หน้าเว็บ

คลังธรรม


คลังธรรม (พิมพ์บันทึกไว้เมื่อ ๕ ก.พ.๖๐ ณ วัดป่าซัมเตอร์ เมื่อครั้งมาเยือน) 



ธรรมะบันทึก
หมวด
โอวาทปาติโมกขกถา
ว่าด้วยหลักพุทธศาสน์

ที่มาปาติโมกขุทเทส มหาปทานสูตร ที..๑๐/๙๐. อานันทเถรปัญหาวัตถุ พุทธวรรค
ขุ. ๒๕/๑๘๓-๑๔๕

อุดมการณ์
ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา
นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา
หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี
สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโตฯ

แปลความอดทนคือความอดกลั้น  เป็นตบะ(ธรรมสำหรับเผาบาป) ที่ยอดยิ่ง  ท่านผู้รู้ทั้งหลายกล่าวสรรเสริญพระนิพพานว่าเป็นธรรมที่ยอดยิ่ง  ผู้ที่ยังเบียดเบียนผู้อื่นอยู่ ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะเลยฯ

หลักการ
สพฺพปาปสฺส อกรณํ  กุสลสูปสมฺปทา
สจิตฺตปริโยทปนํ  เอตํ  พุทฺธานสาสนํฯ

แปลการไม่ทำบาปทั้งปวง การทำความดีให้ถึงพร้อม
การทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

วิธีการ
อนูปวาโท  อนูปฆาโต  ปาติโมกฺเข สํวโร
มตฺตญฺญุตา ภตฺตสฺมึ   ปนฺตญฺจ สยนาสนํ
อธิจิตฺเต จ อาโยโค     เอตํ  พุทธานสาสนํฯ

แปลว่าการไม่ว่าร้ายใคร การไม่ทำร้ายใคร การสำรวมในพระปาฏิโมกข์

การรู้จักประมาณในอาหาร การนอนการนั่งในที่สงัด การประกอบความเพียรในอธิจิต
นี้เป็นคำสั่งสอนพระพุทธเจ้าทั้งหลายฯ

สัทธัมมคารวกถา
ว่าด้วยการเคารพพระสัทธรรม

ที่มา: (พรหมภาษิต) คารวสูตร พรหมสังยุต สํ.ส. ๑๕/๑๗๓
ตสฺมา หิ อตฺตกาเมน    มหตฺตมภิกงฺขตา
สทฺธมฺโม ครุกาตพฺโพ   สรํ  พุทธานสาสนํ ฯ

แปล:  เพราะเหตุนั้นแล  บุคคลผู้รักตนเมื่อจำนงความยิ่งใหญ่ก็พึงระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลราย ทำความเคารพพระสัทธรรมเถิดฯ

พุทธรัตนกถา
ว่าด้วยรัตนะคือพระพุทธเจ้า

ที่มา: รตนสูตร ขุ.ขุ. ๒๕/๓
ยงฺกิญฺจิ วิตฺตํ อิธ วา หุรํ วา
สคฺเคสุ วา ยํ รตนํ ปณีตํ
น โน สมํ อตฺถิ ตถาคเตน
อิทมฺปิ พุทฺเธ รตนํ ปณีตํ​ฯ

แปล: ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างใดอย่างหนึ่งบนโลกนี้ก็ดี ในโลกอื่นก็ดี  หรือรัตนะที่ประณีตในสรวงสวรรค์ ที่จะเสมอด้วยพระตถาคต ไม่มีเลย พระพุทธรัตนะนี้ เท่านั้น เป็นรัตนะที่ประณีต ฯ

ธัมมรัตนกถา
ว่าด้วยรัตนะคือพระธรรม

ที่มา:  รตนสูตร ขุ.ขุ. ๒๕/๔

ขยํ วิราคํ อมตํ ปณีตํ
ยทชฺฌคา สกฺยมุนี สมาหิโต
น เตน ธมฺเมน สมตฺถิ กิญฺจิ
อิทมฺปิ ธมฺเม รตนํ ปณีตํ ฯ

แปล: ธรรมชาติคืออะไรๆ ที่เสมอด้วยพระธรรมอันประณีต เป็นที่สิ้นกิเลส เป็นที่สำรอกกิเลส เป็นอมตะ อันพระศากยมุนีผู้ทรงมีพระทัยมั่นคงทรงบรรลุแล้วไม่มีเลย พระธรรมรัตนะนี้ เท่านั้น เป็นรัตนะที่ประณีต ฯ

สังฆรัตนกถา
ว่าด้วยรัตนะคือพระสงฆ์

ที่มา: รตนสูตร ขุ.ขุ. ๒๕/๖

เย ปุคฺคลา อฎฺฐ สตํ ปสฏฺฐา
จตฺตาริ  เอตานิ ยุคานิ โหนฺติ
เต ทกฺขิเณยฺยา สุคตสฺส สาวกา
เอเตสุ ทินฺนานิ มหปฺผลานิ 
อิทมฺปิ สงฺเฆ รตนํ ปณีตํ ฯ

แปล: พระอริยบุคคล ๘ จัดเป็น ๔ คู่ ที่สัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญแล้ว เป็นสาวกของพระสุคตเจ้า ผู้ควรแก่ทักษิณาทาน ทานที่บุคคลถวายแล้วเหล่านั้น ย่อมมีผลานิสงส์มาก พระสังฆรัตนะนี้เท่านั้น ที่ประณีต ฯ

เขมสรณกถา
ว่าด้วยที่พึ่งอันเกษม

ที่มา: อัคคิทัตตพราหมณวัตถุ พุทธวรรค ขุ.ธ. ๒๕/๑๙๐,๑๙๒

โย จ พุทฺธญฺจ ธมฺมญฺจ  สงฺฆญฺจ สรณํ คโต
จตฺตาริ อริยสจฺจานิ      สมฺมปฺปญฺญาย ปสฺสติ ฯ
เอตํ โข สรณํ เขมํ       เอตํ สรณมุตฺตมํ  ฯ

แปล: ผู้ใดถึงพระพุทธ  พระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะที่พึ่ง และเห็นอริยสัจจ์ ๔ แล้ว ด้วยปัญญาอันสงบ สรณะของผู้นั้น เป็นสรณะอันเกษม เป็นสรณะอันสูงสุด ฯ

อัคคทานานิสังสกถา
ว่าด้วยอานิสงส์ทานอันเลิศ

ที่มา:  อัคคัปปสาทสูตร ปัญจมวรรค ติกนิบาต ขุ.อิติ.​๒๕/๙๐

อคฺคสฺมึ  ทานํ  ททตํ   อคฺคํ ปุญฺญํ  ปวฑฺฒติ
อคฺคํ  อายุ จ วณฺโณ จ ยโส กิตฺติ สุขํ พลํ ฯ

แปล: เมื่อถวายทานในวัตถุอันเลิศ (พระรัตนตรัย) บุญอันเลิศย่อมเจริญเรื่อยไป อายุ วรรณะ ยศ เกียรติ สุข และพละอันเลิศก็จะเจริญเรื่อยไป ฯ

กาลทานกถา
ว่าด้วยทานที่ถวายตามกาล

ที่มา: กาลทานสูตร สุมนวรรค  ปฐมปัณณาสก์  องฺ.ปญฺจก.​๒๒/๗๖

กาเล ททนฺติ สปญฺญา   วทญฺญู วีตมจฺฉรา
กาเลน ทินฺนํ  อริเยสุ     อูชุภูเตสุ ตาทิสุ
วิปฺปสนฺนมนา  ตสฺส      วิปุลา โหติ ทกฺขิณา ฯ

แปล: ชนเหล่าใดเป็นผู้มีปัญญา  รู้ความประสงค์ ปราศจากความตระหนี่  มีใจเลื่อมใสแล้วในพระอริยเจ้าทั้งหลายซึ่งเป็นผู้ตรงคงที่  บริจาคทานที่ถวายตามกาลในกาลสมัย ทักษิณาของเขาย่อมเจริญมีผลไพบูลย์ ฯ

โภชนทานกถา
ว่าด้วยการถวายอาหาร

ที่มา:  โภชนสูตร สุมนวรรค ปฐมปัณณาสก์  องฺ.ปญฺจก. ๒๒/๓๗

อายุโท พลโท ธีโร    วณฺณโท  ปฏิภาณโท
สุขสฺส ทาตา เมธาวี   สุขํ โส อธิคจฺฉติ  ฯ

แปล: ปราชญ์ผู้มีปัญญาให้อายุย่อมได้อายุ  ให้พละย่อมได้พละ ให้วรรณะย่อมได้วรรณะ ให้ปฏิภาณ ย่อมได้ปฏิภาณ ให้สุข ย่อมได้สุข ฯ

วิหารทานกถา
ว่าด้วยการถวายวิหาร (ที่อยู่อาศัย)

ที่มา:  เสนาสนขันธกะ วิ.จุล. ๗/๕๓

เลณตฺถญฺจ  สุขตฺถญฺจ   ฌายิตุญฺจ วิปสฺสิตํุ
วิหารทานํ  สงฺฆสฺส       อคฺคํ พุทฺเธหิ วณฺณิตํ ฯ

แปล: การถวายวิหาร (ที่อยู่อาศัย) แก่สงฆ์เพื่อหลีกเร้น เพื่อความสุข เพื่อเพ่งพิจารณา และเพื่อเห็นแจ้ง พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่าเป็นทานที่ดีเลิศ ฯ

......................................

ปุญญนิธิกถา
ว่าด้วยขุมทรัพย์คือบุญ

ที่มา:  นิธิกัณฑสูตร ขุ.ขุ. ๒๕/๖.๘

ยสฺส ทาเนน สีเลน       สญฺญเมน ทเมน จ
นิธิ สุนิหิโต  โหติ        อิตฺถิยา  ปุริสสฺส วา
เอโส นิธิ สุนิหิโต        อเชยฺโย อนุคามิโก
ปหาย คมนีเยสุ          เอตํ อาทาย คจฺฉติ ฯ

แปล: ขุมทรัพย์คือบุญอันผู้ใดจะเป็นสตรีหรือบุรุษก็ตามฝังไว้ดีแล้ว  ด้วยทาน ศีล ความสำรวม และความฝึกตน ขุมทรัพย์นั้นชื่อว่าฝังไว้ดีแล้ว อันใครๆ ไม่อาจผจญได้ เป็นของติดตามตนไปได้ บรรดาทรัพย์สมบัติที่บุคคลจะต้องละทิ้งไป (ยังปรโลก) บุคคลจะนำไปได้ก็เพียงขุมทรัพย์คือบุญเท่านั้น ฯ

.............................................

ติโรกุฑฑกถา
ว่าด้วยการทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย

ที่มา: ติโรกุฑฑสูตร ขุ.ขุ. ๒๕/๓

เอวํ  ททนฺติ ญาตีนํ    เย โหนฺติ อนุกมฺปกา
สุจึ ปณีตํ กาเลน       กปฺปิยํ  ปานโภชนํ
อิทํ โว ญาตีนํ โหตุ    สุขิตา โหนฺตุ  ญาตโย ฯ

แปล: เหล่าชนที่มีความเอ็นดูพากันให้ข้าวและน้ำที่สะอาด ประณีต  อันเป็นของสมควรแก่ญาติทั้งหลายตามกาล ด้วยเจตนาอุทิศอย่างนี้ว่า ขอผลทานนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลาย ขอญาติทั้งหลายจงเป็นสุขๆ เถิด ฯ

........................................................

ที่มา:  ติโรกุฑฑสูตร ขุ.ขุ. ๒๕/๗



อุนฺนเต อุทกํ  วุฏฺฐํ     ยถา  นินฺนํ ปวตฺตติ
เอวเมว อิโต ทินฺนํ       เปตานํ  อุปกปฺปติ ฯ

แปล:  น้ำฝนที่ตกในที่ดอนย่อมไหลไปสู่ที่ลุ่ม ฉันใด ผลทานที่ให้แล้วแต่มนุษย์โลกนี้  ก็ย่อมสำเร็จแก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว ฉันนั้น ฯ

........................................................

ที่มา:  ติโรกุฑฑสูตร ขุ.ขุ. ๒๕/๙

อกาสิ เม อกาสิ เม       ญาติมิตฺตา  สขา จ เม
เปตานํ ทกฺขิณํ  ทชฺชา   ปุพฺเพ กตมนุสฺสรํ  ฯ

แปล:  เมื่อมาระลึกถึงอุปการะคุณที่ท่านทำไว้ในหนหลังว่า "ผู้นี้ ได้เคยให้สิ่งนี้แก่เรา ผู้นี้ได้เคยทำสิ่งนี้แก่เรา ผู้นี้เคยเป็นญาติของเรา ผู้นี้เคยเป็นมิตร ของเรา ผู้นี้เคยเป็นเพื่อนเรา ดังนี้ ก็ควรให้ทักษิณาทานเพื่อผู้ล่วงลับไปแล้ว (เหล่านั้น) ฯ

......................................................

ที่มา:  ติโรกุฑฑสูตร ขุ.ขุ. ๒๕/๑๑
อยญฺจ โข  ทกฺขิณา ทินฺนา    สงฺฆมฺหิ  สุปติฏฺฐิตา
ทีฆรตฺตํ  หิตายสฺส          ฐานโส  อุปกปฺปติ ฯ

แปล   ก็ทักษิณาทานนี้แลเป็นอันตั้งใจถวายไว้ดีแล้วในสงฆ์  ย่อมสำเร็จผลเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้ล่วงลับแล้วนั้น โดยฉับพลันตลอดกาลนาน ฯ

.....................................................

ที่มา:  ติโรกุฑฑสูตร ขุ.ขุ. /๑๒

โส ญาติธมฺโม  จ  อยํ นิทสฺสิโต
เปตาน ปูชา จ กตา อุฬารา
พลญฺจ ภิกฺขูนมนุปฺปทินฺนํ
ตุมฺเหหิ ปุญฺญํ  ปสุตํ  อนปฺปกํ  ฯ

แปล:   ท่านทั้งหลายได้แสดงญาติธรรมนี้ให้ปรากฏแล้ว ได้ทำการบูชาที่ย่ิงใหญ่ เพื่อหมู่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว ได้เพิ่มเสริมกำลังแก่ภิกษุทั้งหลาย ชื่อกว่าขวนขวายบุญไม่น้อยเลย ฯ

......................................................

เทวตาทิสสกถา
ว่าด้วยการทำบุญอุทิศแก่เทวดา

ที่มา:   ปาฏลิคามิยสูตร  ปาฏลิคามิยวรรค  ขุ.อุ. ๒๕/๗๖

ยสฺมึ ปเทเส กปฺเปติ   วาสํ  ปณฺฑิตชาติโย
สีลวนฺเตตฺถ โภเชตฺวา  สญฺญเต พฺรหฺมจาริโน
ยา ตตฺถ เทวตา อาสุํ ตาสํ ทกฺขิณมาทิเส ฯ

แปล: นรชนผู้เป็นบัณฑิตอาศัยอยู่ในถิ่นที่ใด ควรเชื้อเชิญท่านผู้มีศีล สำรวมอินทรีย์ ประพฤติพรหมจรรย์ในถิ่นนั้นให้บริโภค  และควรอุทิศทักษิณาทานให้แก่เหล่าเทวดาที่สถิตอยูทในสถานที่นั้นด้วย ฯ

ตา ปูชิตา ปูชยนฺติ    มานิตา มานยนฺติ นํ
ตโต นํ อนุกมฺปนฺติ   มาตา ปุตฺตํว โอรสํ ฯ

แปล: บรรดาท่านผู้มีศีลและเหล่าเทวดาที่ได้รับการบูชาแล้ว ย่อมบูชาผู้นั้นตอบ ที่ได้รับการนับถือแล้วย่อมนับถือตอบ จากนั้นก็จะคอยอนุเคราะห์ช่วยเหลือผู้นั้น เหมือนกับมารดาคอยอนุเคระห์บุตรธิดา ฉะนั้น ฯ

...............................................................

ทานานิสังสกถา
ว่าด้วยอานิสงส์แห่งทาน (นัยที่ ๑)

ที่มา:  กิงททสูตร เทวตาสังยุต สํ.ส. ๑๕/๔๒
อนฺนโท พลโท โหติ  วตฺถโท โหติ วณฺณโท
ยานโท สุขโท โหติ   ทีปโท  โหติ  จกฺขุโท ฯ

แปล: ผู้ให้อาหารชื่อว่าให้กำลัง  ผู้ให้ผ้าชื่อว่าให้วรรณะ  ผู้ให้ยานพาหนะ ชื่อว่าให้ความสุข  ผู้ให้ประทีปโคมไฟ ชื่อว่าให้ดวงตา ฯ

...................................................................

ทานานิสังสกถา
ว่าด้วยอานิสงส์แห่งทาน (นัยที่ ๒)

ที่มา: กิงททสูตร เทวตาสังยุต สํ.ส.​๑๕/๔๒

โส จ สพฺพทโท  โหติ   โย ททาติ อุปสฺสยํ
อมตนฺทโท จ โส โหติ   โย ธมฺมมนุสาสติ ฯ

แปล:   บุคคลใดใหที่พักอาศัย  บุคคลนั้นชื่อว่าให้ทุกสิ่ง  ส่วนบุคคลใดพร่ำสอนธรรมให้  บุคคลนั้นชื่อว่าให้อมตะคือสิ่งที่ไม่ตาย ฯ

...................................................................


อันนทานกถา
ว่าด้วยอานิสงส์กาถวายอาหาร

ที่มา:  อันนสูตร  เทวตาสังยุต  สํ.ส.๑๕/๔๓

เย  นํ  ททนฺติ สทฺธาย  วิปฺปสนฺเนน เจตสา
ตเมว อนฺนํ  ภชติ      อสฺมึ โลเก ปรมฺหิ จ ฯ

ตสฺมา  วิเนยฺย มจฺเฉรํ   ทชฺชา  ทานํ  มลาภิภู
ปุญฺญานิ  ปรโลกสฺมึ   ปติฏฺฐา โหนฺติ  ปาณินํ ฯ

แปล:  ชนเหล่าใดมีใจผ่องใสให้อาหารนั้นด้วยศรัทธา อาหารนั้นเองย่อมค้ำชูทั้งในโลกนี้และโลกหน้า เพราะเหตุนัน  พึงกำจัดความตระหนี่เสีย  ข่มความตระหนี่ที่เป็นตัวมลทินให้ได้แล้วให้ทานเถิด เพราะบุญทั้งหลายเป็นที่พึ่งของสัตว์เหล่านั้นในโลกหน้า ฯ

...................................................................

มรณกถา
ว่าด้วยความตาย (นัยที่ ๑)

ที่มา:   มหาปรินิพพานสูตร  ที.ม. ๑๐/๑๘๕

ยถาปิ กุมฺภการสฺส    กตํ  มตฺติกภาชนํ
ขุทฺทกญฺจ  มหนฺตญฺจ​   ยญฺจ  ปกฺกํ  ยญฺจ อามกํ
สพฺพํ  เภทปริยนฺตํ       เอวํ  มจฺจานชีวิตํ  ฯ

แปล:   ภาชนะดินที่ช่างหม้อปั้นไว้  ไม่ว่าขนาดเล็กใหญ่  ไม่ว่าสุกหรือดิบ  ทั้งหมดล้วนมีความแตกเป็นที่สุด  ฉันใด   ชีวิตของสัตว์โลกทั้งหลายก็มีความแตกดับเป็นที่สุด ฉันนัน ฯ

...................................................................

มรณกถา  
ว่าด้วยความตาย (นัยที่ ๒)

ที่มา:  อุตราเถรีวัตถุ ชราวรรค ขุ.ธ. ๒๕/๑๘๘

ปริชิณฺณมิทํ  รูปํ     โรคนิทฺธํ  ปภงฺคุณํ
ภิชฺชติ  ปูติสนฺเทโห   มรณนฺตํ  หิ ชีวิตํ ฯ

แปล:   ร่างกายนี้แก่แล้ว  เป็นรังของโรค  ทรุดโทรมผุพังไป ร่างกายอันเปื่อยเน่า ย่อมแตกดับไป  เพราะชีวิตมีความตายเป็นที่สุด ฯ

...................................................................

จตุปุคคลกถา
ว่าด้วยบุคคล ๔ ประเภท

ที่มา:  มหาปรินิพพานสูตร  ที.ม.​๑๐/๑๙๗

ททโต  ปุญฺญํ  ปวฑฺฒติ
สํยมโต  เวรํ  น จียติ
กุสโล  ว  ชหาติ ปาปกํ
ราคโทสโมหกฺขยา  นิพฺพุโต ฯ

แปล:  บุญย่อมเพิ่มพูนขึ้นแก่ผู้ให้ทาน  เวรย่อมไม่เกิดแก่ผู้สำรวมระวัง ผู้ฉลาดเท่านั้นย่อมละบาปได้  ผู้ชื่อว่าดับเย็นเพราะราคะ โทสะ โมหะสิ้นไป ฯ

...................................................................

ปัจฉิมโอวาทกถา
ว่าด้วยพระปัจฉิมโอวาท

ที่มา:  มหาปรินิพพานสูตร ที.ม. ๑๐/๒๑๘

หนฺททานิ  ภิกฺขเว  อามนฺตยามิ โว  วยธมฺมา สงฺขารา  อปฺปมาเทน  สมฺปาเทถ ฯ

แปล:  ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราขอเตือนท่านทั้งหลายว่า  สังขาร มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา  ท่านทั้งหลายจงทำประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นให้บริบูรณ์ ด้วยความไม่ประมาทเถิด ฯ

...................................................................

นฆราวาสกถา
ว่าด้วยผู้ไม่อาจครองเรือนให้ดีได้

ที่มา:  สิงคาลกสูตร   ที. ปา. ๑๑/๒๕๓

น ทิวา  สุปฺปสีเลน    รตฺตินุฏฺฐานเทสฺสินา
นิจฺจํ  มตฺเตน  โสณฺเฑน สกฺกา  อาวสิตุํ ฆรํ ฯ

แปล:   คนที่ชอบนอนตอนกลางวัน   เกลียดการลุกขึ้นตอนกลางคืน  เมาสุราประจำ  เป็นนักเล  ไม่อาจครองเรือนให้ดีได้  ฯ

...................................................................

กุสีตปุคคลกถา
ว่าด้วยเรื่องของคนเกียจคร้าน

ที่มา:  สิงคาลกสูตร ที.ปา. ๑๑/๒๕๓

อติสีตํ  อติอุณฺหํ    อติสายมิทํ  อหุ
อิติ  วิสฺสฏฺฐกมฺมนฺเต   อตฺถา  อจฺเจนฺติ มาณเว ฯ

แปล:  ผลประโยชน์ทั้งหลายย่อมผ่านเลยคนที่ชอบอ้างว่า  หนาวเกินไป ร้อนเกินไป  เวลานี้สายเสียแล้ว  ดังนี้ เป็นต้น   แล้วทิ้งงานทิ้งการเสีย  ฯ

...................................................................

คลังธรรมเล่ม ๑ (คลิ๊ก)
คลังธรรมเล่ม ๒. (คลิ๊ก)
คลังธรรมเล่ม ๓. (คลิ๊ก)


ห้องธรรมะแจก  https://kalyanamitra.org/book/index_dhammabook.php

......................................................................................................

youtubeธรรมะวัดโสพิชฯ​จ.อุบล  https://www.youtube.com/user/WatPitch/videos
เว็บหลักวัดโสพิชฯ  http://www.watpitch.com/index.php





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น