน ดูแลดี ท่านมีสิทธิ์
กู้วิกฤติ ชีวิตท่าน นั้นย่อมได้
แต่หากลูก หลานทิ้งกัน ท่านเมื่อใด
รังแต่ใจ กายจะทรุด หลุดจากเรา
ฝากลูกหลาน กันด้วย ให้ช่วยคิด
ถึงชีวิต ยายเคน อยู่เป็นเสา-
หลักจิตใจ ให้ร่มเย็น เป็นดังเงา
วันหนึ่งเรา ก็คงเช่น เป็นเหมือนยาย...